4 วิธีรับมือเมื่อวิกฤติวัยกลางคนทำให้เราหมดไฟ

4 วิธีรับมือเมื่อวิกฤติวัยกลางคนทำให้เราหมดไฟ
10/02/21   |   9.4k   |  

 

  • หาคนที่สามารถพูดคุยด้วยได้ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงาน คนในครอบครัว หรือจิตแพทย์ สิ่งสำคัญคืออย่าคิดว่ามีเพียงแค่ตัวเราคนเดียวในโลก

  • ตั้งเป้าหมายใหม่ที่จะช่วยสร้างความท้าทายให้กับชีวิตมากยิ่งขึ้น

  • เรียนรู้เรื่องใหม่ ๆ หรือเรื่องที่อยู่ในความสนใจของเรา เพราะความรู้ใหม่เหล่านี้จะช่วยทำให้โลกทรรศน์ของเราเปิดกว้างมากขึ้นนั่นเอ

  • ออกไปช่วยเหลือผู้คนหรือเพื่อนร่วมงาน สิ่งเหล่านี้จะช่วยสร้างความภูมิใจในตัวเองและรู้สึกว่าตัวเรามีคุณค่า

 

JobThai Mobile Application สมัครงานง่าย ได้งานเร็ว

iOS

Android

Huawei AppGallery

 

Midlife Crisis หรือวิกฤติการณ์ของวัยกลางคน ที่รู้สึกหมดไฟในการทำงาน พบได้ในวัยกลางคนที่รู้ตัวหรือไม่รู้ตัว

 

คนวัยนี้คือคนที่นึกถึงความมั่นคงในการทำงานเป็นเรื่องสำคัญ ทำให้ส่วนใหญ่ไม่คิดจะเปลี่ยนงาน แต่การทำอะไรซ้ำ ๆ ในสภาพแวดล้อมเดิมทำให้พวกเขารู้สึก “หมด Passion” ในการทำงาน จากเคยเป็นคนรุ่นใหม่ไฟแรงก็กลับกลายมาเป็นคนที่ตื่นนอนมาด้วยความเบื่อหน่าย เพียงแค่จะมาตอกบัตรเข้างานและทำงานให้ครบเวลาเท่านั้น เพื่อรับมือกับปัญหา Midlife Crisis นี้ JobThai จะพาคุณไปรู้จักกับสิ่งนี้ให้มากขึ้น พร้อมกับวิธีรับมือและเติมเชื้อไฟ เพื่อให้ Passion ในการทำงานกลับมาลุกโชนได้อีกครั้ง

 

Midlife Crisis คือช่วงที่ชีวิตสับสนจากปัญหาต่าง ๆ เช่น

  • ช่วงเปลี่ยนผ่านที่ต้องตัดสินใจเรื่องสำคัญของชีวิต
  • เสียใจจากเป้าหมายและความพยายามที่ไม่สำเร็จ ทำให้ต้องเริ่มหาตัวตนและค้นหาความหมายครั้งใหม่
  • รู้สึกว่างเปล่าในชีวิตเมื่อลูกหลานเริ่มเติบโตทยอยออกไปเรียนและทำงาน รวมถึงการงานที่อาจมองไม่เห็นโอกาสก้าวหน้าอีกต่อไป
  • กังวลเรื่องอายุที่มากขึ้น เช่น ต้องใส่แว่นอ่านหนังสือ, ผมเริ่มบาง, เข้าสู่วัยทอง หรือเพื่อนเริ่มล้มหายตายจาก

 

สัญญาณเตือนของ Midlife Crisis ไม่มีอะไรที่ตายตัว แต่ละคนก็อาจจะแตกต่างกันไป แต่ถ้าพูดถึงภาพรวมที่แทบทุกคนจะเจอเหมือนกันก็คือ อารมณ์แปรปรวนเร็ว, โกรธง่าย, เครียดง่ายกว่าปกติ และรวมถึงหมดไฟในการทำงาน ซึ่งงานวิจัยของมหาวิทยาลัย Harvard ระบุไว้ว่าส่วนใหญ่แล้วช่วงอายุที่พบวิกฤติวัยกลางคนมักจะมีอายุตั้งแต่ 40 – 60 ปี

 

เปิดใจกับความเปลี่ยนแปลง โฟกัสสิ่งที่อยู่ข้างหน้ามากกว่าสิ่งที่เสียไป

ทุกสิ่งย่อมมีการเปลี่ยนแปลง แม้ว่าที่ผ่านมาทุกอย่างในชีวิตจะดีมากแค่ไหน แต่เมื่อเวลาผ่านไป ความรู้ ประสบการณ์ หรือแม้แต่ความปลอดภัยด้านต่าง ๆ ที่เคยมีในชีวิต ก็เปลี่ยนแปลงตามไปได้ทั้งนั้น เพียงแต่เมื่อการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เราต้องเปิดใจให้กว้างและทำความเข้าใจกับชีวิต เพื่อรับมือกับมันให้ได้

 

ลองตั้งคำถามกับตัวเองดูว่าเราอยากจะเปลี่ยนแปลงอะไรให้ชีวิตดีขึ้นบ้างเพื่อจะได้โฟกัสสิ่งที่อยู่ข้างหน้ามากกว่าการคิดถึงสิ่งที่สูญเสียไปแล้วซ้ำ ๆ นอกจากนี้เราไม่ควรเปรียบเทียบสถานการณ์ชีวิตตัวเองกับคนอื่นเพราะไม่ส่งผลดีอะไรกับเราเองเลย

4 วิธีรับมือ เมื่อวิกฤติวัยกลางคนทำให้เราหมดไฟ


คุยกับคนที่มีพลังบวก

อย่าคิดว่าเราอยู่คนเดียวบนโลก พยายามออกไปคุยกับคนที่มีพลังบวกให้มาก ๆ อาจจะเป็นเพื่อน เพื่อนร่วมงาน ครอบครัว ที่ปรึกษาด้านอาชีพและชีวิต หรือจิตแพทย์ก็ได้ บางครั้งวิกฤติวัยกลางคนก็มาพร้อมกับสัญญาณที่บอกว่าเราหมดความสนใจในเรื่องที่เคยมีความสุขทุกครั้งที่ได้ทำ การได้พูดคุย พบปะกับคนที่สนใจเรื่องเดียวกันจะช่วยให้ชีวิตของเราเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น

 

เริ่มตั้งเป้าหมายใหม่แล้วลงมือทำ

ถึงแม้ที่ผ่านมาเป้าหมายในชีวิตและการทำงานของเราจะยังไม่มีอะไรสำเร็จ แต่ทุกอย่างก็เริ่มต้นใหม่ได้ทั้งนั้น ดังนั้นก็ลองเอาช่วงวัยนี้เป็นโอกาสในการตั้งเป้าหมายใหม่สักอย่าง แล้วเริ่มลงมือทำเลย อาจรื้อฟื้นความฝันวัยเด็ก หรือสิ่งที่เราคิดมานานแล้วแต่ไม่ได้ลงมือทำสักทีก็ได้

 

ตัวอย่างง่าย ๆ เช่น ตั้งเป้าหมายว่าจะเรียนรู้ภาษาใหม่ ๆ พัฒนาทักษะที่เกี่ยวกับ IT หรือ Data ที่น่าจะเป็นประโยชน์กับการทำงานและเกี่ยวข้องกับงานของเรามากขึ้น หรือตั้งใจจะเข้าไปทำงานอาสาสมัครและช่วยเหลือสังคมในส่วนที่เราทำได้

 

6 เคล็ดลับจุดไฟในการทำงานขึ้นมาอีกครั้ง

 

กลับมาเป็นนักเรียนอีกครั้ง

หลายครั้งที่การหมดไฟเกิดจากการที่ต้องทำอะไรซ้ำ ๆ อยู่กับสิ่งเดิม ๆ นานจนเกินไป ตื่นนอนแต่เช้า เข้างาน ประชุมกับทีม ตอบอีเมล วนซ้ำไปอย่างนี้ทุก ๆ วัน การลองกลับมาทำตัวเป็นนักเรียน เรียนรู้เรื่องที่สนใจอีกครั้งแล้ววางแผนทำสิ่งเหล่านั้นอย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นการไปเข้าอบรมสัมมนาและสมัครเรียนคอร์สออนไลน์ นอกจากจะทำให้เราได้เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ แล้วยังจะช่วยให้มุมมองต่อชีวิตของเราเปลี่ยนไปได้ด้วย

 

ทำสิ่งที่มีคุณค่าและสร้างประโยชน์ต่อคนและสังคม

การออกไปช่วยเหลือคนอื่น จะช่วยให้เรารู้สึกว่าตัวเองเป็นคนที่มีคุณค่าและสร้างประโยชน์ให้กับคนและสังคมได้ และการที่เราเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คนอื่นมีชีวิตที่ดี บรรลุเป้าหมาย และมีความสุขก็ยังจะช่วยทำให้เรามีความสุขตามไปด้วยได้เช่นกัน ไม่แน่ว่าจุดเปลี่ยนเล็ก ๆ แบบนี้จะเป็นส่วนช่วยให้เรากลับมารู้สึกมีไฟและอยากท้าทายกับชีวิตของตัวเองมากขึ้นก็ได้

 

ถ้าวันนึงเราตื่นขึ้นมาตอนเช้าแล้วรู้สึกไม่อยากลุกไปทำงาน ก็จงอย่าเอาแต่จมอยู่กับความคิดลบ ๆ อารมณ์หดหู่ และท้อใจ เพราะมีแต่ความเข้าใจตัวเองเท่านั้นที่จะช่วยให้เราคลายปัญหานี้ได้ ค่อย ๆ ปรับมุมมองและเปิดใจให้กว้างเข้าไว้  เราเชื่อเสมอว่าคนทำงานวัยกลางคนที่กำลังเจอปัญหาวิกฤตินี้จะสามารถผ่านพ้นปัญหาและกลับมามีไฟในการทำงานได้อีกครั้งแน่นอน

 

หัวหน้าต้องทำยังไง ถ้าอยากให้พนักงานกลับมามีไฟอีกครั้ง

 

ฝากประวัติเพื่อหางานที่ใช่ได้ ที่นี่

 

 
JobThai Official Group เพื่อการหางาน หาคน และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงาน
Public group · 90,000 members
Join Group
 

 

ที่มา :

mindtools.com

monster.com

forbes.com

tags : คนทำงาน, เคล็ดลับการทำงาน, วิกฤติวัยกลางคน, เคล็ดลับสำหรับคนทำงาน, แนวคิดในการทำงาน, career&tips, ความสุขในการทำงาน



ติดตามข่าวสารและเรื่องราวดีๆ ทาง Email

ขอบคุณสำหรับการติดตาม