90 วันอันตราย ต้องทำงานยังไงให้ผ่านโปร

11/03/24   |   86.1k   |  

 

  • ช่วงทดลองงานหรือช่วงโปร (Probationary Period) นอกจากเป็นการประเมินศักยภาพในการทำงานแล้ว ยังเป็นการประเมินทัศนคติและการปรับตัวเข้ากับคนในองค์กรด้วย

  • สิ่งที่พนักงานใหม่ควรทำในช่วงนี้คือ การพิสูจน์ให้ทุกคนเห็นว่าเขาคิดถูกที่เลือกเรามาทำงาน ด้วยการปรับตัว การทำตามกฎระเบียบ การเรียนรู้ตัวงาน กระทั่งการเข้ากับเพื่อนร่วมงานได้

  • ปกติช่วงโปรจะอยู่ที่ประมาณ 3 - 4 เดือน แต่อาจจะมีบางกรณีที่บริษัทขอต่อช่วงเวลาทดลองงานเพราะไม่แน่ใจในตัวเรา ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นจากหลายปัจจัย ควรหาสาเหตุนั้นให้เจอว่าเพราะอะไร อาจถามจากหัวหน้าให้ชัดเจนและแก้ไขจุดนั้นให้ตรงจุด

  • ช่วงโปรนอกจากจะเป็นช่วงที่องค์กรจะประเมินเรา ก็ยังเป็นช่วงที่เราได้ประเมินองค์กรเช่นเดียวกัน หากคิดว่าตัวเองไม่เหมาะกับองค์กรนี้ก็มีทางเลือกให้เราได้ตัวสินใจว่าจะอยู่หรือมูฟออนต่อไป

 

 

หางานง่าย ได้ง่านที่ใช่ ด้วย JobThai Mobile Application โหลดเลย

iOS

Android

Huawei AppGallery

เมื่อเข้ามาทำงานที่ใหม่ ก็ต้องผ่านช่วงทดลองงาน ที่ทุกคนมักเรียกว่าช่วงโปร (Probationary Period) กันทั้งนั้น 3 เดือนบ้าง 4 เดือนบ้าง เป็นช่วงที่ HR และคนที่รับเราเข้ามาทำงานคอยดูผลงาน ศักยภาพ พฤติกรรม และทัศนคติของเรา ว่าสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพตรงตามเป้าหมายขององค์กรไหม 

 

ซึ่งหลายคนมักจะกังวลว่าตัวเองจะผ่านโปรมั้ย จะทำได้แบบที่องค์กรคาดหวังหรือเปล่า JobThai จะช่วยให้ความกังวลนั้นหายไป เพราะเรามีเคล็ดลับที่จะทำให้ผ่านโปรแบบฉลุย ล้างอาถรรพ์​ 90 วันอันตรายให้หายลับมาแนะนำ

 

5 เรื่องที่คนอยากประสบความสำเร็จต้องรู้

 

เด็กจบใหม่หรือคนที่ผ่านการทำงานมาแล้วก็ต้องผ่านช่วงโปรเหมือนกัน

ไม่ว่าเราจะทำงานมาแล้วหลายที่ ผลงานดีเยี่ยม หรือเด็กจบใหม่ไฟแรงที่ได้รับคำชมเชยมามากมาย แต่เมื่อเข้าสู่สังคมการทำงานใหม่ องค์กรใหม่ ก็ต้องทดลองงานกันก่อนทั้งนั้น ซึ่งในช่วงนี้นอกจากจะมีการประเมินเรื่องผลงานที่ต้องเป็นไปตามมาตรฐานแล้ว การดูว่าเข้ากับคนในองค์กรได้ไหมก็สำคัญเช่นกัน

 

ปฏิบัติตามกฎระเบียบขององค์กร

ทุก ๆ บริษัทจะมีกฎระเบียบอยู่ในหนังสือ และในวันปฐมนิเทศเราก็จะได้รับทราบกฎระเบียบ รวมถึงค่านิยมขององค์กร การขาด ลา มาสาย ถ้าเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยง อย่าลืมว่าช่วงเวลานี้เป็นเวลาที่องค์กรประเมินเรา อย่าทำให้พวกเขารู้สึกว่าเราเป็นคนที่ไม่มีความรับผิดชอบ เป็นคนที่มีธุระตลอดและไม่รักษาเวลา นอกจากนั้นเราควรหมั่นสำรวจการทำงานของเพื่อนร่วมงาน จะได้รู้ว่าเมื่อทำงานร่วมกับทีมนี้เราควรปฏิบัติตัวยังไง อย่างการรับประทานอาหาร การพูดคุย และเราจะเห็นวัฒนธรรมขององค์กรได้อย่างชัดเจน

 

ที่สำคัญควรเรียนรู้ที่จะเปิดใจให้กว้างพร้อมรับความเปลี่ยนแปลง ยืดหยุ่นกับสิ่งแวดล้อมและเพื่อนร่วมงานใหม่ แทนที่จะอยู่กับตัวเอง ไม่เชื่อฟัง หรือไม่พยายามปรับตัวเข้าหาคนอื่น ๆ

  

การทำงาน ผลงาน และการพัฒนาตัวเอง

เมื่อทำตามกฎระเบียบและเข้ากับเพื่อนร่วมงานได้ดี ก็อย่ามองข้ามเรื่องของการทำงาน ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก ระหว่างการทำงานอย่าลืมบันทึกรายละเอียดต่าง ๆ และนำมาทบทวน เพื่อที่จะได้ปรับตัวเร็วขึ้น ซึ่งวิธีนี้ยังช่วยลดความผิดพลาดในการทำงานได้ด้วย หากงานนั้นเป็นงานที่เราไม่เคยทำสิ่งที่เราห้ามทำเด็ดขาดเลยคือ “อย่าเดา” หรือมัวแต่เกรงใจเพื่อนร่วมงาน เพราะหากผิดพลาดขึ้นมาก็มีแต่เราที่ต้องรับผิดชอบ หากไม่รู้หรือไม่ชำนาญจริง ๆ ก็ควรถามไปตรง ๆ

 

ตรวจทานทุกครั้งหลังทำงานเสร็จ

งานหลาย ๆ อย่างอาจมีช่วง Draft ไปจนถึงช่วงไฟนอล อย่าลืมตรวจทานและทำให้เป็นนิสัยทุกครั้ง ถึงแม้งานนั้นจะเป็นเวอร์ชัน Draft ก็ตาม เพื่อความมั่นใจว่างานที่ทำจะไม่มีข้อผิดพลาด และหากสุดท้ายแล้วเรายัง “พลาด” ก็ไม่ใช่เรื่องที่แปลกเพราะเราทุกคนสามารถทำงานพลาดได้แต่หลังจากนั้นก็ต้องปรับปรุงตัวเองด้วย หากเรายังทำผิดพลาดในเรื่องเดิมอยู่เรื่อย ๆ มันจะเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าเราไม่ได้พยายามปรับตัวหรือพัฒนาขึ้นเลย 

 

ทำความรู้จักกับ KPI ปัจจัยสำคัญในการประเมินงาน

 

หากทำงานครบตามกำหนดเวลา แต่องค์กรขอต่อโปรเพิ่ม ทำยังไงดี ?

การที่องค์กรขอต่อเวลาทดลองงาน อาจมีปัจจัยจากการทำงานของเราที่เกิดข้อผิดพลาดเดิมซ้ำ ๆ ไม่ค่อยรักษาเวลา ไม่รักษากฎระเบียบขององค์กร หรือการแสดงออกบางอย่าง ที่ทำให้เกิดผลกระทบทั้งวงแคบและวงกว้าง ทำให้องค์กรยังรู้สึกไม่มั่นใจว่าเราเหมาะสมจริง ๆ มั้ย เลยต้องขอเวลาเพิ่มเพื่อพิจารณา หากเราคิดว่างานและองค์กรนี้ เป็นที่ที่เหมาะกับเราแล้ว ก็เป็นหน้าที่ของเราในการพิสูจน์ตัวเองอีกครั้งและสู้ต่อไปเพื่อที่จะผ่านช่วงเวลานี้ไปให้ได้ ซึ่งสิ่งที่ควรทำก็คือ

  • หาให้เจอว่าที่ผ่านมาการทำงานของเรามีข้อผิดพลาดหรือข้อบกพร่องตรงไหนบ้าง

  • พูดคุยกับหัวหน้าให้ชัดเจนว่าเรื่องไหนที่เขาต้องการให้เราพัฒนา

  • ทำการบ้านให้หนักขึ้น เมื่อเรารู้แล้วว่าสิ่งใดที่ขาดตกบกพร่องไป ต้องรีบปรับปรุง งานไหนยังทำได้ไม่ดีก็ต้องพัฒนาให้ดีขึ้น

 

สุดท้ายแล้วหากเราไม่สามารถผ่านช่วงทดลองงานไปได้ เราควรประเมินตัวเองว่าสาเหตุจริง ๆ แล้วเกิดจากอะไร จากนั้นค่อยปรับปรุงตัวเองเพื่อพัฒนาให้ทักษะและความสามารถของเราพร้อมสำหรับการเริ่มต้นใหม่ในครั้งถัดไป และช่วงเวลาทดลองงานนี้นอกจากจะเป็นช่วงการประเมินขององค์กรต่อตัวเราแล้ว ก็จะทำให้เราได้รู้ถึงวัฒนธรรมองค์กร วิธีทำงาน เหมือนเป็นช่วงที่เราประเมินตัวองค์กรเช่นกัน หากคิดว่าชอบจริง ๆ ก็ต้องพิสูจน์ตัวเองต่อไป แต่หากคิดว่าไม่เหมาะ การ “มูฟออน” ก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิดหรือเรื่องที่ทำให้เราดูไม่มีคุณค่า

6 สัญญาณที่บ่งบอกว่างานที่ทำอยู่ เป็นงานที่คุณชอบและเหมาะสมกับคุณจริง ๆ

 

หาองค์กรที่ใช่ได้ง่าย ๆ เพียงสมัครสมาชิกกับ JobThai คลิกเลย

 

JobThai Official Group เพื่อการหางาน หาคน และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงาน

tags : งาน, วิธีทำงาน, career & tips, เคล็ดลับการทำงาน, เทคนิคสำหรับเด็กจบใหม่, เคล็ดลับสำหรับเด็กจบใหม่, คนทำงาน, การทำงาน, นักศึกษาจบใหม่, เด็กจบใหม่, freshgrad, ไม่มีประสบการณ์, เคล็ดลับสำหรับคนทำงาน, เทคนิคสำหรับคนทำงาน, เคล็ดลับความสำเร็จ, แนวคิดในการทำงาน, fresh graduate, จบใหม่ต้องรู้



ติดตามข่าวสารและเรื่องราวดีๆ ทาง Email

ขอบคุณสำหรับการติดตาม