รู้จักกับฐานภาษี: สาเหตุที่ทำให้เสียภาษีนั้นเพราะอะไร

08/03/21   |   51.6k   |  

 

  • อัตราภาษีเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ใช้ในการคำนวณภาษี โดยกฎหมายจะกำหนดว่า หากได้เงินสุทธิเท่านี้ ให้คิดภาษีในอัตราเท่าไหร่

    • อัตราก้าวหน้า: ยิ่งได้เงินมาก ก็ยิ่งจ่ายมาก

    • อัตราคงที่: ทุกคนจ่ายอัตราเดียวกัน

    • อัตราเหมาจ่าย: เหมาจ่ายไม่ต้องคิดเยอะ

    • อัตราถดถอย: รายได้ยิ่งมาก ยิ่งจ่ายภาษีน้อยลง

  • ฐานภาษีเป็นตัวกำหนดว่าเราจะเป็น “ผู้เสียภาษี” หรือไม่ ถ้าเราเข้าข่ายการจ่ายภาษีหลายอย่างก็ต้องจ่ายหลายอย่างตามไปด้วย

    • ฐานบริโภค ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT ภาษีศุลกากรที่มักจะเห็นเวลาเดินทาง

    • ฐานทรัพย์สิน มีหลากหลายประเภทมาก แต่ตัวอย่างอย่างง่ายก็ได้แก่ ภาษีรถยนต์ ภาษีโรงเรือง และที่ดิน เป็นต้น

    • ฐานรายได้ ได้แก่ ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดาซึ่งรายได้ก็คือเงินเดือนหรือค่าจ้าง

  • รายได้สุทธิลบค่าใช้จ่ายส่วนตัวไม่เกิน 100,000 บาท และหักค่าลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้ 60,000 บาท และถ้ามีค่าลดหย่อนอื่น ๆ เพิ่มอีก ก็จะยิ่งเสียภาษีประจำปี 2563 น้อยลงไปอีก

 

JobThai Mobile Application หางานง่าน ได้งานที่ใช่ โหลดเลย!

iOS

Android

Huawei AppGallery

 

“ภาษี” เป็นเรื่องที่เราทุกคนต้องเจอ แต่น้อยคนนักที่จะเข้าใจกับเรื่องภาษีอย่างแท้จริง เมื่อต้องจ่ายภาษี คนทำงานบางคนก็ยังคงใช้โปรแกรมในการคำนวณภาษี เพราะยังรู้สึกงงและไม่แน่ใจว่าถ้าคำนวณเองจะทำได้ถูกต้องไหม แต่ไม่ว่าเราจะใช้โปรแกรมคำนวณใด ๆ ก็ตาม เราก็ควรมีความรู้ความเข้าใจว่าสาเหตุอะไรที่ทำให้เราต้องเสียภาษี และเพราะอะไรถึงต้องเสียภาษีเป็นเงินจำนวนนั้น ๆ เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดที่อาจตามมา เพราะจะทำให้เราต้องเวลาและเสียเงินไปโดยไม่จำเป็น

 

JobThai เลยจะมาแนะนำถึงเรื่องของฐานภาษี ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เราทราบว่าเพราะอะไรเราถึงต้องจ่ายภาษีตามจำนวนที่คำนวณมา

 

อัตราภาษี: ความเป็นธรรมสำหรับคนจ่ายภาษี

เมื่อเรารู้ตัวแล้วว่าเราเป็นพนักงานที่มีเงินเดือนอยู่ในเกณฑ์ของ “ผู้เสียภาษี” หรือคนที่ต้องจ่ายภาษี สิ่งที่ควรรู้อีกอย่างหนึ่งก็คืออัตราภาษี เพราะอัตราภาษีเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ใช้ในการคำนวณภาษี โดยกฎหมายจะกำหนดว่า หากได้เงินสุทธิเท่านี้ ให้คิดภาษีในอัตราเท่าไหร่ ดังนั้นเราก็ต้องดูว่า “อัตราภาษี” นั้นมีการกำหนดไว้แบบใดบ้าง เหตุผลอีกอย่างคืออัตราภาษีหรือวิธีการคิดเงินสำหรับเรียกเก็บภาษี จะเป็นตัวบอกว่าเราต้องเสียภาษีมากหรือน้อยอีกด้วย

  • อัตราก้าวหน้า: ยิ่งได้เงินมาก ก็ยิ่งจ่ายมาก
    การคิดเงินแบบก้าวหน้าเป็นหนึ่งสิ่งที่คนคุ้นชินมากที่สุด จากคำที่ว่า “อัตราแบบขั้นบันได” ซึ่งมีเหตุผลคือ คนที่สามารถหาได้เงินมากก็ควรจ่ายภาษีมากกว่าคนที่ได้เงินน้อย อัตราภาษีแบบนี้ก็เลยกำหนดให้ถ้าได้เงินมากขึ้นหรือมีฐานภาษีสูงขึ้น ก็จะขยับขั้นบันไดที่เรายืนอยู่ขึ้นไป แล้วในแต่ละขั้นก็จะคิดอัตราที่ต้องจ่ายสูงขึ้นตามไปด้วย

  • อัตราคงที่: ทุกคนจ่ายอัตราเดียวกัน
    คิดแค่อัตราเดียวสำหรับฐานภาษีโดยไม่เปลี่ยนตามการขึ้นลงของฐานภาษี เช่น อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ร้อยละ 7 หรือ Vat 7% ที่เราทุกคนต้องเคยเจอ

  • อัตราเหมาจ่าย: เหมาจ่ายไม่ต้องคิดเยอะ
    เก็บภาษีแบบคิดราคาเป็นเงินจำนวนที่แน่นอนโดยไม่สนว่าฐานภาษีจะเป็นเท่าไหร่ อัตราเหมาจ่าย เช่น ในกรณีค่าลดหย่อนส่วนตัวและค่าใช้จ่าย คือทุกคนได้รับการยกเว้นจ่ายภาษีในส่วนนี้ จึงเหมาไปเลยอัตราเดียวกัน

  • อัตราถดถอย: รายได้ยิ่งมาก ยิ่งจ่ายภาษีน้อยลง
    การจ่ายภาษีแบบอัตราถดถอยคือ การจ่ายภาษีในอัตราการที่ต่ำลงเมื่อมีรายได้สูงขึ้น ซึ่งภาษีประเภทนี้ไม่ได้นำมาใช้กับการเก็บภาษีของมนุษย์เงินเดือน แต่จะใช้กับอัตราภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีที่จัดเก็บจากที่ดินที่ใช้สร้างบ้านอยู่อาศัยหรือทำการเกษตร และที่ดินว่างเปล่าก็เก็บเหมือนกัน จะเห็นได้ว่าถ้าเกษตรกรมีพื้นที่ทำนาใหญ่มากแล้วต้องจ่ายภาษีในอัตราก้าวหน้าก็คงไม่ไหว

 

ฐานภาษี: ไมล์เดินทาง

หลังจากเข้าใจว่าต้องมีการยื่นภาษีและการจ่ายภาษีแล้ว เรื่องต่อมาเป็นเรื่องของคำถามว่า เพราะอะไรเราถึงกลายเป็น “ผู้เสียภาษี” ซึ่งสิ่งที่ทำให้เรากลายเป็น “ผู้เสียภาษี” ถูกเรียกว่า “ฐานภาษี” และหากเปรียบฐานภาษีเป็นไมล์เดินทาง (Mile) นั่นหมายความว่า เราเดินทางไปไกลเท่าไหร่ ค่าใช้จ่ายก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น โดยฐานภาษีสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทคิดอัตราการเก็บไม่เหมือนกันนะ บางอันเป็นแบบคงที่ บางอันเหมาจ่าย และบางอันก็เป็นขั้นบันได

  1. ฐานบริโภค: ภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT ภาษีศุลกากรที่มักจะเห็นเวลาเดินทาง และอื่น ๆ

  2. ฐานทรัพย์สิน: มีหลากหลายประเภท อย่างเช่น ภาษีรถยนต์ ภาษีโรงเรือง และภาษีที่ดิน

  3. ฐานรายได้: ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดา ซึ่งรายได้ก็คือเงินเดือนหรือค่าจ้าง

 

เห็นได้ว่าจริง ๆ แล้วเราอาจยืนอยู่บนหลายฐานภาษีพร้อมกัน ดังนั้นหากเราเข้าข่ายการจ่ายภาษีหลายทางก็ต้องจ่ายหลายอย่างตามไปด้วย แต่ว่าในข้อนี้อยากพูดถึงข้อที่ 3 หรือ “ฐานรายได้” ซึ่งพนักงานเงินเดือนควรจะทำความคุ้นเคยเอาไว้ เนื่องจากฐานรายได้หลักของพนักงานประจำทั้งหลายได้รับในแต่ละเดือนมักเป็นเงินเดือนและโบนัส จึงต้องจ่ายภาษีบนฐานนี้เป็นหลัก ไปดูค่าเดินทางกัน

 

หลักไมล์ที่

ขั้นเงินได้สุทธิตั้งแต่

อัตราภาษี

ภาษีสูงสุดในแต่ละขั้นเงินได้

ภาษีสะสมสูงสุดของขั้น

1

0 - 150,000

5%

ยกเว้น*

0

2

150,001 - 300,000

5%

7,500

7,500

3

300,001 - 500,000

10%

20,000

27,500

4

500,001 - 750,000

15%

37,500

65,000

5

750,001 - 1,000,000

20%

50,000

115,000

6

1,000,001 - 2,000,000

25%

250,000

365,000

7

2,000,001 - 5,000,000

30%

900,000

1,265,000

8

มากกว่า 5,000,000

35%

 

 

 

*ยกเว้น ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 470) พ.ศ. 2551 สำหรับเงินได้สุทธิที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 เป็นต้นไปประกอบกับมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 44) พ.ศ. 2560 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปีภาษี พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป 

 

อธิบายจากตัวอย่างต่อไปนี้

การคำนวณง่าย ๆ จากรายได้สุทธิหักลบกับค่าใช้จ่ายส่วนตัวไม่เกิน 100,000 บาท จากนั้นจึงนำไปหักค่าลดหย่อนส่วนตัวสำหรับผู้มีเงินได้ 60,000 บาท ซึ่งตรงนี้เราควรตรวจสอบก่อนด้วยว่าเรามีค่าลดหย่อนอื่น ๆ อะไรเพิ่มเติมอีกไหม เพราะจะทำให้เสียภาษีน้อยลงไปอีก (ภาษีประจำปี 2563 จะยื่นได้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2564) วิธีคำนวณรายได้สุทธิเพื่อดูว่าเราอยู่บนฐานภาษีขั้นไหน

 

สมมติว่าได้เงินเดือน 30,000 บาทต่อเดือน แต่ไม่มีค่าลดหย่อนอะไรเพิ่มเติม วิธีคิดจะเป็นดังนี้

  • ขั้นตอนที่ 1 ทั้งปีจะได้เงิน 30,000 x 12 = 360,000 บาท

  • ขั้นตอนที่ 2 ดูว่าหักค่าใช้จ่ายได้เท่าไหร่ สำหรับเงินได้ประเภทที่ 1 และ 2 (เงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส เบี้ยเลี้ยง) หักได้ 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท เมื่อคิดดู 50% ของ 360,000 = 180,000 บาท แต่ว่า 180,000 เกิน 100,000 บาท ก็ต้องปัด 80,000 ทิ้งเหลือ 100,000 บาท เพราะกฎหมายให้ได้สูงสุดเท่านี้

  • ขั้นตอนที่ 3 ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 = 60,000 บาท (เป็นค่าลดหย่อนแบบเหมา 60,000 บาทต่อปี สำหรับผู้ยื่นภาษีทุกคน) รวมแล้วพนักงานที่รับเงินเดือนอย่างเดียวจะได้รับค่างดเว้นภาษีรวม 160,000 บาท

  • ขั้นตอนที่ 4 เมื่อคิดเงินได้สุทธิจึงเท่ากับ 360,000 – 160,000 = 200,000 บาท

  • ขั้นตอนที่ 5 จะเห็นได้ว่าเงินได้สุทธิ 200,000 บาท นั้น อยู่ในช่วงเงินได้ระหว่าง 150,000 – 300,000 หรือ “ฐานไมล์ที่ 2” เพราะถ้าดูตามตารางข้างล่างจะเห็นได้ว่าเงินสะสมในขั้นที่ 1 ยังเหลืออยู่ 50,000 บาท จึงต้องไต่ต่อขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง

  • ขั้นตอนที่ 6 ดูว่าอัตราภาษีของ“ฐานไมล์ที่ 2” เท่าไหร่ จากนั้นก็นำมาคำนวณกับเงินที่เหลืออยู่จากการสะสมตามขั้น

ขั้นเงินได้สุทธิ

หักออก

อัตราภาษี

เงินภาษี

สะสมตามขั้น

0 – 150,000

200,000 -150,000 = 50,000

5%

ยกเว้นไม่ต้องคิด

50,000

150,000 – 300,000

50,000

5% ของ 50,000

2,500

รวมภาษีที่ต้องจ่าย

2,500

 

 

ดังนั้น สมมติว่าได้รับเงินเดือน 30,000 บาท จะต้องเสียภาษี 2,500 บาท โดยประมาณ ซึ่งหากว่าเราไม่ได้ไม่มีค่าลดหย่อนอะไรเพิ่มเติม อย่างประกันชีวิต กองทุน RMF, LMF ดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อบ้าน หรือเงินเดือนไม่เกิน 26,000 บาท ก็ไม่จำเป็นต้องเสียภาษี แค่ต้องยื่นแบบฟอร์มเสียภาษีให้ถูกต้องเท่านั้น

 

คนทำงานกับเรื่องของการลดหย่อนภาษี

 

สมัครสมาชิกกับ JobThai เพิ่มโอกาสที่ใช่ ไม่ต้องส่งใบสมัคร คลิกเลย

 
JobThai Official Group เพื่อการหางาน หาคน และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงาน
Public group · 100,000 members
Join Group
 

tags : คนทำงาน, jobthai, การจ่ายภาษี, การยื่นเสียภาษี, คนทำงานกับการเสียภาษี, ภ.ง.ด., ภ.ง.ด.90, ภ.ง.ด.91, ภาษี, ภาษีบุคคลธรรมดา, คำนวณภาษี, ลดหย่อนภาษี, เด็กจบใหม่, ไลฟ์สไตล์, lifestyle



ติดตามข่าวสารและเรื่องราวดีๆ ทาง Email

ขอบคุณสำหรับการติดตาม