- กิจกรรมขณะเรียนจะแสดงให้องค์กรเห็นว่าเรามีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น และรู้จักการทำงานเป็นทีม ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการทำงาน
- รางวัลหรือประกาศนียบัตรที่เราภูมิใจที่สุดก็สามารถเอามานำเสนอได้ และจะทำให้องค์กรเห็นว่าเรามีทักษะความสามารถที่เหมาะสมแค่ไหน
- กิจกรรมนอกรั้วมหาวิทยาลัย เป็นสิ่งที่แสดงให้องค์กรเห็นว่าเราชอบหรือให้คุณค่ากับอะไรมากเป็นพิเศษ และเขาจะได้เห็นตัวตนจริง ๆ ของเราอีกด้วย
- ประสบการณ์จากตอนฝึกงาน เอกสารรับรอง ไม่ว่าจะเป็นการฝึกงาน หรือการทำงานพาร์ทไทม์ ก็เป็นอีกหนึ่งเครื่องพิสูจน์ว่าเรามีความพร้อมและความกระตือรือร้นที่จะเข้าสู่โลกการทำงานแค่ไหน
- สิ่งที่สนใจนอกเหนือการเรียน หรือความสามารถพิเศษอื่น ๆ ที่แตกต่างจากคนทั่วไป หรืองานอดิเรกที่ส่งเสริมเราในสายงานที่สมัคร ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ทำให้เราโดดเด่นและน่าสนใจมากขึ้นได้
|
|
นอกจากเอกสารสมัครงานแล้ว อีกหนึ่งเอกสารสมัครงานที่สำคัญอย่างแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ก็ไม่ควรมองข้าม ซึ่งไม่จำเป็นว่าต้องเด็กที่จบจากด้านกราฟิกหรือครีเอทีฟเท่านั้น แต่นักศึกษาที่จบใหม่ทุกคนไม่ว่าจะจบมาจากสายอะไรก็ควรมี Portfolio ติดตัวไว้ เพราะจะเพิ่มความน่าสนใจในการถูกเรียกมาสัมภาษณ์งานมากขึ้น อย่าลืมว่าเกียรตินิยม หรือเกรดเฉลี่ยดี ๆ ไม่ใช่เราคนเดียวที่จะทำได้ ยังมีคนที่สามารถแข่งขันกับเราได้อีกหลายคน สิ่งที่จะทำให้เราโดดเด่นมากกว่าก็มีแต่ผลงานที่เราทำมานี่แหละที่จะบอกให้บริษัทรู้
แล้วเด็กจบใหม่อย่างเราจะไปเอาผลงานที่ไหนมาใส่ JobThai จะบอกว่าสิ่งเหล่านี้เราทุกคนอาจเคยทำมาหมดแล้ว แต่ไม่รู้ว่าสามารถนำมาใส่ใน Portfolio ได้ต่างหาก
Portfolio พร้อมส่งสมัครงานอยู่ ใช้ช่องทาง Upload Files ใน JobThai Mobile Application สมัครงานได้เลยโดยไม่ต้องสมัครสมาชิก
|
|
กิจกรรมขณะเรียน
เคยเป็นประธานรุ่น ประธานเชียร์ เข้าร่วมกิจกรรมในชมรม หรือกระทั่งร่วมกิจกรรมในงานวันสำคัญต่าง ๆ กิจกรรมเหล่านี้ต่างแสดงให้เห็นว่าเรามีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น รู้จักการทำงานเป็นทีม ซึ่งจะช่วยเสริมคะแนนในตอนสัมภาษณ์ เพราะไม่ว่าเราจะเข้าไปทำงานในตำแหน่งอะไรก็ล้วนต้องใช้ทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่นแทบทั้งหมด
รางวัลหรือประกาศนียบัตร
ไม่ว่าจะเป็นรางวัล ประกาศนียบัตร หรือผลงานด้านอื่น ที่เราเคยทำในขณะเรียนหรือไปแข่งขันมาก็ได้เช่นกัน แต่เราก็ควรเลือกเฉพาะผลงานที่โดดเด่นหรือเป็นรางวัลที่เราภูมิใจที่สุด ถ้าเป็นไปได้ควรเป็นผลงานที่สอดคล้องกับตำแหน่งที่ต้องการสมัคร เพราะส่วนนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำแฟ้มสะสมผลงาน เนื่องจากเป็นส่วนที่จะได้นำเสนอและโน้มน้าวใจให้องค์กรเห็นว่าเรามีทักษะความสามารถที่เหมาะสมแค่ไหน
กิจกรรมนอกรั้วมหาลัย
การทำกิจกรรมในมหาวิทยาลัยอาจเป็นสิ่งที่ต้องทำตามหลักสูตรของมหาลัย แต่กิจกรรมที่เราทำนอกรั้วมหาวิทยาลัยมักจะเป็นสิ่งที่เรามีความสนใจอยากทำเอง และเป็นสิ่งที่สามารถนำเสนอความสนใจหรือตัวตนของเราได้มากที่สุด ทำให้องค์กรรู้ว่าเรามีปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอกอย่างไรบ้าง เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมหรือต้องพบเจอบุคคลที่ไม่คุ้นเคย เราอาจจะใช้โอกาสนี้ในการนำเสนอตัวเองให้องค์กรเห็นว่าเรามีการวางตัวหรือปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นได้หรือไม่
ประสบการณ์จากตอนฝึกงาน
ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นภาพการฝึกงานที่เกี่ยวข้องกับสายงานที่สมัครเท่านั้น การทำงานพาร์ทไทม์ตามร้านสะดวกซื้อก็สามารถหยิบมาใส่ในแฟ้มสะสมผลงานได้ ยิ่งเรามีประสบการณ์ในการฝึกงานหรือทำงานพาร์ทไทม์มากเท่าไหร่ก็จะยิ่งส่งผลดีต่อตัวเอง เพราะองค์กรจะได้เห็นว่าเรามีประสบการณ์จากการทำงานมาบ้างแล้ว อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงความพร้อมและความกระตือรือร้นที่จะก้าวเข้าสู่โลกแห่งการทำงานอย่างแท้จริง
ความสามารถพิเศษ หรืองานอดิเรกอื่น ๆ
นำเสนอความสามารถพิเศษที่แตกต่างจากคนทั่วไปเพื่อสร้างความโดดเด่นและน่าสนใจมากขึ้น เช่น การเป็นพิธีกร ฯลฯ ถ้าไม่มีก็เป็นความสามารถพิเศษทั่ว ๆ ไป เช่น ร้องเพลง เล่นดนตรี เล่นกีฬา ฯลฯ หรืออย่างงานอดิเรกยามว่างของเราก็สามารถนำมาเสริมให้เข้ากับสายงานที่สมัครได้ เช่น ชอบถ่ายภาพ อ่านหนังสือ เขียนบทความออนไลน์ ก็จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องการสมัครงานทางด้านนักเขียน
นอกเหนือจากเทคนิคการเลือกภาพประกอบในแฟ้มสะสมผลงานที่กล่าวมาข้างต้น สิ่งสำคัญที่ห้ามลืมในการทำแฟ้มสะสมผลงานคือ การเรียบเรียงเนื้อหาให้เข้าใจง่ายและกระชับ และควรใส่ความเป็นตัวตนลงไปอย่างสร้างสรรค์ผ่านคอนเซ็ปต์การเล่าเรื่อง และการจัดวางข้อมูลในแฟ้มสะสมผลงาน ที่สำคัญคืออย่าลืมเตรียมไฟล์ผลงานให้อยู่ในรูปแบบออนไลน์ พร้อมย่อขนาดไฟล์เพื่อให้ส่งผ่านอีเมลได้ง่าย เพราะเทคนิคเหล่านี้จะช่วยทำให้เราดูเป็นมืออาชีพในสายตาองค์กรมากขึ้นด้วย
ติดตาม Career Talk Podcast ได้ที่
|
|
JobThai Official Group เพื่อการหางาน หาคน และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงาน