เทคนิคการสัมภาษณ์แบบไม่ซ้ำใคร ที่จะทำให้บริษัทเข้าใจผู้สมัครงานได้มากขึ้น

05/10/20   |   28.4k   |  

 

  • สร้างสถานการณ์ให้เกิดความผิดพลาดระหว่างการสัมภาษณ์งาน เพื่อดูว่าผู้สมัครจะมีปฏิกิริยาแบบไหน รับมือกับปัญหานั้นได้ไหม และจัดการแก้ปัญหานั้นอย่างไร ซึ่งจะแสดงให้ผู้สัมภาษณ์เห็นถึงมุมอื่น ๆ นอกเหนือจากทักษะและความสามารถในการทำงาน
  • ถ้าผู้สมัครไม่สนใจหรือสังเกตเห็นความผิดพลาดที่เกิดขึ้น แสดงว่าเขาเป็นคนที่ไม่ละเอียดรอบคอบหรือไม่พยายามที่จะแก้ไขปัญหา แต่ก็ต้องไม่ทำให้ความผิดพลาดเล็ก ๆ น้อย ๆ กลายเป็นเรื่องใหญ่เช่นกัน
  • ปฏิกิริยาที่ผู้สมัครแสดงต่อคนที่ทำให้เกิดความผิดพลาดจะทำให้เห็นว่าเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นเขาจะแก้ไขปัญหาและตักเตือนอย่างมีความเป็นมืออาชีพ หรือจะเอาแต่โทษพวกเขาโดยไม่ฟังเหตุผล

 

 

JobThai Platform แพลตฟอร์มที่จะทำให้การหาผู้สมัครที่ใช่ กลายเป็นเรื่อง “ง่าย”

 

HR หรือคนเป็นหัวหน้าหลายคนล้วนต้องเคยผ่าน “การสัมภาษณ์ผู้สมัครงาน” กันมาแล้วไม่มากก็น้อย แม้ขั้นตอนการสัมภาษณ์จะไม่สามารถการันตีได้ 100% ว่าเราจะได้ผู้สมัครที่ดีพร้อม มีทักษะ ความสามารถครบถ้วน แต่ก็เป็นขั้นตอนสำคัญที่ช่วยให้เราเห็นทัศนคติและพฤติกรรมต่าง ๆ ระหว่างการพูดคุยได้ ซึ่งถ้าเป็นเหตุการณ์สัมภาษณ์ปกติ ผู้สมัครก็มักจะเตรียมตัวมาได้ดีในระดับหนึ่งเพราะสามารถคาดเดาได้ว่าจะถูกถามอะไรและควรตอบไปในทิศทางไหน

 

Charles Schwab บริษัทสัญชาติอเมริกันที่ให้บริการด้านการลงทุน มีแนวคิดและวิธีสัมภาษณ์งานที่ไม่เหมือนใครอยู่ และ JobThai ก็ได้รวบรวมคำถามน่าสนใจมาแบ่งปันคนเป็นหัวหน้าและคนที่ทำงานสาย HR ไว้ในบทความนี้แล้ว

 

นอกจากนี้ยังมีอีกหลายวิธีที่จะทำให้รู้จักตัวตนของผู้สมัครได้ง่ายขึ้น

วิเคราะห์ผู้สมัครได้แม่นยำขึ้น เทคนิคสัมภาษณ์งานที่ HR ควรรู้

 

Walt Bettinger – CEO ของ Charles Schwab มักจะให้ผู้สมัครเล่าให้ฟังว่า “ความสำเร็จสูงสุดในชีวิต” หรือ “ความล้มเหลวที่ต่ำสุดในชีวิต” คืออะไร เพื่อจะดูว่าคำตอบของผู้สมัครจะออกมาในทิศทางไหนไหน จะโทษปัจจัยจากคนรอบข้าง ใช้ความคิดตัวเองเป็นหลัก หรือคิดว่าตัวเองผิดพลาดเองไหม ซึ่งคำตอบพวกนี้จะช่วยให้เข้าใจทัศนคติของผู้สมัครมากขึ้น

 

สัมภาษณ์งาน ไม่ได้มีแค่การตอบคำถาม

การตอบคำถามสัมภาษณ์งานธรรมดาอาจทำให้เราได้ทำความรู้จักกับผู้สมัครบ้าง แต่ก็ยังไม่ใช่ตัวตนทั้งหมดของเขา ทำให้ Walt Bettinger ได้ใช้วิธีที่จะทำให้มองเห็นตัวตนผู้สัมภาษณ์ในแบบฉบับของเขาเอง ด้วยการนัดผู้สัมภาษณ์งานไปที่ร้านอาหาร ซึ่งในวันนัดเขาจะรีบไปที่ร้านแล้วแอบกระซิบกับผู้จัดการร้านว่าให้ “แกล้งเสิร์ฟอาหารผิดเมนู” ให้กับผู้สมัคร

 

ซึ่งเหตุผลของการทำอย่างนี้เพราะเขาอยากดูปฏิกิริยาว่าผู้สมัครจะมีรีแอคชันหรือจัดการกับปัญหานั้นอย่างไร จะหัวเสียไหม หรือว่าจะเข้าใจสถานการณ์แล้วค่อย ๆ หาวิธีจัดการปัญหา การทดสอบของ Walt Bettinger นี้ จะช่วยให้เราได้เห็นมุมอื่นที่นอกเหนือจากทักษะและความสามารถในการทำงานนั่นเอง

 

วัดผลจากการปฏิบัติต่อคนอื่น

วิธีสังเกตผู้สมัครขั้นแรกของ Walt Bettinger คือ 

  • หากพนักงานเสิร์ฟอาหารผิดแต่ผู้สมัครไม่ทักท้วงหรือสอบถามอะไรเลย ก็อาจพอบอกได้ว่าผู้สมัครคนนี้ไม่ละเอียดรอบคอบ หรือไม่พยายามจะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น

  • ถ้าการเสิร์ฟอาหารผิดทำให้ผู้สมัครแสดงออกด้วยการตำหนิพนักงานแบบไม่ดี แทนที่จะพูดอย่างสุภาพว่าไม่ได้สั่งเมนูนี้หรือขอเปลี่ยนเมนู ก็แสดงว่าผู้สมัครของเรามองข้ามวิธีการแก้ปัญหาที่ดีไป

 

9 สัญญาณที่กำลังบอกว่าผู้สมัครคนนี้อาจไม่ใช่คนที่ควรรับเข้าทำงาน

 

Walt Bettinger สรุปว่าทุกคนต่างเคยผิดพลาดไม่ว่าจะเป็นเรื่องต่าง ๆ ในชีวิตหรือในการทำงานกันทั้งนั้น แต่สิ่งสำคัญที่สุดก็คือเราจะแก้ไขข้อผิดพลาดของตัวเองอย่างไร รวมถึงวิธีที่เราปฏิบัติต่อคนอื่น ๆ ก็จะทำให้เห็นว่าเราจะทำอย่างไรเมื่อคนในทีมทำผิดพลาด เราจะแสดงออกอย่างเคารพ ตักเตือนอย่างมีความเป็นมืออาชีพ หรือเราจะหลับตาโทษโดยไม่ฟังเหตุผลอะไรเลย ทัศนคติส่วนบุคคลนี้เองคือสิ่งสำคัญที่ CEO แต่ละองค์กรมักจะพิจารณาก่อนรับคนเข้ามาทำงาน

 

4 วิธีทำให้ผู้สมัครรู้สึกผ่อนคลายขณะสัมภาษณ์งาน

 

สมัครสมาชิกกับ JobThai ได้ Candidate ที่ใช่ง่าย ๆ คลิกเลย

 

 
JobThai Official Group เพื่อการหางาน หาคน และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงาน
Public group · 42,947 members
Join Group
 

tags : hr, recruitment, งาน, สมัครงาน, สัมภาษณ์งาน, ทรัพยากรบุคคล, human resource, job interview



ติดตามข่าวสารและเรื่องราวดีๆ ทาง Email

ขอบคุณสำหรับการติดตาม