Stay Interview สัมภาษณ์เช็กความสุขพนักงาน ลดปัญหาการลาออก

Stay Interview สัมภาษณ์เช็กความสุขพนักงาน ลดปัญหาการลาออก
25/10/23   |   9.5k   |  

 

 

JobThai Mobile Application สมัครงานง่าย ได้งานเร็ว

iOS

Android

Huawei AppGallery

 

หลายคนอาจคุ้นเคยกับ Exit Interview หรือการสัมภาษณ์ความคิดเห็นของพนักงานที่แจ้งลาออกเพื่อนำไปใช้ปรับปรุงการดูแลพนักงานในองค์กรกันอยู่แล้ว แต่รู้ไหมว่าในโลกของการทำงานยังมีการสัมภาษณ์อีกแบบหนึ่งที่เรียกว่า ‘Stay Interview’ อยู่ด้วย ซึ่ง Stay Interview ก็ถือเป็นอีกหนึ่งเคล็ดลับสำคัญที่ช่วยในการรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กรไปนาน ๆ และสำคัญไม่แพ้กับ Exit Interview เลย วันนี้ JobThai จะมาแนะนำการสัมภาษณ์ประเภทนี้ให้ทุกคนได้รู้จัก

 

Exit Interview ความคิดเห็นของพนักงานที่กำลังจะไป ที่ไม่ควรละเลย

 

Stay Interview คืออะไร?

Stay Interview คือการสัมภาษณ์พนักงานแบบตัวต่อตัว (1-on-1 Conversation) เพื่อสำรวจความรู้สึกและความคิดเห็นที่มีต่อวัฒนธรรมและการทำงานในองค์กร อะไรคือสิ่งที่ทำให้พนักงานยังเลือกทำงานอยู่กับเรา และอะไรเป็นปัจจัยที่จะทำให้พนักงานตัดสินใจลาออก

 

Stay Interview ต่างจาก Exit Interview ยังไง?

คอนเซปต์โดยรวมของ Stay Interview อาจคล้ายคลึงกับ Exit Interview ที่เป็นการรับฟังฟีดแบ็กจากพนักงานเพื่อนำไปปรับปรุงองค์กร แต่สิ่งที่ต่างกันคือ Exit Interview เป็นการสัมภาษณ์ความคิดเห็นของพนักงานที่แจ้งลาออกกับทางบริษัทแล้ว ส่วน Stay Interview เป็นการสัมภาษณ์พนักงานที่ยังทำงานให้กับองค์กรอยู่ ถือเป็นการเปิดโอกาสให้พนักงานได้ฟีดแบ็กสิ่งที่ชอบและไม่ชอบออกมา ถ้าองค์กรรอเก็บฟีดแบ็กจากการทำ Exit Interview เพียงอย่างเดียว กว่าจะได้รู้ว่าพนักงานไม่พอใจบริษัทตรงไหนก็แก้ไขอะไรไม่ทันแล้ว เพราะพนักงานทำเรื่องลาออกไปแล้วนั่นเอง ดังนั้นการทำ Stay Interview จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยในการรักษาพนักงาน ทำให้องค์กรรับรู้ว่าพนักงานคิดเห็นยังไง และสามารถนำฟีดแบ็กไปพัฒนาองค์กรให้ตอบโจทย์กับความต้องการของพนักงานปัจจุบัน

 

แก้ปัญหาพนักงานลาออกให้ถูกจุดด้วยเคล็ดไม่ลับการทำ Exit Interview

 

ทำไมองค์กรถึงควรทำ Stay Interview?

  • ช่วยให้องค์กรมองเห็นภาพรวมและปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นในบริษัท

การทำ Stay Interview จะช่วยให้องค์กรได้เรียนรู้และทำความเข้าใจว่าพนักงานแต่ละคนคิดยังไงกับองค์กร มีอะไรบ้างที่พนักงานไม่พอใจหรือมองว่าเป็นปัญหา เช่น สวัสดิการไม่ครอบคลุม วัฒนธรรมองค์กรไม่ตอบโจทย์กับไลฟ์สไตล์ รวมถึงเทรนด์ในการทำงานของพนักงานทั้งหมดมีทิศทางเป็นยังไง รู้สึกแฮปปี้กับการทำงานที่นี่ไหม

 

  • ช่วยเพิ่มความพึงพอใจในการทำงานให้กับพนักงาน

เมื่อรับรู้แล้วว่าพนักงานชอบและไม่ชอบอะไรในบริษัท องค์กรก็จะได้วางแผนแก้ไขปัญหาให้ตรงจุด รวมถึงนำฟีดแบ็กที่ได้ไปดีไซน์สภาพแวดล้อม วัฒนธรรม และวิธีการทำงานเพื่อเพิ่มความพึงพอใจให้กับพนักงานมากขึ้น

 

  • ช่วยลด Turnover Rate หรืออัตราการลาออกของพนักงาน

Stay Interview เป็นการรับฟังฟีดแบ็กจากพนักงานที่ยังทำงานให้กับองค์กรอยู่ ดังนั้นองค์กรจึงมีเวลาในการนำฟีดแบ็กที่ได้ไปปรับปรุง สร้างองค์กรให้เป็นที่ที่พนักงานสามารถทำงานได้อย่างมีความสุข เมื่อพนักงานรู้สึกแฮปปี้กับการทำงานก็ย่อมอยากอยู่กับองค์กรของเราต่อไปอีกนาน ๆ

 

  • ช่วยสร้างความเชื่อมั่นระหว่างองค์กรกับพนักงาน

การทำ Stay Interview เป็นการแสดงออกให้พนักงานเห็นว่าองค์กรใส่ใจกับความรู้สึกของพนักงาน รวมถึงให้ค่ากับทุกฟีดแบ็กที่ได้รับ เมื่อพนักงานรู้สึกว่าเสียงของตัวเองมีความหมาย ก็จะรู้สึกเชื่อมั่นในองค์กรมากขึ้น แต่องค์กรก็ต้องไม่ลืมว่าการทำ Stay Interview อาจทำให้พนักงานสูญเสียความเชื่อมั่นที่มีต่อองค์กรได้ด้วยเหมือนกันถ้าเรารับฟีดแบ็กไปแล้วแต่ไม่นำไปปรับปรุง ดังนั้นสิ่งสำคัญคือองค์กรต้องนำฟีดแบ็กที่ได้ไปใช้พัฒนาองค์กรอย่างจริงจังด้วย

 

  • ช่วยเชื่อมพนักงานกับองค์กรไว้ด้วยกัน

ในยุค Hybrid Working หรือ Remote Working ที่พนักงานไม่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวันหรือสามารถทำงานทางไกลได้ บางองค์กรอาจประสบปัญหาเรื่องการสื่อสารเนื่องจากโอกาสในการพูดคุยกันลดน้อยลง ยิ่งถ้าองค์กรไหนไม่มีเซสชันให้พนักงานได้แชร์ความคิดเห็นหรือฟีดแบ็กสิ่งที่รู้สึกเกี่ยวกับการทำงาน ความสัมพันธ์ก็ยิ่งห่างเหินออกไปอีก ดังนั้นการทำ Stay Interview จึงเป็นเหมือนการเชื่อมพนักงานเข้าไว้กับองค์กร เปิดโอกาสให้ได้พูดคุยกันอย่างตรงไปตรงมา

 

Stay Interview

 

แม้การทำ Stay Interview อาจจะมีบางประเด็นที่ดูซ้ำซ้อนกับการทำ Exit Interview เพราะเป็นการเก็บฟีดแบ็กพนักงานเกี่ยวกับความรู้สึกที่มีต่อองค์กรเหมือนกัน แต่การทำ Stay Interview จะช่วยให้เราได้รับรู้มุมมองและความคิดเห็นของพนักงานในองค์กรทุกคนจริง ๆ ไม่ใช่แค่มุมมองของพนักงานบางส่วนที่ตัดสินใจลาออกเท่านั้น ทำให้เราไม่ตกหล่นฟีดแบ็กของใครไปและสามารถนำฟีดแบ็กที่ได้ไปปรับปรุงพัฒนาองค์กรให้ตอบโจทย์กับคนทั้งหมด สุดท้ายแล้วถ้าการทำ Stay Interview ของเรามีประสิทธิภาพ จำนวนการทำ Exit Interview ก็จะลดน้อยลง เพราะพนักงานมีความสุขกับการอยู่ในองค์กรและเลือกอยู่กับเราต่อนั่นเอง

 

ถ้าองค์กรจะทำ Stay Interview มีอะไรที่ต้องรู้ก่อนบ้าง?

ทำยังไงให้การสัมภาษณ์ออกมามีประสิทธิภาพ? ตามไปอ่านกันได้ในบทความนี้!

สมัครสมาชิกกับ JobThai ได้ Candidate ที่ใช่ง่าย ๆ คลิกเลย

 

JobThai Official Group เพื่อการหางาน หาคน และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงาน

 

ที่มา:

betterup.combuiltin.comindeed.comshrm.orgbamboohr.comcultureamp.comkrungsri.comthehumancapitalhub.comyoutu.be

tags : hr, human resource, hr advice, งาน, คนทำงาน, ดูแลพนักงาน, รักษาพนักงาน, ลาออก, turnover, stay interview, ฝ่ายบุคคล, บริหารคน, บริหารองค์กร, วัฒนธรรมองค์กร, สัมภาษณ์, employee engagement, employee retention, exit interview



ติดตามข่าวสารและเรื่องราวดีๆ ทาง Email

ขอบคุณสำหรับการติดตาม