จังหวะเพลง 5 สไตล์ที่ส่งผลต่อการทำงานของคุณ

15/06/17   |   21.5k   |  

“มีหูฟังด้วยเหรอครับ” ปัญญาเลิกคิ้วสูงเล็กน้อยเมื่อเห็นของที่อยู่ในกระเป๋าสำหรับพนักงานใหม่

 

วันนี้เขามาเริ่มงานที่ใหม่เป็นวันแรก และพบว่านอกจากอุปกรณ์ปกติที่พนักงานใหม่ควรจะมีแล้ว ที่นี่ยังมีหูฟังให้ด้วย ทั้ง ๆ ที่เขาก็ไม่ได้ทำงานในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการฟังเสียงอะไร จนได้รับการไขข้อข้องใจจาก HR ที่พาเขาเยี่ยมชมบริษัทว่าที่นี่อยากให้เขาฟังเพลงในเวลาทำงาน เพราะว่าเสียงเพลงจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น  

 

แม้เรื่องบันเทิงอย่างการฟังเพลง มองเผิน ๆ แล้วอาจจะดูไม่ข้องเกี่ยวกับการทำงาน ใครที่ฟังเพลงในเวลางานอาจจะดูเหมือนว่ากำลังอู้งานอยู่ แต่จริง ๆ แล้วการฟังเพลงในระหว่างทำงานนั้นก็มีข้อดีที่ช่วยส่งเสริมทักษะการทำงานอยู่ด้วย ซึ่ง JobThai จะนำมาฝากกันวันนี้เป็นเรื่องของดนตรี และเมโลดี้ต่าง ๆ ที่จะส่งผลต่อการทำงาน ซึ่งเป็นการศึกษาของ Mindlab International ในการลงพื้นที่และศึกษาพฤติกรรมของคนทำงานและฟังเพลงไปด้วยพบว่า 5 จังหวะดนตรีที่แตกต่างกันมีผลดีผลเสียต่อการทำงานแตกต่างกันด้วย

 

 

  • เสียงเบสหนัก ๆ จะช่วยกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ แต่อาจจะทำให้เสียสมาธิและทำงานไม่รอบคอบได้ ส่วนเพลงบรรเลงที่เมโลดี้เรียบ ๆ เหมาะกับการฟังเพื่อให้มีสมาธิในการทำงานมากขึ้น
  • ดนตรีคลาสสิคจะช่วยให้เกิดความผ่อนคลายเหมาะสำหรับฟังในช่วงเวลาที่กำลังตรึงเครียด ส่วนดนตรีของโมซาร์ตจะช่วยกระตุ้นกระบวนการในการคิด และความจำ เหมาะสำหรับใช้ฟังระหว่างการเรียนรู้สิ่งใหม่
  • ดนตรีป๊อปที่มีดนตรีสนุกนานจะช่วยกระตุ้นการรับรู้ให้ดียิ่งขึ้น ช่วยลดการสะกดคำผิดลงได้

 

 

1. เสียงเบสหนัก ๆ เร่งพลังและความคิดสร้างสรรค์

จากงานวิจัยในปี 2005 พบว่า เพลงที่มีเสียงเบสเป็นเสียงหลักของเพลงจะกระตุ้นให้คุณมีพลังระหว่างการทำงาน และสร้างอารมณ์ที่คึกคักโดยเฉพาะในงานที่ต้องการความคิดสร้างสรรค์ จังหวะดนตรีประเภทนี้ได้ถูกแนะนำว่าควรฟังก่อนเริ่มต้นการประชุมเพื่อสร้างความมั่นใจ แต่ข้อเสียของเสียงเบสหนัก ๆ นี้ก็อาจจะทำให้ผู้ฟังเสียสมาธิได้ และอาจทำให้เกิดความ ไม่รอบคอบในการทำงานเกิดขึ้น

 

2. เพลงบรรเลงที่มีเพียงเมโลดี้เรียบ ๆ ไม่มีเนื้อเพลงสร้างความสงบ

จังหวะดนตรีรูปแบบนี้จะช่วยให้คนทำงานมีสมาธิ เหมาะกับงานที่ทำเป็นระยะเวลานาน และไม่มีความซับซ้อน เนื่องจากจังหวะเพลงมีเพียงเมโลดี้บรรเลงท่วงทำนองด้านดนตรีเรียบ ๆ ไม่มีเนื้อร้อง ทำให้แนวดนตรีชนิดนี้จะทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกสงบมากขึ้น

 

3. ดนตรีคลาสสิคลดความตรึงเครียด 

จากงานวิจัยพบว่า ดนตรีคลาสสิคนั้นจะช่วยให้ผู้ฟังรู้สึกผ่อนคลาย ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจช้าลง ชะลอความดัน รวมถึงช่วยลดความเครียดในการทำงาน โดยงานวิจัยนี้ได้นำไปใช้กับนักเรียนพยาบาลเพื่อช่วยลดความเครียดในการทำงาน สอดคล้องกับแนวดนตรีประเภทนี้จะเหมาะกับงานที่ต้องใช้สมาธิสูงมาก รวมถึงด้านการแพทย์ที่ต้องช่วยลดความเครียดขณะปฏิบัติงานด้วย 

 

4. เพลงบรรเลงของโมซาร์ตกระตุ้นการทำงานของสมอง

แนวดนตรีนี้จะส่งผลให้การเรียนรู้ดีขึ้น ซึ่งจากการทดลองกับกลุ่มนักเรียนหลายกลุ่ม โดยแบ่งแยกเด็กที่ได้ฟังเพลงบรรเลงของ  โมซาร์ต กับอีกกลุ่มที่ไม่ได้ฟังอะไรเลย พบว่า นักเรียนกลุ่มที่ฟังเพลงบรรเลงมีผลคะแนนที่ดีกว่านักเรียนกลุ่มที่ฟังเสียงอื่น  ขณะเดียวกัน การฟังเพลงชนิดนี้จะเหมาะกับการช่วยเรื่องกระบวนการคิดและความจำได้เป็นอย่างดี และถูกขนานนามว่า “เดอะ โมซาร์ต เอฟเฟ็กต์”

 

5. เพิ่มขีดความสามารถในการรับรู้ด้วยดนตรีป็อปที่มีจังหวะดนตรีสนุก

จากการศึกษาของไมนด์แล็ป พบว่าการฟังเพลงป็อปที่มีจังหวะดนตรีสนุก จะช่วยให้คนทำงานมีการรับข้อมูลดีขึ้น 58% เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้ฟังอะไรเลย รวมถึงการวิจัยยังพบข้อดีด้วยว่า การฟังดนตรีประเภทนี้ยังช่วยลดความผิดพลาดในแง่การสะกดคำได้ถึง 14% ด้วย

จะเห็นได้ว่า ดนตรีนั้นก็ต่างมีจุดเด่นตามแนวทางของตัวเอง และจริงที่ว่าแม้แต่ละบุคคลจะมีความชอบด้านดนตรีแตกต่างกัน แต่บางครั้งการเลือกฟังเพลงที่มีความต่างเพิ่มขึ้นก็อาจสร้างประโยชน์ทางอื่นในเรื่องการทำงานคุณได้ด้วยเช่นกัน 

 

JobThai มี Line แล้วนะคะ

ติดตามสาระความรู้สำหรับคนทำงาน ที่ย่อยง่าย อ่านสนุก และพูดคุยทุกแง่มุมเกี่ยวกับการทำงานอย่างใกล้ชิดที่

เพิ่มเพื่อน

 

ที่มา:

lifehack.org

tags : ไลฟ์สไตล์, การทำงาน, work life balance, lifestyle, คนทำงาน, เคล็ดลับสำหรับคนทำงาน, เทคนิคสำหรับคนทำงาน, เคล็ดลับความสำเร็จ, เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ, แนวคิดในการทำงาน



ติดตามข่าวสารและเรื่องราวดีๆ ทาง Email

ขอบคุณสำหรับการติดตาม