วิเคราะห์ผู้สมัครได้แม่นยำขึ้น เทคนิคสัมภาษณ์งานที่ HR ควรรู้

26/08/19   |   15.9k   |  

 

  • ใช้คำถามสัมภาษณ์งานแปลก ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับงาน เช่น เลือกจะเป็นใครระหว่างซูเปอร์แมนกับแบทแมน เพราะอะไรเพื่อให้เห็นถึงวิธีคิดและตัวตนของผู้สมัคร
  • สร้างสถานการณ์จำลองระหว่างสัมภาษณ์ ให้เกิดปัญหาอะไรบางอย่างขึ้นมา เพื่อดูปฏิกิริยาของผู้สมัคร และดูว่าเขาจะจัดการและรับมือกับปัญหาเฉพาะหน้ายังไง
  • ทำเวิร์กชอปหรือทดลองทำงานด้วยกันจริง ๆ เพื่อให้เห็นถึงศักยภาพ บุคลิกภาพ และทัศนคติของผู้สมัครได้ชัดเจนขึ้น

 

 

หาคนได้หลากหลายมากขึ้นด้วย Platform จาก JobThai

 

เมื่อสนใจในประวัติผู้สมัคร การสัมภาษณ์เพื่อดูบุคลิกภาพ ทักษะความรู้ มนุษย์สัมพันธ์ และทัศนคติ ก็จะกลายเป็นสิ่งที่ต้องทำในเวลาต่อมา เพื่อหาผู้สมัครที่สามารถขับเคลื่อนองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด แต่คำถามในลักษณะที่สามารถตอบได้เป็นแพทเทิร์นก็อาจทำให้รู้จักถึงตัวตนผู้สมัครไม่ได้มากนัก เพราะผู้สมัครจะรู้ว่าควรตอบว่าอะไร ปัจจุบันก็มีหลายองค์กรที่เริ่มหากลยุทธ์ในการสัมภาษณ์งานที่แตกต่างออกไปจากเดิม เพื่อเป็นการทดสอบความคิดและวิธีการรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นตรงหน้าของผู้สมัครงาน ซึ่งจะช่วยให้องค์กรนั้นสามารถวิเคราะห์และเข้าใจตัวตนของผู้สมัครงานได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น

 

มาดูกันว่า JobThai มีเทคนิคการสัมภาษณ์งานแบบไหนมาฝากบ้าง ที่จะทำให้องค์กรเข้าใจผู้สมัครงานได้มากขึ้น

 

เทคนิคพื้นฐานสำหรับ HR ที่จะช่วยให้คัดเลือกพนักงานได้อย่างเหมาะสม

 

สัมภาษณ์เรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับงาน

ลองตั้งคำถามสัมภาษณ์งานแปลก ๆ หรือคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานดู เช่น “เลือกจะเป็นใครระหว่างซูเปอร์แมนกับแบทแมน เพราะอะไรถึงเลือกตัวละครนั้น” คำตอบที่ถูกต้องสำหรับคำถามแบบนี้อาจจะไม่มี แต่จะเป็นอีกหนึ่งวิธีการเชิงจิตวิทยาที่จะทำให้องค์กรเข้าใจและรู้จักตัวตนของผู้สมัครงานมากขึ้น ได้เห็นถึงความคิด มุมมอง หรือความรู้สึกของผู้สมัคร และทำให้องค์กรประเมินเบื้องต้นได้ว่าผู้สมัครงานมีความคิดเห็นยังไง หรือเหมาะสมกับตำแหน่งที่สมัครมากน้อยแค่ไหน

 

สัมภาษณ์โดยการสร้างสถานการณ์จำลอง

วิธีนี้ทำได้โดยการนัดผู้สมัครงานไปสัมภาษณ์ที่ร้านอาหาร หรือร้านกาแฟ และให้ทางร้านช่วยแกล้งเสิร์ฟอาหาร-เครื่องดื่มผิดให้กับเขา เพื่อจะได้สังเกตปฏิกิริยาของผู้สมัครงานว่าจะจัดการกับปัญหาเฉพาะหน้ายังไงบ้าง จะทำเป็นไม่ใส่ใจหรือหัวเสียไหม หรือจะเข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วค่อย ๆ หาวิธีรับมือกับปัญหา การทดสอบแบบนี้จะทำให้องค์กรได้เห็นผู้สัมภาษณ์ในมุมอื่น ๆ และสามารถชั่งน้ำหนักได้ว่าหากทำงานเป็นทีมแล้วผลงานไม่น่าพอใจหรือผิดพลาดผู้สมัครจะมีปฏิกิริยาและวิธีรับมือแบบไหน

 

ผู้สมัครแบบนี้อาจไม่ใช่คนที่ควรรับเข้าทำงาน

 

สัมภาษณ์โดยการทำกิจกรรมร่วมกัน หรือทดลองงานจริงระยะสั้นๆ

การทำเวิร์กชอป หรือการลงภาคสนามด้วยการทดลองทำงานจริง ก็เป็นวิธีการสัมภาษณ์ที่จะช่วยทำให้องค์กรเห็นถึงบุคลิกภาพ ทัศนคติ และศักยภาพของผู้สมัครงานแต่ละคนได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพราะบางตำแหน่งแค่การนั่งสัมภาษณ์งานอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ เช่น งานขายและบริการลูกค้า อาจจะจัดเวิร์กชอปและลองให้ผู้สมัครงานแต่ละคนได้นำเสนอสินค้าหรือบริการ รวมถึงวิธีการรับมือกับปัญหาต่าง ๆ เพื่อสร้างความประทับใจให้แก่ลูกค้า

 

วิธีการสัมภาษณ์ในรูปแบบที่กล่าวมา จะช่วยให้องค์กรได้เข้าใจ มองเห็นบุคลิกภาพ ศักยภาพ ทัศนคติของผู้สมัครงานมากยิ่งขึ้นในมุมต่าง ๆ และสามารถนำไปประกอบการตัดสินใจว่าผู้สมัครงานคนดังกล่าวเหมาะสมกับตำแหน่งงานที่ต้องการมากน้อยเพียงใด ในทางกลับกัน ผู้สมัครงานเองก็จะได้มองเห็นและเข้าใจถึงวัฒนธรรมองค์กร รวมถึงบุคลากรภายในองค์กรที่จะได้ทำงานร่วมกัน เมื่อทั้งสองฝ่ายต่างเข้าใจซึ่งกันและกัน ก็จะทำให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุขและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

อัตราโฆษณาตำแหน่งงาน และประกาศหางาน คลิกที่นี่

 

เป็นสมาชิกกับ JobThai เพื่อค้นหาผู้สมัครที่ Match กับองค์กรของคุณได้ไม่จำกัด

 

JobThai มี Line แล้วนะคะ

ติดตามสาระความรู้สำหรับคนทำงาน ที่ย่อยง่าย อ่านสนุก และพูดคุยทุกแง่มุมเกี่ยวกับการทำงานอย่างใกล้ชิดที่

เพิ่มเพื่อน

tags : hr, สัมภาษณ์งาน, human resource, ทรัพยากรบุคคล, recruitment, job interview



ติดตามข่าวสารและเรื่องราวดีๆ ทาง Email

ขอบคุณสำหรับการติดตาม