4 วิธีรับมือเมื่อถูกคนที่ทำงาน Bully

19/02/21   |   41k   |  

 

  • ใช้ความสงบและพยายามคิดหาวิธีแก้ไขอย่างเป็นเหตุเป็นผล
  • ขอความช่วยเหลือจากคนรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนที่ทำงานหรือคนในครอบครัวและอย่ารู้สึกว่าตัวเองต้องต่อสู้อย่างโดดเดี่ยว
  • พูดออกไปตรง ๆ จะทำให้คนที่ชอบแกล้งรู้สึกว่าทำอะไรเราไม่ได้
  • ให้ HR ยื่นมือเข้ามาช่วย ด้วยการบอกรายละเอียดต่าง ๆ ที่เราโดนกลั่นแกล้งกับเขา

 

 

 

JobThai Mobile Application สมัครงานง่าย ได้งานเร็ว

iOS

Android

Huawei AppGallery

 

การถูกบูลลี่ (Bully) หรือการกลั่นแกล้งในที่ทำงานเกิดขึ้นได้เสมอ มันจะมาในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจากเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้า ทำให้หลายคนยอมที่จะลาออกจากงานประจำเพราะทนทำต่อไปไม่ได้ มีผลสำรวจของ Workplace Bullying Institute บอกว่า คนทำงานกว่า 40% ที่ถูกกลั่นแกล้งเกิดปัญหาสุขภาพจากความเครียด และ 39% ในจำนวนนี้เกิดเป็นโรคซึมเศร้า ไม่ว่าการบูลลี่จะมาจากความสนุก หรือคึกคะนอง เมื่อเกิดขึ้นแล้วผลเสียย่อมตามมา และบางครั้งก็ส่งผลต่อบริษัทเลยด้วยซ้ำ ดังนั้น JobThai รวบรวมรูปแบบการบูลลี่ในแบบต่าง ๆ พร้อมทั้งวิธีรับมือมาฝาก

รูปแบบการ Bully ที่มักเจอในที่ทำงาน

 

แกล้งแบบไม่สนใคร

คนกลุ่มนี้จะโจมตีเราด้วยวาจาต่อหน้า ปกติแล้วคนกลุ่มนี้มักจะมีตำแหน่งและอำนาจสูงกว่า อายุมากกว่า หรือทำงานมานานกว่าก็ได้เช่นกัน พวกเขาจะไม่สนใจว่าใครจะมองในแง่ลบ ขอแค่ทำอะไรก็ได้ให้เรารู้สึกกดดันและอับอายต่อหน้าคนอื่น ปกติแล้วคนกลุ่มนี้มักจะมีอำนาจในที่ทำงาน

 

แกล้งเพื่อผลประโยชน์ตัวเอง

คนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่แล้วมักจะทำงานในบริษัทมานาน ต้องการความสำเร็จและตำแหน่งที่ก้าวหน้า แต่ก็มักจะทำให้คนอื่นเจ็บตัวหรือแพ้ไปจากการแข่งขัน การกลั่นแกล้งรูปแบบนี้ยังรวมถึง Cyberbullying ที่เป็นการคุกคามในโลกออนไลน์ด้วย

 

หวังดี ประสงค์ร้าย

คนกลุ่มนี้มักชอบพูดว่า “แค่ทำตามที่บอกก็พอ” บางครั้งก็หัวหน้าของเรานี่แหละ ที่อยากจะกีดกันลูกน้องที่ทำงานได้ดีจนเกินหน้าเกินตาตัวเอง เวลาที่เกิดปัญหาขึ้นก็มักจะข่มขวัญ ขู่ให้กลัว มากกว่าจะที่แก้ไขปัญหาร่วมกัน

 

นินทาลับหลัง

เป็นพวกมาพร้อมกับการกลั่นแกล้งที่อันตรายและเจ็บแสบที่สุด เผิน ๆ อาจดูว่าคนประเภทนี้ไม่มีพิษมีภัยอะไร แต่จริง ๆ แล้วคนที่ชอบพูดลับหลังไม่ว่าจะเป็นพูดเรื่องเท็จ ใส่ร้าย หรือพูดเรื่องเสีย ๆ หาย ๆ นั้นกระทบกับเราโดยตรง ซึ่งกว่าที่จะรู้ตัวก็อาจส่งผลต่อหน้าที่การงานแล้วนั่นเอง

 

4 วิธีสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน

 

วิธีรับมือเมื่อเจอการ Bully

 

นิ่งสยบศัตรู

ธรรมชาติของคนที่ชอบกลั่นแกล้งคนอื่นคือ พวกเขาจะมีความสุขเมื่อเห็นคนอื่นหวาดกลัว เสียขวัญ แต่ถ้าเราสงบสติอารมณ์ หายใจให้ลึก คิดหาวิธีแก้ไขอย่างเป็นเหตุเป็นผล แล้วใช้ความนิ่งเข้าสู้ คนที่ชอบ Bully ก็จะรู้สึกว่าเขาทำอะไรเราไม่ได้อย่างที่หวัง

 

ไม่กลัวและกล้าเผชิญหน้า

คนถูกบูลลี่ส่วนใหญ่จะเป็นคนขี้อาย พอโดนแกล้งก็ไม่กล้าฮือกล้าอืออะไร ดังนั้นเราจึงควรเปลี่ยนจากเคยขี้อาย ให้กล้าเผชิญหน้ากับคนที่กลั่นแกล้งเราไปเลยตรง ๆ ไล่เรียงให้คนที่แกล้งเราฟังเลยว่าสิ่งที่พวกเขาทำคืออย่างนี้ และเรารู้สึกไม่โอเคกับมันอย่างมาก อย่างเช่นถ้ารู้ว่าถูกนินทา ก็บอกเขาไปว่าอย่าทำแบบนี้อีก ถ้ามีอะไรก็มาคุยกันตรง ๆ ก็ได้

หาเพื่อนร่วมชะตากรรม

ไม่ต้องรู้สึกโดดเดี่ยวถ้าเราเป็นคนถูกแกล้ง เพราะในที่ทำงานมักจะมีคนที่โดนแกล้งเหมือนเรา ควรจะหาเพื่อนร่วมชะตากรรมให้เจอ ซึ่งอาจจะเป็นเพื่อนที่โดนแกล้งเหมือนกัน หรือเป็นพยานในเหตุการณ์ก็ได้ นอกจากจะช่วยเป็นพยานในการร้องเรียนแล้ว เพื่อนร่วมชะตากรรมนี้อาจจะช่วยรับฟังและบรรเทาความทุกข์ของเราไปได้ หรืออาจจะลองคุยกับเพื่อนร่วมงานที่สนิท หัวหน้า และครอบครัวดู ก็เป็นการได้ระบายหรือขอแนวทางแก้ปัญหาจากคนอื่นซึ่งช่วยลดความเครียดลงได้เช่นกัน

 

ขอความช่วยเหลือจาก HR

ลองขอความช่วยเหลือจากคนที่เกี่ยวข้องโดยตรงก็คือฝ่ายบุคคล หรือ HR ด้วยการบอกชื่อ วิธีการและเวลาที่เขามากลั่นแกล้งให้กับ HR ที่สำคัญคืออย่าบิดเบือนสถานการณ์หรือใส่ความคิดเห็นของเราลงไป ไม่ว่าจะเป็นเราเองที่โดนแกล้งหรือเป็นเพื่อนที่โดน วิธีการนี้มักจะได้ผลดี เพราะจะเกิดกระบวนการตรวจสอบที่เป็นขั้นเป็นตอนจากคนกลาง

 

แม้ว่าการบูลลี่กันในที่ทำงานจะดูเหมือนเป็นเรื่องระหว่างคนสองคน ที่คนหนึ่งเป็นคนกระทำ ส่วนอีกคนหนึ่งโดนกระทำ แต่จริง ๆ แล้วปัญหานี้ส่งผลกระทบต่อคนทำงานออฟฟิศทั้งเรื่องความสัมพันธ์ สุขภาพจิต และรวมถึงสุขภาพกายด้วย ดังนั้นสิ่งสำคัญที่ห้ามลืมเลย คือ นอกจากระวังตัวเองไม่ให้ถูกบูลลี่แล้ว เราต้องการหมั่นสำรวจตัวเองอยู่เสมอว่าจะไม่กลายเป็นฝ่ายไปกระทำคนอื่นซะเองด้วย

 

6 เคล็ดลับสร้างการยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน สำหรับพนักงานอายุน้อย

 

ฝากประวัติเพื่อหางานที่ใช่ได้ ที่นี่

ติดตาม Career Talk Podcast ได้ที่

Spotify

Soundcloud

Apple Podcasts

Google Podcasts

Anchor

 

 
JobThai Official Group
Public group · 300,000 members
Join Group
 

 

บทความเดิมได้ถูกเผยแพร่ในวันที่ 12 ธันวาคม 2018 และได้รับการอัปเดตโดยทีมงาน JobThai

 

ที่มา :

thebalancecareers.com

fastcompany.com

psychologytoday.com

tags : career&tips, jobthai, คนทำงาน, เคล็ดลับการทำงาน, แนวคิดในการทำงาน, ความสุขในการทำงาน, ทำงานให้มีความสุข, ทำงานอย่างมีความสุข



ติดตามข่าวสารและเรื่องราวดีๆ ทาง Email

ขอบคุณสำหรับการติดตาม