“The chef will be back soon to discuss any special dietary needs.” “อีกแป๊ปนึงเดี๋ยวเชฟจะออกมาสอบถามคุณว่าแพ้หรือทานอาหารประเภทไหนไม่ได้รึเปล่า” ตัวอย่างประโยคนี้เป็นประโยคที่พนักงานเสิร์ฟในร้านอาหารพูดคุยกับลูกค้า ซึ่งโดยปกติแล้วควรจะใช้คำที่ค่อนข้างสุภาพและเป็นทางการ ดังนั้นจึงเปลี่ยนประโยคเป็น “The chef will be back shortly to discuss any special dietary needs.”
คำว่า About เป็นคำที่เราเคยเรียนกันมาตั้งแต่เด็ก ๆ และเห็นอยู่ทั่วไปจนชินตา ซึ่งเรารู้กันดีอยู่แล้วว่าคำนี้มีความหมายว่า เกี่ยวกับ แต่ถ้าอยากใช้ในประโยคที่เป็นทางการและดู Professional มากขึ้น มีอีกคำที่สามารถเอามาใช้แทนกันได้ โดยมีความหมายเดียวกันเลย นั่นก็คือคำว่า Regarding
ตัวอย่าง
“What is your survey about?” “แบบสอบถามของคุณเกี่ยวกับเรื่องอะไร” ถ้าเราจะใช้คำว่า Regarding แทน About ในประโยคนี้ ก็สามารถใส่แทนเข้าไปได้เลย “What is your survey regarding?”
นอกจากนั้นยังสามารถใช้วลี “in regard to” ได้ด้วยเหมือนกัน เช่น “What is your survey in regard to?” แต่ระวังสับสน จะใช้ “regarding” หรือ “in regard to” ก็เลือกใช้แบบเดียว อย่าเอาสองรูปแบบนี้ปนกันเป็น “Regarding to” เด็ดขาดเพราะเป็นการใช้ที่ผิดหลักแกรมมาร์
พูดคำว่า Bad ใส่คนอื่นทีไร กลัวเขาเสียใจทุกที แต่เราสามารถเลี่ยงได้โดยการใช้ “Not that good” แทน ซึ่งเทคนิคนี้คือการเลี่ยงศัพท์ที่ Negative โดยการใช้ศัพท์ Positive บวกกับคำว่า Not หรือที่เราเรียกว่า Make a negative a positive นั่นเอง
ตัวอย่าง
“I heard that her English is bad.” “ฉันได้ยินมาว่าทักษะภาษาอังกฤษของเธอนั้นแย่” เป็นประโยคที่ใครได้ยินก็คงต้องมีสะอึกไปบ้าง เพราะฟังดูแรง ดูแย่ไปหมด ดังนั้นเราลองใช้เป็น “I heard that her English is not that good.” “ฉันได้ยินมาว่าทักษะภาษาอังกฤษของเธอไม่ได้ดีขนาดนั้น” ซึ่งฟังแล้วดูเบาลง ไม่โหดร้ายและดูต่อว่าคนอื่นจนเกินไปจะดีกว่า
I เป็นสรรพนามบุรุษที่ 1 ซึ่งใช้แทนตัวเรา ที่แปลว่า “ฉัน” แน่นอนว่าเป็นคำที่ใคร ๆ ก็ต้องรู้จัก และรู้ความหมาย แต่รู้ไหมว่าในบางสถานการณ์การใช้คำว่า We ที่แปลว่า “เรา” แทน I นั้นจะทำให้ดูเป็น Professional มากขึ้น
ตัวอย่าง
“Every employee understands English and I always send it out in English. Why do I need to translate it this time?” “พนักงานทุกคนรู้ภาษาอังกฤษอยู่แล้ว และเมื่อก่อนฉันก็ส่งเป็นภาษาอังกฤษตลอด ทำไมรอบนี้ฉันถึงต้องแปลเป็นภาษาไทยด้วย?” ประโยคนี้ไม่มีอะไรผิด แต่ถ้าเราเอาคำว่า We ที่แปลว่า “เรา” มาแทน I ในสถานการณ์แบบนี้ เป็น “Every employee understands English and we always send it out in English. Why do we need to translate it this time?” “พนักงานทุกคนรู้ภาษาอังกฤษอยู่แล้ว และเมื่อก่อนเราก็ส่งเป็นภาษาอังกฤษตลอด ทำไมรอบนี้เราถึงต้องแปลเป็นภาษาไทยด้วย?” ก็จะทำให้รู้สึกถึงความเป็นทีมมากขึ้น ถึงแม้คนที่จะต้องนั่งแปลจริง ๆ ก็คือตัวฉันคนเดียว แต่ทำให้เพื่อนร่วมงานเรารู้สึกมีส่วนร่วมด้วย
ในประโยค “I want to do something different.” “ฉันต้องการทำอะไรที่แตกต่างออกไป” เมื่อเราแทนที่คำว่า Want ด้วย Prefer ก็จะทำให้ภาษาดูสวยมากยิ่งขึ้น “I prefer to do something different.” และถ้าอยากให้นุ่มนวลมากขึ้นไปอีก ก็เพิ่มคำว่า “Would” เข้าไปได้ด้วยได้เลย “I would prefer to...” หรือ “I would prefer not to...”
คำว่าอุตสาหกรรมในภาษาอังกฤษ เรามักจะคุ้นเคยกับคำว่า Industry กัน แต่ยังมีอีกคำนึงที่สามารถเอามาใช้แทนได้ในกรณีที่เป็นธุรกิจที่เฉพาะเจาะจงลงมา นั่นก็คือคำว่า Vertical โดยคำว่า Vertical นั้นตอนแรกจะใช้ในความหมายเดียวกันกับ Niche Industry หรือ Niche Market กลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการเฉพาะเจาะจง และมีความต้องการพิเศษ เช่น Luxury Travel Vertical แต่ปัจจุบันคำนี้ได้ถูกหยิบมาใช้แทนคำว่า Industry มากขึ้นในโลกธุรกิจ
ตัวอย่าง
“In your opinion, what mobile phone brand is the most successful brand in the mobile industry?” “คุณคิดว่าแบรนด์ไหนประสบความสำเร็จมากที่สุดในอุตสาหกรรมโทรศัพท์มือถือ” การใช้ Industry ในประโยคนี้นั้นถูกต้องแล้ว เพียงแต่ถ้าเราอยากจะพูดให้รู้สึกเจาะจงกว่า เราสามารถใช้คำว่า Vertical แทนได้
เรามักจะใช้ Talk About เมื่อต้องการจะบอกว่าพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องบางเรื่อง ซึ่งหากเป็นการพูดคุยอย่างละเอียด เราอาจเปลี่ยนจาก Talk About มาใช้คำว่า Drill Down ได้
ตัวอย่าง
“We haven’t talked about the strategies.” "เรายังไม่ได้คุยเรื่องกลยุทธ์กันเลย" ตัวอย่างนี้การใช้ Talk About นั้นไม่ผิด แต่เราสามารถใช้คำว่า Drill Down แทนได้ “We haven’t drilled down the strategies.” เพื่อย้ำว่าเป็นการพูดคุยที่ลงรายละเอียด และ Drill Down ยังสามารถใช้ในรูปแบบวลีได้ด้วย คือ “Drill down to the details of…” เช่น “We need to drill down to the details of the marketing strategies.”
“Let’s have a quick catch-up again next Monday.” “ไว้เรามาคุยกันอีกทีวันจันทร์หน้า” ประโยคนี้จะฟังดูแล้วไม่ค่อยเป็นทางการ ซึ่งถ้าเป็นการคุยกันเพื่ออัปเดตเรื่องโปรเจกต์ เราควรใช้เป็น Touch Base ดีกว่า “Let’s touch base again next Monday.” “วันจันทร์หน้าเรากลับมาอัปเดตเรื่องนี้กัน”
ข้อควรระวัง ในกรณีนี้ Touch Base เป็นสำนวน โดยที่ Touch เป็นคำกริยา Base เป็นคำนาม เวลาเราแปลงไป Tense อื่น ให้เปลี่ยนที่ Touch ได้เลย เช่น We touched base.
“Did you really carry out our strategy the way we planned?” “คุณได้ทำตามแผนที่เราวางไว้รึเปล่า” ในประโยคนี้จะเห็นว่าเป็นการพูดถึงการทำตามแผนที่วางเอาไว้แล้ว การใช้ Carry Out ก็ไม่ผิด แต่จะดีกว่าถ้าเปลี่ยนเป็น “Did you really execute our strategy the way we planned?” ใช้คำว่า Execute แทนเพื่อให้ดูเป็นการปฏิบัติงานตามแผนกลยุทธ์ที่วางไว้จริง ๆ
สิ่งสำคัญในการเรียนภาษานั้นไม่ใช่แค่พยายามรู้จักคำศัพท์ให้เยอะ แต่เราต้องฝึกฝนด้วย ท่องเอาไว้ว่า “Learning a language requires practice, practice and practice.” การเรียนภาษาจำเป็นต้องฝึก ฝึก และฝึก
ยังไม่เคยอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่ใช้ในการทำงานแบบ Professional ตอนที่ 1