-
มีโพสต์ที่เสี่ยงผิดกฎหมาย อย่างเช่นการแชร์โพสต์ คาสิโนออนไลน์, เว็บพนัน หรือสิ่งเสพติด
-
ปาร์ตี้จนหลุดโลก สนุกจนเอามาตั้งเป็นรูปโปรไฟล์เพื่อแสดงความเป็นตัวตน ซึ่งไม่เหมาะสม
-
ใช้ภาษาที่ผิดเพี้ยน ภาษาวิบัติ หรือคำพูดที่ไม่สมควร และหยาบคาบในโลกออนไลน์
-
โซเชียลมีเดียถูกทิ้งร้าง ทำให้บางครั้งบริษัทก็เลือกที่จะไม่เสี่ยงจ้างเราเนื่องจากมีข้อมูลไม่เพียงพอนั่นเอง
-
แสดงออกถึงเรื่องทางเพศ ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อนเรื่องแรกที่เราต้องระวังให้มากเกี่ยวกับการแสดงออกต่อสาธารณะ
-
บ่นหัวหน้า เพราะสิ่งเหล่านี้สามารถแสดงถึงวุฒิภาวะและทัศนคติของเราได้เป็นอย่างดี
-
วิจารณ์ที่ทำงานเก่าด้วยอารมณ์ นอกจากจะไม่เกิดผลดีอะไรแล้ว ยังทำให้ภาพลักษณ์ของเราติดลบไปด้วย
-
เอาความลับบริษัทมาเปิดเผยนอกจากจะทำให้บริษัทเสียประโยชน์แล้ว เราจะกลายเป็นคนที่โดนหมายหัวจากบริษัทแน่นอน
-
ระวังการแสดงความคิดเห็นด้วยอารมณ์เพราะการโพสต์อะไรลงไปหนึ่งอย่างย่อมมีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
|
|
หางานง่าย ได้งานที่ใช่ ใช้ JobThai Mobile Application โหลดเลย!
|
|
หลายธุรกิจเริ่มปรับตัวมาใช้ช่องทาง Social Media ในการโปรโมตสินค้าหรือบริการของตน ซึ่งเป็นเหมือนหน้าตาขององค์กร และเป็นตัวบ่งบอกวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดีทีเดียว สำหรับคนทำงานอย่างเรา Social Media ก็เป็นเหมือนสิ่งที่สะท้อนตัวตนของเราเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความชอบ ทัศนคติ ความคิด ไลฟ์สไตล์ และรสนิยม ซึ่งถ้าดีก็จะเป็นแต้มต่อที่บริษัทจะให้คะแนนเรามากขึ้น แต่ถ้าไม่ดีล่ะ ถ้าหน้าฟีดมีแต่ด่าทอ การพนัน รูปภาพที่ไม่เหมาะสม เราก็คงถูกตัดคะแนนไปไม่น้อย
เหตุผลหลักข้อหนึ่งที่ทำให้ HR และหัวหน้าสมัยใหม่ มักจะขอชื่อบัญชี Social Media ของเรา เพราะอยากทำความรู้จักเราให้มากขึ้นจากตัวตนที่แสดงออกบนโลกออนไลน์ JobThai จึงอยากชวนคนทำงานมานั่งทบทวนไปพร้อมกันว่า Social Media ของเราเข้าเกณฑ์ข้อไหนหรือไม่ ถ้าใช่จะได้แก้ไขและป้องกันได้ทัน
1. มีโพสต์ที่เสี่ยงผิดกฎหมาย
ปัจจุบันมี “คาสิโนออนไลน์” มากมายใน Social Media ของพวกเรา ที่ต่างชักชวน เชิญชวน ให้เราไปกดเล่น กดแชร์มาที่หน้าฟีด ซึ่งไม่ใช่เรื่องดีแน่ ๆ หากบริษัทมาเห็นเข้า แม้การหารายได้เสริมเป็นเรื่องทีดีแต่ก็ต้องเป็นการหารายได้เสริมแบบถูกกฎหมายด้วยเช่นกัน
2. ปาร์ตี้จนหลุดโลก
การดื่มสังสรรค์หรือปาร์ตี้สุดเหวี่ยงในช่วงวันหยุดยาวไม่ใช่เรื่องผิดอะไร แต่หากสนุกกับมันเกินไปจนเอามาตั้งเป็นรูปโปรไฟล์เพื่อแสดงความเป็นตัวตน ตัวตนนั้นก็อาจไม่เหมาะกับการสมัครงานก็ได้ โดยเฉพาะในตำแหน่งที่ต้องใช้ภาพลักษณ์ความน่าเชื่อถือ และแน่นอนว่าเรซูเม่ของเราก็ต้องถูกเทรวมในกองคัดทิ้ง
3. ใช้ภาษาและคำพูดในโลกออนไลน์
การใช้ภาษาที่ผิดเพี้ยน ภาษาวิบัติ หรือคำพูดที่ไม่สมควร เป็นเหตุผลสำคัญที่บริษัทจะคัดเราออกอย่างรวดเร็ว เพราะการใช้ภาษาที่ไม่ถูกต้องหรือการแชทแบบหยาบคายในโลกออนไลน์จนเกินไป อาจทำให้บางบริษัทเห็นแล้วรู้สึกไม่สบายใจและไม่อยากรับเข้าทำงาน
4. โซเชียลมีเดียถูกทิ้งร้าง
การไม่ค่อยเล่น Social Media นั้นไม่ใช่เรื่องที่ผิดเลยเพราะเป็นเรื่องของความชอบส่วนบุคคลอยู่แล้ว แต่สิ่งนี้เองอาจกลายเป็นอีกจุดด้อยทันทีที่มีคนจากองค์กรเข้าไปดู โดยเฉพาะคนที่ต้องทำงานเกี่ยวกับสายเทคโนโลยี หรือเกี่ยวข้องกับ Social Media เพราะถ้าเราไม่มีปฏิสัมพันธ์กับใครเลย หรือไม่สนใจอัปเดตทั้งที่เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของเรา บางครั้งบริษัทก็เลือกที่จะไม่เสี่ยงจ้างเราเนื่องจากมีข้อมูลไม่เพียงพอ หรือไม่แน่ใจว่าเราจะมีทักษะในการใช้ Social Media มากแค่ไหน
5. แสดงออกถึงเรื่องทางเพศ
เรื่องทางเพศถือว่าเป็นเรื่องปกติและขึ้นอยู่กับรสนิยมของมนุษย์ทั่วไป แต่ประเด็นนี้ก็เป็นเรื่องละเอียดอ่อนเรื่องแรกที่เราต้องระวังให้มากเกี่ยวกับการแสดงออกต่อสาธารณะ ทางที่ดีไปแสดงในที่ลับตาจะดีกว่า
6. บ่นหัวหน้า
เรื่องปกติที่มนุษย์ทุกคนมักมีแง่ลบหรือด้านที่เราไม่ชอบอยู่ แต่เป็นเรื่องดีแล้วเหรอที่จะนำมาโพสต์บน Social Media เพราะสิ่งเหล่านี้สามารถแสดงถึงวุฒิภาวะและทัศนคติของเราได้เป็นอย่างดีเลย อาจจะสะใจที่ได้ระบายเพียงชั่วคราว แต่ต้องไม่ลืมว่าทุกอย่างถูกบันทึกไว้หมด
7. วิจารณ์ที่ทำงานเก่า
แม้จะเป็นเรื่องที่ผ่านมาแล้ว แต่การเอาที่ทำงานเก่ามาพูดถึงในแง่เสีย ๆ หาย ๆ ด้วยอารมณ์ ก็ไม่ควรเกิดขึ้นในโลกออนไลน์ เพราะนอกจากจะไม่เกิดผลดีอะไรแล้ว ยังทำให้ภาพลักษณ์ของเราติดลบไปด้วย ลองคิดถึงคน ๆ หนึ่งที่กำลังจีบกันอยู่และในขณะเดียวกันเขาก็กำลังพูดถึงแฟนเก่าแบบไม่ดีดูสิ อาจทำให้เรามองเห็นภาพได้ชัดขึ้น
8. เอาความลับบริษัทมาเปิดเผย
วลีอมตะที่ว่า “ความในอย่านำออก” ยังใช้ได้ดีอยู่เสมอ ทั้งการเอามาพูดกันในชีวิตจริงและรวมถึงโลกโซเชียลด้วย เพราะการเอาข้อมูลของบริษัทมาเปิดเผยในที่สาธารณะนอกจากจะทำให้บริษัทเสียประโยชน์แล้ว เราจะกลายเป็นคนที่โดยหมายหัวจากบริษัทแน่นอน
9. แสดงความคิดเห็นด้วยอารมณ์มากเกินไป
การแสดงความคิดเห็นเกิดขึ้นประจำบนโลกโซเชียล การโพสต์อะไรลงไปหนึ่งอย่างย่อมมีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะแฟนเพจหรือบุคคลสาธารณะ สิ่งที่เราต้องระวังคือการแสดงความคิดเห็นที่มีขอบเขต ไม่ใช้อารมณ์มากเกินไป และต้องไม่เป็นที่รังเกียจต่อสังคมโดยรวมด้วย
แม้หลายคนจะมีความเห็นว่า Social Media นั้นเป็นพื้นที่ส่วนตัวที่ไม่อยากให้ใครมายุ่ง และถึง Social Media จะเป็นของส่วนตัวของเราจะเป็นเรื่องจริง แต่เมื่อองค์กรอยากจะรับเราเข้าทำงานอีกปัจจัยที่ต้องพิจารณาก็คือเราจะสามารถเข้ากับคนในองค์กรได้ไหมและคนในองค์กรจะเข้ากับเราได้ไหม ซึ่งสุดท้ายนี้ก็เป็นสิทธิของเราที่จะไม่ให้องค์กรดู แต่ก็เป็นสิทธิขององค์กรเช่นกันที่จะไม่รับเรา
|
|
JobThai Official Group เพื่อการหางาน หาคน และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงาน |
Public group · 23,411 members |
|
|
|