- มีสวัสดิการเพิ่มเติมนอกเหนือจากสวัสดิการพื้นฐาน เช่น สร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี เลี้ยงอาหาร หรือให้บัตรกำนัลต่าง ๆ รวมถึงถามเรื่องเป้าหมายในอาชีพของพวกเขา แล้วสนับสนุนให้พวกเขาไปถึงเป้าหมายอย่างเต็มที่
- เวลาจะหาพนักงานใหม่เข้ามาในทีม อย่าลืมใส่ใจในการเลือกคนด้วย ว่านอกจากความสามารถแล้ว เขามีนิสัยหรือทัศนคติที่เข้ากับทีมได้หรือไม่
- รับฟังปัญหาต่าง ๆ หรือพูดคุยกับพนักงานในเรื่องที่นอกเหนือจากงาน และให้ความเป็นกันเองกับพนักงานบ้าง เพื่อลดช่องว่างระหว่างกัน และแสดงให้เห็นว่าคุณให้ความสำคัญกับพวกเขา
- เปิดโอกาสให้พนักงานได้แสดงความคิดใหม่ ๆ และให้เขาได้ทำงานด้วยวิธีที่พวกเขาคิดว่ามันดีที่สุด โดยมีหัวหน้าเป็นโค้ช คอยช่วยแนะนำ สนับสนุน รวมถึงช่วยแก้ปัญหา ปกป้อง และให้ความเป็นธรรมกับพวกเขาเมื่อมีปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้น
- ระวังอย่ามอบหมายงานที่อาจทำให้พนักงานต้องแบกรับความกดดันมากเกินไป เพราะอาจนำไปสู่ปัญหาต่าง ๆ ได้
|
|
JobThai Mobile Application สมัครงานง่าย ได้งานเร็ว
|
|
การทำให้ตัวเองเป็นหัวหน้าที่น้อง ๆ ในทีมรัก และสามารถดึงศักยภาพในตัวแต่ละคนออกมาได้ไม่ใช่เรื่องง่าย สิ่งสำคัญก็คือองค์กรและคนที่เป็นหัวหน้าต้องดูแลและสนับสนุนพนักงานอย่างเต็มที่และจริงใจ ใส่ใจในสิ่งที่จะทำให้พวกเขามีความสุข เนื่องจากสิ่งเหล่านี้จะส่งผลให้พนักงานมีความกระตือรือร้นในการทำงาน และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งวิธีที่จะแสดงให้พนักงานเห็นถึงความใส่ใจของคนเป็นหัวหน้ามีอะไรบ้างนั้น วันนี้ JobThai มีคำแนะนำมาฝาก
1. ให้สวัสดิการที่พิเศษกว่าปกติ
นอกเหนือจากค่าจ้างหรือสวัสดิการขั้นพื้นฐานแล้ว ลองสังเกตพวกเขาในเวลาทำงานดูว่าต้องการอะไรเพิ่มไหมที่จะทำให้พวกเขารู้สึกทำงานสบายขึ้น นอกจากนี้คุณควรถามถึงเป้าหมายในอาชีพของเขา และดูว่าคุณพอจะช่วยอะไรเขาได้บ้าง และหากองค์กรมีงบประมาณเพียงพอการให้รางวัลตอบแทนพนักงาน อาทิ บัตรกำนัลต่าง ๆ เลี้ยงอาหาร และจัดทริปท่องเที่ยวในวันหยุดตามความเหมาะสมก็เป็นเรื่องที่ทำได้เช่นเดียวกัน
2. จ้างคนที่เข้ากับทีมได้
การจ้างคนที่เข้ากับทีมได้เป็นสิ่งสำคัญ เพราะมันแสดงให้พนักงานเห็นว่าคุณใส่ใจในการคัดเลือกบุคลากรเข้าทำงานร่วมกันเพื่อเป็นการสร้างทีมอย่างแท้จริง โดยวิธีการง่าย ๆ ที่จะช่วยให้คุณคัดกรองผู้สมัครนอกจากความสามารถ คือดูจากการที่เป็นคนยิ้มง่าย พูดคุยอย่างอ้อนน้อมถ่อมตน และมีความจริงใจที่จะดูแลเพื่อนร่วมงาน รวมไปถึงเห็นความสำคัญของลูกค้าด้วย
3. แสดงความเป็นกันเอง
แสดงความเอาใจใส่พนักงานด้วยการชวนพวกเขาพูดคุยในเรื่องต่าง ๆ ที่นอกเหนือจากการทำงาน รับฟังเรื่องราวความสนใจอื่น ๆ ของพวกเขาอย่างจริงใจ และให้ความเป็นกันเองบ้างเพื่อลดช่องว่างระหว่างกัน นอกจากนี้ยังต้องรับฟังปัญหาหรือสิ่งที่พนักงานอยากให้ปรับปรุงแก้ไข เพื่อยืนยันว่าคุณเห็นความสำคัญ และมุ่งมั่นที่จะดูแลอย่างแท้จริง
4. ให้พนักงานเป็นเจ้านายตัวเอง
ไม่แสดงออกว่าคุณอยู่เหนือกว่า หรือทำให้พนักงานรู้สึกต่ำต้อย คุณควรที่จะเป็นโค้ชช่วยชี้ทางมากกว่าการวางตัวเป็นเจ้านาย มอบอิสระมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เปิดโอกาสให้พนักงานได้แสดงออกถึงแนวคิดใหม่ ๆ และทำงานให้สำเร็จตามวิธีของพวกเขา ไม่ใช่ตามใจคุณ หรือทำในสิ่งที่คุณต้องการเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ยังต้องยอมรับว่าแต่ละบุคคลมีจุดมุ่งหมายที่ไม่เหมือนกัน รวมถึงให้ผลลัพธ์ในการทำงานที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นจึงควรให้พวกเขาเลือกวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับการบรรลุเป้าหมายเพื่อองค์กร
5. Support พวกเขาเสมอ
แสดงออกถึงการสนับสนุน และอยู่เคียงข้างพนักงานเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น อาทิ ปัญหากับลูกค้า คุณต้องให้ความเป็นธรรม และตรวจหาข้อเท็จจริงก่อนจะต่อว่าหรือตักเตือน เพราะลูกค้าไม่ได้เป็นฝ่ายถูกเสมอไป ทำให้พนักงานเห็นว่าคุณเคารพและใส่ใจพวกเขาด้วยการปกป้องเมื่อพวกเขาต้องการ
6. เอาใจเขามาใส่ใจเรา
ระวังความคาดหวังที่คุณมีต่อพนักงาน ซึ่งการตั้งความหวังเอาไว้สูงเกินไปจะทำให้พวกเขาต้องแบกรับความกดดัน หรือการมอบหมายงานจำนวนมากให้ทำในกรอบเวลาอันสั้น อาจเป็นบ่อนทำลายความพยายามของคุณที่จะได้รับการยอมรับ รวมถึงนำไปสู่ปัญหาต่าง ๆ เช่น พนักงานเริ่มต่อต้าน หรือไม่สนใจทำงาน ดังนั้นคุณจึงควรระมัดระวังและควบคุมให้ทุกอย่างดำเนินไปอย่างสมดุล
การที่พนักงานจะทำงานให้กับองค์กรได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ความสุขในการทำงานของตัวพนักงาน และความเชื่อมั่นในองค์กร และหัวหน้างานเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ซึ่งการที่พวกเขาจะเชื่อมั่นในองค์กรและหัวหน้าได้นั้น เขาต้องรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนที่มีคุณค่า ได้รับความช่วยเหลือและดูแลจากองค์กรอย่างเต็มที่ เมื่อพวกเขารู้สึกอย่างนั้นแล้ว สุดท้ายพวกเขาก็จะพยายามสร้างผลงานที่ดีเป็นการตอบแทนองค์กรกลับมาเอง
ฝากประวัติเพื่อหางานที่ใช่ได้ ที่นี่
|
|
JobThai Official Group เพื่อการหางาน หาคน และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงาน
ที่มา:
inc.com
forbes.com