คนทำงานกับเรื่องของการลดหย่อนภาษี

คนทำงานกับเรื่องของการลดหย่อนภาษี
20/12/19   |   9.1k   |  

 

  • "เงินได้พึงประเมิน" คือเงินจากการทำงานแล้วทำให้เรารวยขึ้น และเมื่อมีเงินได้เข้ามา กฎหมายก็จะบังคับให้เราต้องเอามาเสียภาษี

  • ค่าใช้จ่าย คือสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่กฎหมายมอบให้ ขึ้นอยู่กับ "ประเภทของเงิน" ที่ได้รับ

  • ค่าลดหย่อน คือสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่กฎหมายมอบให้ ขึ้นอยู่กับ “สถานภาพและภาระ” ที่มีอยู่

 

 

JobThai Mobile Application หางานง่าย เจองานที่ใช่ โหลดเลย

iOS

Android

Huawei AppGallery

 

การจ่ายภาษี เป็นเรื่องที่มาคู่กับคนทำงานทุกคน ไม่ว่าจะเป็นฟรีแลนซ์หรือมนุษย์เงินเดือน แต่แม้รายได้รวมของเราจะถึงเกณฑ์ที่ต้องจ่ายภาษี ก็ไม่ได้หมายความว่าเราต้องคิดยอดภาษีที่ต้องจ่ายจากรายได้พวกนั้นทันที เพราะยังมีช่องทางที่ทำให้เราสามารถลดค่าใช้จ่ายตรงนี้ได้อยู่ ที่เรียกว่า “ค่าลดหย่อน”

 

ก่อนการยื่นภาษีเราเลยต้องมาคำนวณภาษีว่าเรามีรายได้เท่าไหร่และมาจากไหนบ้าง จากนั้นจึงรวบรวมเอกสารที่จะใช้ยื่นให้ครบ รวมถึงต้องรู้ว่ามีอะไรที่จะนำมาลดหย่อนภาษีที่ต้องจ่ายของเราได้บ้าง ถ้าเราจ่ายภาษีน้อยลงได้จะทำให้เรามีเงินเหลือเก็บเพื่อนำไปประโยชน์อย่างอื่นมากขึ้น แต่ก่อนอื่น เราต้องเข้าใจว่าเงินในแต่ละประเภทนั้นมีความแตกต่างกัน บางอย่างใช้ลดหย่อนภาษีได้ แต่บางอย่างก็ไม่สามารถลดหย่อนภาษีได้

 

JobThai จึงรวบรวมความหมายของเงินได้ประเภทต่าง ๆ และพาไปดูว่าเราสามารถลดหย่อนภาษีจากอะไรได้บ้าง เพื่อจะได้ทำให้คนทำงานอย่างเรามีเงินเก็บมากยิ่งขึ้น

 

อัปเดตภาษีท้ายปี 62 ใครต้องเสียใครต้องยื่น

 

3 คำนี้จำให้ดี: เงินได้พึงประเมิน ค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อน

ถึงจะขึ้นชื่อว่าเงินเหมือนกันก็ตาม แต่ในการคิดภาษีนั้นกฎหมายได้แบ่งเงินออกเป็นประเภทต่าง ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการจัดเก็บภาษี โดย 3 อย่างหลักที่คนทำงานควรรู้จักก็ได้แก่ "ค่าใช้จ่าย เงินได้พึงประเมิน และค่าลดหย่อน" ซึ่งมีความแตกต่างกันอยู่บ้างเล็กน้อย หากเราไม่ทำความเข้าใจ 3 สิ่งนี้ให้ดี ก็อาจจะทำให้พลาดโอกาสในการลดหย่อนภาษีได้

 

อะไรเป็นเงินได้พึงประเมินบ้าง?

ปกติแล้วไม่ว่าจะได้เงินจากอะไรก็ตาม ถ้าเงินนั้นเข้ามาอยู่ในมือเราแล้วทำให้เรารวยขึ้น ก็ถือว่าเงินนั้นคือ "เงินได้" ของเราแล้ว และเมื่อมีเงินได้เข้ามา กฎหมายก็จะบังคับให้เราต้องเอามาเสียภาษี ซึ่งภาษากฎหมายจะเรียกเงินได้นั้นว่า "เงินได้พึงประเมิน" ซึ่งก็คือเงินที่เราได้มา เพื่อจะนำไปประเมินว่าต้องเสียภาษีหรือเปล่านั่นเอง 

 

ประมวลรัษฎากรได้แยกเงินได้พึงประเมินแบ่งได้เป็น 8 ประเภท ซึ่งเงินได้แต่ละประเภทจะมีวิธีหัก "ค่าใช้จ่าย" ที่เกี่ยวข้องกับการหารายได้ และการหักภาษี ณ ที่จ่ายแตกต่างกันไป

  • ประเภทที่ 1 คือ เงินที่ได้รับจาก เงินเดือน โบนัส

  • ประเภทที่ 2 คือ เงินที่ได้รับจาก ตำแหน่งงานซึ่งไม่ใช่เงินเดือน หรืออาชีพเสริมต่าง ๆ

  • ประเภทที่ 3 คือ เงินที่ได้รับจาก ค่าความนิยม ( Goodwill ) ค่าแห่งลิขสิทธิ์ เป็นต้น 

  • ประเภทที่ 4 คือ เงินที่ได้รับจาก ดอกเบี้ย ปันผล ส่วนแบ่งกำไร ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น เป็นต้น

  • ประเภทที่ 5 คือ เงินที่ได้รับจาก การให้เช่าทรัพย์สิน ยืมเงิน เป็นต้น

  • ประเภทที่ 6 คือ เงินที่ได้รับจาก การประกอบวิชาชีพอิสระ

  • ประเภทที่ 7 คือ เงินที่ได้รับจาก การรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระ 

  • ประเภทที่ 8 คือ เงินที่ได้รับจาก การทำธุรกิจ ทำเกษตร อุตสาหกรรม ขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ อื่น ๆ           

 

สรุปแล้วไม่ว่าจะได้รับเงินจากทางไหนก็ต้องถูกจัดอยู่ในประเภทใดประเภทหนึ่ง ดังนั้นเราต้องรู้ด้วยว่าเงินได้ของเราอยู่ในประเภทใด จะได้ยื่นภาษีถูกต้อง และจะได้รู้ว่าสามารถหักค่าใช้จ่ายอะไรได้บ้าง 

 

สำหรับเงินได้ประเภทที่ 6 หรือ เงินได้ของวิชาชีพอิสระ (แต่ไม่ใช่ฟรีแลนซ์) เพราะเงินของเหล่าฟรีแลนซ์นั้น จะถือว่าเงินที่ได้มาจะอยู่ในประเภทที่ 8 หรืออื่น ๆ แต่วิชาชีพอิสระหมายถึง 6 อาชีพที่กฎหมายระบุว่าเป็นอาชีพที่สามารถหารายได้นอกเหนือจากเงินเดือนด้วยความสามารถพิเศษ ซึ่งก็มี

  1. วิชาชีพการประกอบโรคศิลปะ ได้แก่หมอ พยาบาล 

  2. นักกฎหมาย 

  3. วิศวกร 

  4. นักสถาปัตยกรรม 

  5. นักบัญชี 

  6. ช่างประณีตศิลปกรรม

 

อะไรเป็นค่าใช้จ่ายบ้าง? 

ในชีวิตประจำวัน เรามีค่าใช้จ่ายที่ใช้จ่ายไปกับสิ่งของต่าง ๆ อย่าง จ่ายค่ากับข้าว จ่ายค่ากาแฟ จ่ายค่าเสื้อผ้า เงินที่จ่ายออกไปก็เพื่อจะได้รับสิ่งของเหล่านั้นตอบแทนกลับมา สำหรับความสำคัญในเชิงภาษีก็คือว่า การทำงานทุกอาชีพก็มี "ค่าใช้จ่าย" เช่นเดียวกัน เพื่อที่จะได้รายได้ตอบแทนกลับคืนมา คือกว่าที่จะได้รายได้มาก็ต้องมีการลงทุนไปก่อน 

 

เมื่อต้องมีค่าใช้จ่ายสำหรับสร้างรายได้ กฎหมายเลยให้สิทธิประโยชน์ของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สามารถนำค่าใช้จ่ายมาหักภาษีเพื่อเป็นต้นทุนสำหรับการทำงาน โดยที่เงินได้แต่ละประเภทจะหักค่าใช้จ่ายได้เท่าที่คิดว่าเหมาะสมกับรายได้ที่เกิดขึ้น แต่ว่าการหักค่าใช้จ่ายเป็นสิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างหนึ่ง ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีกฎหมายเขียนรับรองไว้ด้วย หากค่าใช้จ่ายนั้นไม่มีกฎหมายรับรองก็จะหักค่าใช้จ่ายไม่ได้ แม้ว่าเราจะจ่ายไปจริง ๆ ก็ตาม 

การหักค่าใช้จ่าย 2 แบบ คือ

  1. หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา แบบนี้ไม่ต้องใช้หลักฐานค่าใช้จ่าย ตัวอย่างเช่น ผู้มีเงินได้สามารถหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 50 ของเงินได้แต่รวมกันแล้วต้อง ไม่เกิน 100,000 บาท ซึ่งเป็นสิทธิที่ได้รับทุกคน

  2. หักค่าใช้จ่ายจริงตามความจำเป็นและสมควร หรือหักตามที่ใช่จ่ายจริง ๆ ต้องมีหลักฐานค่าใช้จ่ายด้วย ซึ่งจะคิดเป็นกรณี ๆ ไป เช่น ทำกิจการที่ต้องมีค่าประกอบการ หรือการค้าที่ดินแต่ไม่ได้ตั้งใจเก็งกำไร อาจขายไปเพื่อการกุศลก็เอามาหักภาษีได้

 

รู้จักกับฐานภาษี: สาเหตุที่ทำให้เสียภาษีนั้นเพราะอะไร

 

อะไรเป็นค่าลดหย่อนบ้าง?

ค่าลดหย่อนคือ สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่กฎหมายมอบให้กับผู้เสียภาษีตามภาระของตัวผู้เสียภาษีคนนั้น ๆ ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับค่าลดหย่อนภาษี 3 กลุ่มหลัก ๆ กันก่อนดีกว่า 

  • ภาระติดตัว

  • กระตุ้นเศรษฐกิจ

  • ประกันชีวิตและลงทุน

 

ภาระติดตัว 

ค่าลดหย่อนในส่วนนี้คือ ค่าใช้จ่ายที่เราไม่สามารถเลี่ยงได้ อย่างค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงบุตร ฝากครรภ์ คลอดบุตร หรือเลี้ยงดูพ่อแม่ พิการหรือทุพพลภาพ โดยแยกรายละเอียดดังนี้

 

ค่าลดหย่อน

จำนวนเงินที่ลดหย่อนได้

หมายเหตุ

ส่วนตัว

60,000 บาท

-

คู่สมรส

60,000 บาท

ต้องเป็นคู่สมรถตามกฎหมายและไม่มีเงินได้ 

หรือมีเงินได้และเลือกยื่นแบบแสดงรายการรวมกันในการคำนวณภาษี

บุตร

30,000 บาท ต่อคน

บุตรคนที่ 2 เป็นต้นไป

เพิ่มค่าลดหย่อนได้คนละ30,000 บาท 

บิดามารดา

30,000 บาท ต่อคน

-

ผู้พิการ หรือ ทุพพลภาพ

60,000 บาท

-

ค่าฝากครรภ์และทำคลอด

ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 60,000 บาท

-

 

กระตุ้นเศรษฐกิจ

กลุ่มนี้คือค่าใช้จ่ายที่เราจ่ายไปเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างเช่นโครงการต่าง ๆ ที่รัฐเชิญชวนให้เราออกไปใช้จ่าย เช่นเที่ยวเมืองหลัก - เมืองรอง เมื่อเรามีรายจ่ายในหมวดนี้ เราก็จะสามารถนำมาเป็นค่าลดหย่อนได้  

 

ค่าลดหย่อน

จำนวนเงินที่ลดหย่อนได้

หมายเหตุ

กู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย

ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกินจำนวน100,000 บาท

-

ค่าธรรมเนียมจากการรับชำระเงินด้วยบัตรเดบิต

ลดหย่อนได้ 2 เท่าจากที่จ่ายจริง

เฉพาะกลุ่มที่มีรายได้ประเภทที่ 5 - 8  

ต้องจ่ายระหว่างวันที่ 

1 พ.ย. 59 – 31 ธ.ค. 64

กรณีซ่อมแซมบ้านและรถที่เสียหายจากน้ำท่วม

ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง

-บ้านสูงสุด 100,000 บาท

-รถสูงสุด 30,000 บาท

ต้องจ่ายภายในวันที่ 31 มี.ค. 62  

และมีหลักฐานการจ่ายค่าซ่อม

ลงทุนในธุรกิจ Startup

ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง

แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

ต้องลงหุ้นหรือลงทุนในธุรกิจ Start Up 

ตั้งแต่ 1 ม.ค. 61 – 31 ธ.ค. 62

การท่องเที่ยวทั่วไทย

(เมืองหลัก - เมืองรอง)

ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง

-เมืองหลัก 15,000 บาท

-เมืองรอง 20,000 บาท

ทั้ง 2 รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 20,000 บาท

และต้องจ่ายภายในวันที่ 

30 เม.ย. - 30 มิ.ย. 62

ค่าลดหย่อนซื้อสินค้า OTOP

ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง

แต่ไม่เกิน 15,000 บาท

สำหรับสินค้าที่ซื้อระหว่าง

30 เม.ย. – 30 มิ.ย. 62

ค่าลดหย่อนซื้อสินค้าเพื่อการศึกษาและกีฬา

ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง

แต่ไม่เกิน 15,000 บาท

สำหรับสินค้าที่ซื้อระหว่าง

1 พ.ค. – 30 มิ.ย. 62

ค่าลดหย่อนซื้อหนังสือ

และe-book

ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง

แต่ไม่เกิน 15,000 บาท

สำหรับสินค้าที่ซื้อระหว่าง

1 ม.ค. – 31 ธ.ค. 62

 

ประกันชีวิตและการลงทุน

ในกลุ่มนี้ จะเป็นกลุ่มที่คุ้มค่า เพราะเราจะไม่เสียค่าใช้จ่ายไปเฉย ๆ แต่เราจะมีรายรับกลับมา และยังเป็นการลงทุนอีกวิธีหนึ่งด้วย มาดูกันว่าประกันชีวิตและการลงทุนสามารถลดหย่อนอะไรได้บ้าง

 

ค่าลดหย่อน

จำนวนเงินที่ลดหย่อนได้

หมายเหตุ

ประกันชีวิตทั่วไป

ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน  100,000 บาท

-

ประกันสุขภาพตนเอง

ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน15,000 บาท

-

ประกันสุขภาพ

พ่อแม่

ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน15,000 บาท

-

ประกันชีวิตแบบบำนาญ

15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกินจำนวน 200,000บาท

-

กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)

15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามที่จ่ายจริงและสูงสุดไม่เกินจำนวน 500,000 บาท

ต้องถือหน่วยลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 7 ปีปฎิทิน

กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)

15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามที่จ่ายจริงและสูงสุดไม่เกินจำนวน 500,000 บาท

ต้องซื้อติดต่อกันทุกปี เป็นจำนวนขั้นต่ำ 3% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี หรือ 5,000 บาท

กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ

ตามที่จ่ายจริงและสูงสุดไม่เกินจำนวน 500,000 บาท

-

เงินประกันสังคม

ตามที่จ่ายจริงและสูงสุดไม่เกินจำนวน 9,000 บาท

-

กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)

ตามที่จ่ายจริงและสูงสุดไม่เกินจำนวน 13,200 บาท

-

 

สรุป "ค่าใช้จ่าย" และ "ค่าลดหย่อน" กันอีกที ว่าต่างกันตรงไหน

  • ค่าใช้จ่าย คือสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่กฎหมายมอบให้ขึ้นอยู่กับ "ประเภทของเงิน" ที่ได้รับ เพราะบางอาชีพมีต้นทุนในการทำงานสูงกว่าจะได้รายรับกลับคืนมา ก็ควรจะต้องลดส่วนนี้ให้เขา

  • ค่าลดหย่อน คือสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่กฎหมายมอบให้ขึ้นอยู่กับ "สถานภาพและภาระ" ที่มีอยู่ บางคนมีภาระที่ต้องใช้เงินมากกว่าคนอื่น ดังนั้นก็ต้องลดภาระในส่วนภาษีให้เขา

 

การเตรียมตัวเรื่องเกี่ยวกับภาษีนั้น ควรเตรียมตัวตั้งแต่ต้นปี จะได้วางแผนจัดการค่าลดหย่อนได้อย่างถูกต้อง แต่ไม่ต้องกังวลไป เพราะ JobThai จะรีบมาอัปเดตให้ทุกคนทราบกันหากในปีหน้ามีอะไรเปลี่ยนแปลง

  

คนทำงานกับขั้นตอนการยื่นจ่ายภาษีที่ถูกต้อง

 

คนที่จะเสียภาษีก็ต้องมีรายได้เยอะ

มาสมัครสมาชิกกับ JobThai หางานที่ใช่จะได้มีรายได้เยอะ ๆ กันดีกว่า

 

JobThai มี Line แล้วนะคะ

ติดตามสาระความรู้สำหรับคนทำงาน ที่ย่อยง่าย อ่านสนุก และพูดคุยทุกแง่มุมเกี่ยวกับการทำงานอย่างใกล้ชิดที่

เพิ่มเพื่อน

tags : คนทำงาน, การจ่ายภาษี, การยื่นเสียภาษี, คนทำงานกับการเสียภาษี, ภ.ง.ด., ภ.ง.ด.90, ภ.ง.ด.91, ภาษี, ภาษีบุคคลธรรมดา, คำนวณภาษี, ลดหย่อนภาษี, เด็กจบใหม่, ไลฟ์สไตล์, lifestyle, jobthai



ติดตามข่าวสารและเรื่องราวดีๆ ทาง Email

ขอบคุณสำหรับการติดตาม