-
อัตราภาษีเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ใช้ในการคำนวณภาษี โดยกฎหมายจะกำหนดว่า หากได้เงินสุทธิเท่านี้ ให้คิดภาษีในอัตราเท่าไหร่
-
อัตราก้าวหน้า: ยิ่งได้เงินมาก ก็ยิ่งจ่ายมาก
-
อัตราคงที่: ทุกคนจ่ายอัตราเดียวกัน
-
อัตราเหมาจ่าย: เหมาจ่ายไม่ต้องคิดเยอะ
-
อัตราถดถอย: รายได้ยิ่งมาก ยิ่งจ่ายภาษีน้อยลง
-
ฐานภาษีเป็นตัวกำหนดว่าเราจะเป็น “ผู้เสียภาษี” หรือไม่ ถ้าเราเข้าข่ายการจ่ายภาษีหลายอย่างก็ต้องจ่ายหลายอย่างตามไปด้วย
-
ฐานบริโภค ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT ภาษีศุลกากรที่มักจะเห็นเวลาเดินทาง
-
ฐานทรัพย์สิน มีหลากหลายประเภทมาก แต่ตัวอย่างอย่างง่ายก็ได้แก่ ภาษีรถยนต์ ภาษีโรงเรือง และที่ดิน เป็นต้น
-
ฐานรายได้ ได้แก่ ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดาซึ่งรายได้ก็คือเงินเดือนหรือค่าจ้าง
-
รายได้สุทธิลบค่าใช้จ่ายส่วนตัวไม่เกิน 100,000 บาท และหักค่าลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้ 60,000 บาท และถ้ามีค่าลดหย่อนอื่น ๆ เพิ่มอีก ก็จะยิ่งเสียภาษีประจำปี 2563 น้อยลงไปอีก
|
|
JobThai Mobile Application หางานง่าน ได้งานที่ใช่ โหลดเลย!
|
|
“ภาษี” เป็นเรื่องที่เราทุกคนต้องเจอ แต่น้อยคนนักที่จะเข้าใจกับเรื่องภาษีอย่างแท้จริง เมื่อต้องจ่ายภาษี คนทำงานบางคนก็ยังคงใช้โปรแกรมในการคำนวณภาษี เพราะยังรู้สึกงงและไม่แน่ใจว่าถ้าคำนวณเองจะทำได้ถูกต้องไหม แต่ไม่ว่าเราจะใช้โปรแกรมคำนวณใด ๆ ก็ตาม เราก็ควรมีความรู้ความเข้าใจว่าสาเหตุอะไรที่ทำให้เราต้องเสียภาษี และเพราะอะไรถึงต้องเสียภาษีเป็นเงินจำนวนนั้น ๆ เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดที่อาจตามมา เพราะจะทำให้เราต้องเวลาและเสียเงินไปโดยไม่จำเป็น
JobThai เลยจะมาแนะนำถึงเรื่องของฐานภาษี ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เราทราบว่าเพราะอะไรเราถึงต้องจ่ายภาษีตามจำนวนที่คำนวณมา
อัตราภาษี: ความเป็นธรรมสำหรับคนจ่ายภาษี
เมื่อเรารู้ตัวแล้วว่าเราเป็นพนักงานที่มีเงินเดือนอยู่ในเกณฑ์ของ “ผู้เสียภาษี” หรือคนที่ต้องจ่ายภาษี สิ่งที่ควรรู้อีกอย่างหนึ่งก็คืออัตราภาษี เพราะอัตราภาษีเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ใช้ในการคำนวณภาษี โดยกฎหมายจะกำหนดว่า หากได้เงินสุทธิเท่านี้ ให้คิดภาษีในอัตราเท่าไหร่ ดังนั้นเราก็ต้องดูว่า “อัตราภาษี” นั้นมีการกำหนดไว้แบบใดบ้าง เหตุผลอีกอย่างคืออัตราภาษีหรือวิธีการคิดเงินสำหรับเรียกเก็บภาษี จะเป็นตัวบอกว่าเราต้องเสียภาษีมากหรือน้อยอีกด้วย
-
อัตราก้าวหน้า: ยิ่งได้เงินมาก ก็ยิ่งจ่ายมาก
การคิดเงินแบบก้าวหน้าเป็นหนึ่งสิ่งที่คนคุ้นชินมากที่สุด จากคำที่ว่า “อัตราแบบขั้นบันได” ซึ่งมีเหตุผลคือ คนที่สามารถหาได้เงินมากก็ควรจ่ายภาษีมากกว่าคนที่ได้เงินน้อย อัตราภาษีแบบนี้ก็เลยกำหนดให้ถ้าได้เงินมากขึ้นหรือมีฐานภาษีสูงขึ้น ก็จะขยับขั้นบันไดที่เรายืนอยู่ขึ้นไป แล้วในแต่ละขั้นก็จะคิดอัตราที่ต้องจ่ายสูงขึ้นตามไปด้วย
-
อัตราคงที่: ทุกคนจ่ายอัตราเดียวกัน
คิดแค่อัตราเดียวสำหรับฐานภาษีโดยไม่เปลี่ยนตามการขึ้นลงของฐานภาษี เช่น อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ร้อยละ 7 หรือ Vat 7% ที่เราทุกคนต้องเคยเจอ
-
อัตราเหมาจ่าย: เหมาจ่ายไม่ต้องคิดเยอะ
เก็บภาษีแบบคิดราคาเป็นเงินจำนวนที่แน่นอนโดยไม่สนว่าฐานภาษีจะเป็นเท่าไหร่ อัตราเหมาจ่าย เช่น ในกรณีค่าลดหย่อนส่วนตัวและค่าใช้จ่าย คือทุกคนได้รับการยกเว้นจ่ายภาษีในส่วนนี้ จึงเหมาไปเลยอัตราเดียวกัน
-
อัตราถดถอย: รายได้ยิ่งมาก ยิ่งจ่ายภาษีน้อยลง
การจ่ายภาษีแบบอัตราถดถอยคือ การจ่ายภาษีในอัตราการที่ต่ำลงเมื่อมีรายได้สูงขึ้น ซึ่งภาษีประเภทนี้ไม่ได้นำมาใช้กับการเก็บภาษีของมนุษย์เงินเดือน แต่จะใช้กับอัตราภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีที่จัดเก็บจากที่ดินที่ใช้สร้างบ้านอยู่อาศัยหรือทำการเกษตร และที่ดินว่างเปล่าก็เก็บเหมือนกัน จะเห็นได้ว่าถ้าเกษตรกรมีพื้นที่ทำนาใหญ่มากแล้วต้องจ่ายภาษีในอัตราก้าวหน้าก็คงไม่ไหว
ฐานภาษี: ไมล์เดินทาง
หลังจากเข้าใจว่าต้องมีการยื่นภาษีและการจ่ายภาษีแล้ว เรื่องต่อมาเป็นเรื่องของคำถามว่า เพราะอะไรเราถึงกลายเป็น “ผู้เสียภาษี” ซึ่งสิ่งที่ทำให้เรากลายเป็น “ผู้เสียภาษี” ถูกเรียกว่า “ฐานภาษี” และหากเปรียบฐานภาษีเป็นไมล์เดินทาง (Mile) นั่นหมายความว่า เราเดินทางไปไกลเท่าไหร่ ค่าใช้จ่ายก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น โดยฐานภาษีสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทคิดอัตราการเก็บไม่เหมือนกันนะ บางอันเป็นแบบคงที่ บางอันเหมาจ่าย และบางอันก็เป็นขั้นบันได
-
ฐานบริโภค: ภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT ภาษีศุลกากรที่มักจะเห็นเวลาเดินทาง และอื่น ๆ
-
ฐานทรัพย์สิน: มีหลากหลายประเภท อย่างเช่น ภาษีรถยนต์ ภาษีโรงเรือง และภาษีที่ดิน
-
ฐานรายได้: ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดา ซึ่งรายได้ก็คือเงินเดือนหรือค่าจ้าง
เห็นได้ว่าจริง ๆ แล้วเราอาจยืนอยู่บนหลายฐานภาษีพร้อมกัน ดังนั้นหากเราเข้าข่ายการจ่ายภาษีหลายทางก็ต้องจ่ายหลายอย่างตามไปด้วย แต่ว่าในข้อนี้อยากพูดถึงข้อที่ 3 หรือ “ฐานรายได้” ซึ่งพนักงานเงินเดือนควรจะทำความคุ้นเคยเอาไว้ เนื่องจากฐานรายได้หลักของพนักงานประจำทั้งหลายได้รับในแต่ละเดือนมักเป็นเงินเดือนและโบนัส จึงต้องจ่ายภาษีบนฐานนี้เป็นหลัก ไปดูค่าเดินทางกัน
หลักไมล์ที่
|
ขั้นเงินได้สุทธิตั้งแต่
|
อัตราภาษี
|
ภาษีสูงสุดในแต่ละขั้นเงินได้
|
ภาษีสะสมสูงสุดของขั้น
|
1
|
0 - 150,000
|
5%
|
ยกเว้น*
|
0
|
2
|
150,001 - 300,000
|
5%
|
7,500
|
7,500
|
3
|
300,001 - 500,000
|
10%
|
20,000
|
27,500
|
4
|
500,001 - 750,000
|
15%
|
37,500
|
65,000
|
5
|
750,001 - 1,000,000
|
20%
|
50,000
|
115,000
|
6
|
1,000,001 - 2,000,000
|
25%
|
250,000
|
365,000
|
7
|
2,000,001 - 5,000,000
|
30%
|
900,000
|
1,265,000
|
8
|
มากกว่า 5,000,000
|
35%
|
|
|
*ยกเว้น ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 470) พ.ศ. 2551 สำหรับเงินได้สุทธิที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 เป็นต้นไปประกอบกับมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 44) พ.ศ. 2560 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปีภาษี พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
อธิบายจากตัวอย่างต่อไปนี้
การคำนวณง่าย ๆ จากรายได้สุทธิหักลบกับค่าใช้จ่ายส่วนตัวไม่เกิน 100,000 บาท จากนั้นจึงนำไปหักค่าลดหย่อนส่วนตัวสำหรับผู้มีเงินได้ 60,000 บาท ซึ่งตรงนี้เราควรตรวจสอบก่อนด้วยว่าเรามีค่าลดหย่อนอื่น ๆ อะไรเพิ่มเติมอีกไหม เพราะจะทำให้เสียภาษีน้อยลงไปอีก (ภาษีประจำปี 2563 จะยื่นได้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2564) วิธีคำนวณรายได้สุทธิเพื่อดูว่าเราอยู่บนฐานภาษีขั้นไหน
สมมติว่าได้เงินเดือน 30,000 บาทต่อเดือน แต่ไม่มีค่าลดหย่อนอะไรเพิ่มเติม วิธีคิดจะเป็นดังนี้
-
ขั้นตอนที่ 1 ทั้งปีจะได้เงิน 30,000 x 12 = 360,000 บาท
-
ขั้นตอนที่ 2 ดูว่าหักค่าใช้จ่ายได้เท่าไหร่ สำหรับเงินได้ประเภทที่ 1 และ 2 (เงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส เบี้ยเลี้ยง) หักได้ 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท เมื่อคิดดู 50% ของ 360,000 = 180,000 บาท แต่ว่า 180,000 เกิน 100,000 บาท ก็ต้องปัด 80,000 ทิ้งเหลือ 100,000 บาท เพราะกฎหมายให้ได้สูงสุดเท่านี้
-
ขั้นตอนที่ 3 ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 = 60,000 บาท (เป็นค่าลดหย่อนแบบเหมา 60,000 บาทต่อปี สำหรับผู้ยื่นภาษีทุกคน) รวมแล้วพนักงานที่รับเงินเดือนอย่างเดียวจะได้รับค่างดเว้นภาษีรวม 160,000 บาท
-
ขั้นตอนที่ 4 เมื่อคิดเงินได้สุทธิจึงเท่ากับ 360,000 – 160,000 = 200,000 บาท
-
ขั้นตอนที่ 5 จะเห็นได้ว่าเงินได้สุทธิ 200,000 บาท นั้น อยู่ในช่วงเงินได้ระหว่าง 150,000 – 300,000 หรือ “ฐานไมล์ที่ 2” เพราะถ้าดูตามตารางข้างล่างจะเห็นได้ว่าเงินสะสมในขั้นที่ 1 ยังเหลืออยู่ 50,000 บาท จึงต้องไต่ต่อขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง
-
ขั้นตอนที่ 6 ดูว่าอัตราภาษีของ“ฐานไมล์ที่ 2” เท่าไหร่ จากนั้นก็นำมาคำนวณกับเงินที่เหลืออยู่จากการสะสมตามขั้น
ขั้นเงินได้สุทธิ
|
หักออก
|
อัตราภาษี
|
เงินภาษี
|
สะสมตามขั้น
|
0 – 150,000
|
200,000 -150,000 = 50,000
|
5%
|
ยกเว้นไม่ต้องคิด
|
50,000
|
150,000 – 300,000
|
50,000
|
5% ของ 50,000
|
2,500
|
–
|
รวมภาษีที่ต้องจ่าย
|
2,500
|
|
ดังนั้น สมมติว่าได้รับเงินเดือน 30,000 บาท จะต้องเสียภาษี 2,500 บาท โดยประมาณ ซึ่งหากว่าเราไม่ได้ไม่มีค่าลดหย่อนอะไรเพิ่มเติม อย่างประกันชีวิต กองทุน RMF, LMF ดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อบ้าน หรือเงินเดือนไม่เกิน 26,000 บาท ก็ไม่จำเป็นต้องเสียภาษี แค่ต้องยื่นแบบฟอร์มเสียภาษีให้ถูกต้องเท่านั้น
|
|
JobThai Official Group เพื่อการหางาน หาคน และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงาน |
Public group · 100,000 members |
|
|
|