-
สถานการณ์ที่ควรรับกลับเข้ามาทำงานก็คือ เมื่อเราต้องการคนที่มีทักษะความสามารถเฉพาะด้าน เพราะไม่ต้องมาคอยสอนงานใหม่ ๆ รวมไปถึงหากเขาเป็นคนมีความเป็นผู้นำ เพราะทักษะการเป็นผู้นำไม่ใช่สิ่งที่จะมีอยู่ในพนักงานทุกคน
-
เราไม่ควรรับพนักงานเก่ากลับมาทำงานอีกครั้งหากสาเหตุที่เขาลาออกไปเป็นเพราะเขาเบื่องานหรือต้องการความก้าวหน้า แต่องค์กรยังคงไม่สามารถให้ในสิ่งที่เขาต้องการได้ หรือหากช่วงเวลาที่เขาเคยทำงานนั้นผ่านมานานมากแล้ว และองค์กรมีการเปลี่ยนแปลงอะไรหลายอย่างจนแตกต่างจากสิ่งที่อดีตพนักงานคนนั้นคุ้นเคย
-
นอกจากความสามารถแล้วความสัมพันธ์กับคนในองค์กรก็เป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นควรจะถามความคิดเห็นของคนในทีมปัจจุบันก่อน หากเขาเป็นคนที่ทำงานร่วมกับทีมได้อย่างดีก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่หากทีมไม่เห็นด้วยแล้วรับเข้ามาก็อาจส่งผลต่อการทำงานของคนในทีมได้
|
|
JobThai Platform แพลตฟอร์มที่จะทำให้การหาผู้สมัครที่ใช่ กลายเป็นเรื่อง “ง่าย”
|
|
พนักงานบูมเมอแรง หรือ Boomerang Employee คือพนักงานในองค์กรที่เคยลาออกไปแล้วแต่กลับมาทำงานที่บริษัทเดิมอีกครั้ง แต่ในฐานะ HR คงไม่สามารถอ้าแขนรับพนักงานที่เคยลาออกไปแล้วกลับมาใหม่ได้เสมอ แม้ว่าเขาเป็นพนักงานที่ดีและไม่เคยสร้างปัญหาเลยสักครั้งเดียวเลยก็ตาม
JobThai จึงไปรวมสิ่งที่ HR ควรทำก่อนจะตัดสินใจรับอดีตพนักงานกลับมาใหม่อีกครั้ง ว่าควรพิจารณาข้อดี ข้อเสีย และผลกระทบยังไงบ้าง ให้การตัดสินใจรับอดีตพนักงานคนนี้ไม่มีผลเสียตามมา
รับเขากลับเข้าทำงานอีกครั้งเมื่อ…
เมื่อพนักงานคนนี้เป็น Specialist
ทักษะ เป็นสิ่งสำคัญต่อการทำงาน หากอดีตพนักงานคนนี้มีความชำนาญเฉพาะด้านจริง ๆ การรับพนักงานที่เคยทำมาก่อน จะช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับการทำงานและลดเวลาในการสอนงาน รวมถึงไม่ต้องมาเริ่มทำความเข้าใจ Product หรือบริการขององค์กรอีกครั้ง เพราะพวกเขาจะมีทักษะและความรู้ที่จำเป็นต่อการทำงานตามที่เราต้องการอยู่แล้ว
เมื่อเราเห็นว่าเขาทำงานเป็นทีมได้ดี
การรับพนักงานใหม่เราต้องคอยลุ้นอยู่เสมอว่าเขาจะเข้ากับองค์กรได้ไหม แต่ปัญหานี้จะหมดไปเมื่อเราเห็นว่าอดีตพนักงานคนนี้มีความประพฤติยังไงบ้าง เขามีความสามารถในการทำงานเป็นทีม มีทัศนคติ มีวิธีคิด ที่เข้ากับทีมในปัจจุบันได้หรือไม่ ยิ่งถ้าเขามีทักษะและความสามารถสูงเป็นทุนเดิมอยู่ด้วยแล้ว การรับอดีตพนักงานคนนี้กลับเข้ามาอีกครั้ง จะเป็นสิ่งที่ไม่ต้องเสียเวลาคิดเยอะเลย
เมื่อเขามีความเป็นผู้นำในการทำงาน
กล้าตัดสินใจ กล้าออกความเห็น และสามารถบริหารจัดการสิ่งต่าง ๆ ได้ดี เป็นทักษะความเป็นผู้นำที่แทบจะหายากที่สุดในตัวพนักงาน และยังเป็นทักษะสำคัญที่จะทำให้องค์กรก้าวหน้าอีกด้วย หากอดีตพนักงานคนนี้มีทุกข้อที่กล่าวมาและมีความเป็นผู้นำด้วยแล้ว ก็อย่าลังเลที่จะรับกลับเข้ามา เพราะนอกจากจะส่งผลดีต่อภาพรวมของทีม เขาอาจเป็นแบบอย่างที่ดีและส่งต่อทักษะความเป็นผู้นำให้กับคนอื่น ๆ ได้อีกด้วย
ปฏิเสธที่จะรับเขากลับเข้าทำงานเมื่อ…
เมื่อพนักงานในทีมปฏิเสธ
การจะรับอดีตพนักงานเข้ามาใหม่ นอกจากเรื่องต่าง ๆ ที่นำมาประกอบการตัดสินใจแล้ว เราก็ควรจะสอบถามคนในทีมด้วยว่ามีความคิดเห็นอย่างไร เพราะคนอื่น ๆ ในทีมอาจจะไม่ได้คิดแบบเรา ควรคุยกับทุกคนในทีมให้ชัดเจนว่าเห็นด้วยหรือมีปัญหาอะไรไหม เพื่อลดการเกิดปัญหาในการทำงานเพราะคนในทีมไม่สบายใจในการทำงานร่วมกัน และลดความเสี่ยงที่ต้องเสียพนักงานคนอื่น ๆ ไปแทน
เมื่อองค์กรไม่มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ
หากเราใช้ทักษะ ความรู้ และความสามารถที่อดีตพนักงานคนนี้มีมาประกอบการตัดสินใจแล้ว อย่าลืมนำเหตุผลว่าทำไมเขาถึงออกจากบริษัทมาประกอบการตัดสินใจด้วย เขาออกไปเพราะเบื่องาน มองหาความก้าวหน้า หรือต้องการเปลี่ยนแปลงอะไรใหม่ ๆ และสังเกตว่าหลังจากที่เขาออกไป ทีมและองค์กรมีอะไรเปลี่ยนแปลงแล้วบ้างหรือไม่ หากทุกอย่างยังเหมือนเดิม ต่อให้เรารับเขากลับมาแล้วก็การันตีไม่ได้ว่าเขาจะไม่ออกไปด้วยเหตุผลเดิมอีกครั้ง เพราะเขายังไม่ได้ในสิ่งที่เขาต้องการอยู่ดี
เมื่อเขาออกจากบริษัทไปนานมากแล้ว
ความคุ้นเคยต่อองค์กรของอดีตพนักงานที่เป็นแต้มต่อ เพราะคุ้นเคยกับรูปแบบการทำงาน รู้จัก Product และไม่ต้องมาปรับตัวและทำความรู้จักใหม่ ก็อาจกลายเป็นแต้มใหญ่ ๆ ที่ถูกหักหากเขาออกจากองค์กรนานเกินไปจนองค์กรได้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของระบบการทำงาน พนักงาน ทีม หรือแม้แต่รายละเอียดของ Product ก็มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนามากขึ้น จนทำให้เขาต้องมาเรียนรู้ใหม่ทั้งหมด ไม่ต่างอะไรกับพนักงานใหม่ที่ไม่เคยทำงานที่นี่มาก่อน
JobThai เปิด Official Group แล้ว
ถ้ากำลังหางาน หาคน หรืออยากพูดคุยทุกเรื่องเกี่ยวกับการทำงาน มา Join กับเราเลย