6 ขั้นตอนช่วยตัดสินใจก่อนแสดงความคิดเห็นเชิงลบ

6 ขั้นตอนช่วยตัดสินใจก่อนแสดงความคิดเห็นเชิงลบ
31/07/23   |   19.4k   |  

 

  • พิจารณาให้ดีว่าสิ่งที่จะพูดออกไปนั้นมีข้อดีหรือข้อเสียมากกว่ากัน และคนที่เราจะคุยด้วยนั้นเป็นใคร สนิทกับเรามากแค่ไหน ถ้ามันเป็นเรื่องเล็กน้อย ที่ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์อะไร หรือเป็นคนที่เราไม่ได้สนิทด้วยมากนัก การไม่พูดอาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
  • เมื่อจะต้องแสดงความเห็นออกไป ให้เลือกวิธีการที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล รวมทั้งเลือกเวลา สถานที่ หรือโอกาสในการแสดงความคิดเห็นที่เหมาะสมด้วย และหลีกเลี่ยงการออกความเห็นหากคุณกำลังมีความรู้สึกไม่พอใจ
  • เมื่อจะไปแสดงความเห็น คุณต้องมั่นใจว่ามีข้อมูลมากพอที่เอามาสนับสนุนความคิดของคุณ แต่ก็อย่าลืมเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของอีกฝ่ายด้วยเช่นกัน
     

JobThai Mobile Application สมัครงานง่าย ได้งานเร็ว

iOS

Android

Huawei AppGallery

 

เคยมั้ยที่อยากจะแสดงความเห็นเชิงลบอะไรบางอย่างออกไป แต่ก็ลังเลไม่แน่ใจ เพราะกลัวจะส่งผลเสีย และทำให้คนฟังไม่พอใจ แม้ว่าสิ่งที่เราอยากพูดจะเป็น “ติเพื่อก่อ” ก็เถอะ วันนี้ JobThai จึงอยากจะแนะนำขั้นตอนเพื่อช่วยตัดสินใจ เมื่อเราคิดที่จะแสดงความคิดเห็นเชิงลบต่อคนอื่น เพื่อให้การแสดงความคิดเห็นของเรานั้น ไม่ทำให้เกิดปัญหาหรือความรู้สึกแย่ ๆ ตามมา

 

ถึงจะไม่เห็นด้วยกับเรื่องที่ได้ยิน ก็ยังไม่ต้องรีบพูด

เมื่อเรื่องที่เรารับรู้มีข้อมูลที่ผิดพลาด หรือเป็นเรื่องที่เราไม่เห็นด้วยมาก ๆ เราต้องตั้งสติก่อนที่จะตัดสินใจทำอะไรบางอย่างลงไป เช่น พูดออกไปทันที หรือ รายงานความผิดพลาดหรือแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ผ่านทางหัวหน้างานของเขา ถึงมันจะทำให้เรารู้สึกเหมือนเป็นผู้ชนะ แต่การแสดงความคิดเห็นในขณะที่เรามีความไม่พอใจ หรือขาดการยั้งคิดจะทำให้จุดประสงค์ในการสื่อสารของเราที่ต้องการจะแก้ไขความเข้าใจผิดนั้นถูกตีความผิดพลาดไปได้

 

คิดให้ดีว่าผลลัพธ์มันคุ้มไหมที่จะแสดงความเห็นออกไป

ต้องยอมรับว่าคนเราก็มักจะไม่ค่อยโอเคหรอกกับการที่โดนคนอื่นตำหนิ ในฐานะคนพูดเราเลยต้องคิดดูให้ดี ๆ ก่อนว่าความคิดเห็นของเราที่จะพูดออกไปมันมีประโยชน์อะไรไหม ข้อเสียคืออะไร คุ้มไหมที่เราจะแลกถ้าคนฟังเกิดไม่พอใจขึ้นมา

ถ้าเรื่องที่เราจะพูดมันมีข้อแต่ข้อเสียตามมา และพูดไปแล้วก็ไม่มีประโยชน์ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรได้ การเงียบไว้ก็อาจจะดีกว่า เช่น ถ้าเพื่อนเล่าถึงเหตุการณ์อะไรบางอย่างที่เกิดไปเมื่อหลายวันก่อน แต่เรารู้ว่าเรื่องที่เขาเล่ามีข้อมูลอะไรบางอย่างที่คาดเคลื่อน ก่อนจะแย้งอะไรออกไป เราก็ต้องคิดดูว่าเรื่องนั้นจะมีผลอะไรกับอนาคตข้างหน้าไหม ถ้าไม่ และเป็นเรื่องเล็กน้อยที่ปล่อยผ่านได้ การปล่อยให้มันผ่านไปก็อาจจะดีกว่า

 

ดูก่อนว่าคนที่เราจะแสดงความคิดเห็นด้วยเป็นใคร และควรใช้วิธีไหนถึงจะเหมาะ

“ลางเนื้อชอบลางยา” วิธีแสดงความคิดเห็นที่เราใช้กับคนนึง ก็อาจจะไม่เหมาะกับอีกคนนึง ก่อนพูดความเห็นอะไรออกไป ลองพิจารณาดูก่อนว่าคนที่เราจะแสดงความเห็นด้วยเป็นใคร รวมถึงสนิทกับเรามากแค่ไหน เพราะเรื่องบางอย่างถ้าไม่ได้สนิทกันมากพอ ก็คงไม่เหมาะที่จะแสดงความคิดเห็นอะไรออกไป โดยเฉพาะถ้าเป็นความคิดเห็นเชิงลบ เช่น เรื่องในครอบครัว ลองสังเกตบุคลิกและนิสัยของคนคนฟังก่อน แล้วเลือกใช้วิธีแสดงความคิดเห็นให้เหมาะสมกับแต่ละคนจะดีกว่า

 

ต้องรู้ว่าควรพูดในสถานการณ์ไหน และเมื่อไหร่

สำหรับบางคนการโดนติก็ว่าแย่แล้ว แต่การโดนต่อหน้าคนจำนวนมากนั้นอาจจะทำให้เรื่องแย่ลงไปอีก ถ้าความคิดเห็นเชิงลบที่เราจะพูดออกไปมันค่อนข้างแรง และไม่ได้จำเป็นจริง ๆ ที่จะต้องพูดออกทันที การเลี่ยงมาพูดทีหลังในเวลาหรือสถานการณ์ที่เหมาะสมและเป็นส่วนตัว จะทำให้คนฟังรู้สึกดีกว่า ไม่ทำให้เขาเสียหน้า และยังสามารถแก้ความเข้าใจผิดของเขาให้ตรงตามจุดประสงค์ของเรามากขึ้นด้วย

 

จะแสดงความเห็นได้ ต้องมั่นใจว่าข้อมูลเราแน่นพอ

การที่เราจะเข้าไปแสดงความคิดเห็นกับใครสักคนได้ เราต้องมั่นใจก่อนว่าข้อมูลที่เราจะเอาไปแก้ความเข้าใจผิดนั้นมีความถูกต้องแน่นอน เพราะเมื่อเราเดินเข้าไปแสดงความคิดเห็นของเรา และเขาตอบโต้กลับมาด้วยข้อมูลที่เขามี เราก็จะต้องมีข้อมูลที่มากกว่าและน่าเชื่อถือกว่ามาสู้ เพื่อโน้มน้าวให้เขายอมรับความคิดเห็นของเรา

 

อยากให้เขารับฟังเรา เราก็ต้องพร้อมเปิดใจรับฟังเขาด้วย

ไม่ว่าเราจะมั่นใจในข้อมูลและมองว่าความคิดของเรานั้นดีกว่าแค่ไหน แต่ในความเป็นจริงแล้วก็มีโอกาสเหมือนกันที่ความคิดของเราจะไม่ถูก เพราะฉะนั้นต้องเปิดใจกว้างและพร้อมรับความคิดเห็นของเขาด้วย ลองวางตัวเองในตำแหน่งของเขาดู ถ้าเราอยากให้เขายอมรับฟังความคิดเห็นของเรา แล้วเราจะไม่ยอมรับความคิดเห็นของเขาได้ยังไง

 

 

หางานใหม่ที่ใช่ ได้เป็นตัวของคุณเอง ที่ JobThai สมัครสมาชิกและฝากประวัติที่นี่เลย

 

JobThai Official Group เพื่อการหางาน หาคน และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงาน

 

ที่มา: 

wikihow.com

entrepreneur.com

tags : งาน, ทำงาน, career & tips, เคล็ดลับการทำงาน, การทำงาน, คนทำงาน, เคล็ดลับสำหรับคนทำงาน, เทคนิคสำหรับคนทำงาน, ทำงานอย่างมีความสุข, ความสุขในการทำงาน, เคล็ดลับความสำเร็จ, เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ, ทำงานให้มีความสุข, แนวคิดในการทำงาน



ติดตามข่าวสารและเรื่องราวดีๆ ทาง Email

ขอบคุณสำหรับการติดตาม