First Jobber ยื่นภาษีประเภทไหน? เป็นคำถามยอดฮิตของเด็กจบใหม่ ที่เพิ่งมีรายได้ประจำเป็นครั้งแรก และยังไม่รู้ขั้นตอนการยื่นภาษีประจำปี ความกังวลเหล่านี้จะหมดไป เพราะ JobThai สรุปคำตอบมาให้แล้ว
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ จำนวนเงินที่เรียกเก็บจากผู้มีรายได้ทุกคนตามกฎหมายภาษีเงินได้ พ.ศ. 2469 โดยรัฐบาลสามารถเรียกเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ทุกประเภท
ประเภทของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบ่งออกเป็น 8 ประเภท ดังนี้
-
เงินได้ประเภท 40(1) เงินได้จากการจ้างแรงงาน เช่น เงินค่าจ้าง เงินเดือน เงินโบนัส
-
เงินได้ประเภท 40(2) เงินได้จากการทำงานไม่ประจำ ไม่ได้เป็นลูกจ้าง เช่น ค่าคอมมิชชัน ค่าจ้างงานฟรีแลนซ์
-
เงินได้ประเภท 40(3) เงินได้จากค่าลิขสิทธิ์ ค่าสิทธิ์ รวมทั้งเงินจากพินัยกรรม นิติกรรมอื่น ๆ
-
เงินได้ประเภท 40(4) เงินได้จากการลงทุน
-
เงินได้ประเภท 40(5) เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน
-
เงินได้ประเภท 40(6) เงินได้จากค่าวิชาชีพอิสระ ได้แก่ แพทย์และพยาบาล, ประกอบโรคศิลปะ, ประณีตศิลป์, สถาปนิก, ทนายความและวิศวกร
-
เงินได้ประเภท 40(7) เงินได้จากการรับเหมา
-
เงินได้ประเภท 40(8) เงินได้นอกเหนือจาก 40(1) - 40(7)
ผู้มีรายได้ทุกคนต้องยื่นภาษี แต่ต้องเสียภาษีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณรายได้สุทธิ หากรายได้สุทธิอยู่ที่ 0 - 150,000 บาท จะได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษีนั่นเอง
แบบยื่นภาษี ภ.ง.ด. 90/91 จะรวมเงินได้สองประเภทเข้าด้วยกัน ได้แก่
-
ภ.ง.ด. 90 หรือภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40(1)-40(8) แห่งประมวลรัษฎากรหลายประเภทหรือประเภทเดียว แต่มิใช่เงินได้ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากรประเภทเดียว โดยมีกำหนดยื่นแบบภายในวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 มีนาคม ของปีภาษีถัดไป
-
ภ.ง.ด. 91 หรือภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงานตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากรประเภทเดียว โดยมีกำหนดยื่นแบบภายในวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 มีนาคม ของปีภาษีถัดไป
ซึ่งคนทำงานส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์เงินเดือนหรือฟรีแลนซ์ มักยื่นภาษีในรูปแบบนี้
หลังจากทำความรู้จักประเภทของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและเข้าใจแบบยื่นภาษี ภ.ง.ด. 90/91 กันไปแล้ว หัวข้อนี้ JobThai จะมาสรุปขั้นตอนการยื่นภาษีฉบับเข้าใจง่าย
1. เข้าไปที่เว็บไซต์กรมสรรพากร
เริ่มต้นจากเข้าสู่เข้าเว็บไซต์กรมสรรพากร https://www.rd.go.th/landing.html
2. สมัครสมาชิกเพื่อใช้งานระบบ
สำหรับ First Jobber ยื่นภาษีครั้งแรกต้องสมัครสมาชิกเพื่อเข้าสู่ระบบ โดยกรอกเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก จากนั้นกดช่อง “ฉันไม่ใช่โปรแกรมอัตโนมัติ”
3. กรอกข้อมูลส่วนตัวให้ครบถ้วน
กรอกข้อมูลส่วนตัวให้ถูกต้องและสร้างรหัสผ่านเพื่อเข้าสู่ระบบ e-Filing
4. เข้าระบบ e-Filing เพื่อยื่นภาษี
หลังจากลงทะเบียนเสร็จแล้ว สามารถเข้าสู่ระบบ e-Filing เพื่อยื่นภาษีออนไลน์ได้ทันที โดยกรอกเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลักพร้อมรหัสผ่าน จากนั้นระบบจะส่งรหัส OTP 6 หลักไปยังเบอร์มือถือที่ลงทะเบียน เป็นการยืนยันตัวตน
5. เลือกแบบยื่นภาษี ภ.ง.ด. 90/91
อ่านรายละเอียดให้ครบถ้วน กดยอมรับข้อตกลงและเงื่อนไข จากนั้นเข้าสู่ระบบและเลือกแบบยื่นภาษี ภ.ง.ด. 90/91 ได้เลย
6. ระบุแหล่งที่มาของรายได้
ระบุแหล่งที่มาของรายได้ตามประเภทของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 40(1) - 40(8) ให้ถูกต้อง
7. กรอกข้อมูลการลดหย่อนภาษี
First Jobber ยื่นภาษีครั้งแรก อย่าลืมกรอกข้อมูลลดหย่อนภาษี โดยส่วนใหญ่จะเป็นค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัว ครอบครัว และประกันสังคม ส่วนผู้ประกอบอาชีพรายได้สูง เราแนะนำให้วางแผนลดหย่อนภาษีไว้ล่วงหน้า ยกตัวอย่างเช่น ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มการลงทุน กลุ่มการบริจาค กลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ
8. ตรวจสอบและยืนยันการยื่นภาษี
ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลและกดยืนยันการยื่นภาษีออนไลน์ได้เลย
เอกสารประกอบการยื่นภาษี มีดังนี้
การยื่นภาษีอาจไม่ได้มีสอนในตำราเรียน ทำให้คราวที่ First Jobber ยื่นภาษีครั้งแรกอาจรู้สึกไม่มั่นใจ ไม่รู้ว่าต้องยื่นอย่างไรจึงจะถูกต้องตามเกณฑ์สรรพากร แต่จริง ๆ แล้วการยื่นภาษีไม่ได้ยากและน่ากลัวอย่างที่คิด เพียงแค่ทำตามขั้นตอนที่ JobThai อธิบายไปด้านบนให้ครบถ้วนก็ยื่นภาษีอย่างถูกต้องได้แล้ว หลังจากทำความเข้าใจการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็อย่าลืมปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องด้วยการยื่นภาษีเงินได้ในทุก ๆ ปีกันด้วยนะ!
JobThai Official Group เพื่อการหางาน หาคน และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงาน