ปัจจุบัน โลกแห่งธุรกิจนั้นหมุนไปด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ถูกสร้างขึ้นมาเป็นตัวช่วยสำหรับคนทำงาน ยิ่งองค์กรหรือบริษัทไหนมี Marketing Technology หรือ Martech ที่เพียบพร้อมและหลากหลาย รวมถึงมีบุคลากรที่เข้าใจวิธีการใช้งานเครื่องมือเหล่านี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ โอกาสที่ธุรกิจจะประสบผลสำเร็จก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นเราจึงไม่ควรมองข้ามเทคโนโลยีทางการตลาดและหันมาเรียนรู้เครื่องมือเหล่านี้อย่างจริงจัง
สำหรับใครที่ต้องการทำความรู้จักกับ Martech หรืออยากเริ่มนำ Martech มาใช้งานในองค์กรแต่ไม่รู้จะเริ่มยังไงดี วันนี้ JobThai ได้สรุปเนื้อหาการบรรยาย Session ‘Martech 101: รู้ก่อน รุ่งก่อน! ติดปีกให้ธุรกิจด้วยความรู้เรื่อง Martech’ จากงาน CREATIVE TALK CONFERENCE 2022 ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 25-26 มิถุนายนมาฝาก ซึ่ง Session นี้ก็ได้รับเกียรติจากคุณสิทธินันท์ พลวิสุทธิ์ศักดิ์ Co-Founder แห่ง Content Shifu มาเป็นวิทยากรบรรยาย เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่ง Session ที่ความรู้อัดแน่นและได้แนวทางการทำธุรกิจผ่าน Martech แบบจัดเต็มสุด ๆ
ติดตามบทความจากงาน CTC Creative Talk Conference 2022 ทั้งหมดได้ ที่นี่
|
|
หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่า Martech กันมาบ้าง แต่ไม่รู้ว่า Martech คืออะไรและเข้าใจว่าเป็นสิ่งที่อยู่ไกลตัว แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่เลย Martech นั้นโคจรอยู่รอบตัวเรามาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็น Chatbot หรือบอตตอบข้อความอัตโนมัติตาม Social Media ต่าง ๆ ที่คอยทำหน้าที่ตอบคำถามลูกค้าในเวลากลางคืนที่ไม่มี Admin ดูแล หรือ Abandoned Cart Reminder ที่เรามักเห็นกันบ่อย ๆ ตามแพลตฟอร์ม E-commerce ซึ่งเป็นระบบเตือนลูกค้าอัตโนมัติเวลาที่ลูกค้าหยิบของใส่ตะกร้าเอาไว้แล้วไม่ได้กดดำเนินการชำระเงินต่อ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็น Martech ทั้งสิ้น
โดยคุณสิทธินันท์ได้อธิบายความหมายของ MarTech เอาไว้ว่า Martech นั้นมาจากคำ 2 คำรวมกัน ได้แก่ Marketing และ Technology
ดังนั้น Marketing Technology จึงหมายถึงนวัตกรรมที่ช่วยให้เราเข้าใจลูกค้า รับรู้ความต้องการของลูกค้า และนำเสนอในสิ่งที่ลูกค้าต้องการได้นั่นเอง ซึ่งคนที่ใช้งาน Martech นั้นไม่ได้ถูกจำกัดเอาไว้แค่กลุ่มนักการตลาดหรือฝ่าย Marketing เท่านั้น แต่คนที่มีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นทีม Customer Service ที่ต้องคอยปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า ทีม Analyst ที่คอยวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ หรือทีมอื่น ๆ ก็สามารถใช้ Martech เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้
โดยคุณสิทธินันท์ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของ Martech เอาไว้ด้วยว่าในปัจจุบัน Martech นั้นแทบจะกลายเป็นเนื้อเดียวกันกับการทำ Marketing แล้ว ไม่สามารถแยกจากกันได้ ดังนั้นใครที่ไม่ทำความเข้าใจหรือปฏิเสธ Martech ก็เท่ากับกำลังปฏิเสธโอกาสในการทำให้ธุรกิจเติบโตและอยู่รอดต่อไป
ปัญหาส่วนมากที่พบในกลุ่มคนที่ต้องการนำ Martech มาใช้งานคือไม่รู้ว่าจะเอาไปใช้ทำอะไร ใช้ตอนไหนและใช้ยังไง นอกจากนี้ยังมีเรื่องของราคาอีกด้วย เพราะ Martech ที่มีฟีเจอร์หลากหลายก็มักจะมาพร้อมกับราคาที่ค่อนข้างสูง หากลงทุนซื้อ Martech มาแต่ไม่มีคนใช้งาน ใช้งานไม่เป็น หรือใช้แล้วไม่เวิร์กเหมือนกับแบรนด์อื่น ๆ ก็อาจเสียค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ไปโดยเปล่าประโยชน์ได้
คุณสิทธินันท์ได้ให้คำแนะนำสำหรับปัญหาเรื่องนี้เอาไว้ว่า ถ้าเราตัดสินใจนำ Martech มาใช้งานในองค์กร เราควรมี Framework หรือเค้าโครงสำหรับการใช้งาน Martech ด้วย ซึ่ง Framework นี้เรียกว่า 4Ps of Martech
Framework for Using Martech: 4Ps of Martech จาก Martech Alliance
1. Plan: ทำไมเราถึงต้องนำ Martech มาใช้ (Why)
เวลาเห็นซอฟต์แวร์หรือเครื่องมือใหม่ ๆ ที่มาพร้อมฟีเจอร์เจ๋ง ๆ หลายคนมักเกิดความรู้สึกอยากนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้งานโดยที่ยังไม่รู้ว่าเราจะเอามาใช้ทำอะไร ซึ่งเป็นการเริ่มต้นที่ผิด เราควรเริ่มจากการทบทวน Business Objective ของเราก่อนว่าเรามีเป้าหมายและจุดประสงค์อย่างไรในการทำธุรกิจ จากนั้นจึงค่อยเลือก Martech มาใช้งานให้เหมาะสมกับจุดประสงค์ของเรา
2. People: ใครเป็นผู้ใช้งาน (Who)
เมื่อเราตัดสินใจนำ Martech มาใช้ เราก็จำเป็นต้องมีผู้ใช้งาน Martech ด้วย หลังจากที่เรารู้แล้วว่าเราจะใช้ Martech ในส่วนไหนของการทำงาน เราก็ต้องดูว่าคนที่เกี่ยวข้องกับงานส่วนนั้นเป็นใคร และเตรียมความพร้อมให้คนกลุ่มนั้น
3. Platforms: Martech อะไรที่เราจะใช้งาน (What)
Martech ที่เราควรใช้ไม่ใช่ Martech ที่ถูกที่สุดหรือฟีเจอร์เยอะที่สุด แต่เป็น Martech ที่เหมาะสมกับธุรกิจและสถานการณ์ปัจจุบันของเรามากที่สุด ถ้าธุรกิจของเราเพิ่งเริ่มต้น ก็อาจจะเริ่มใช้จากตัวที่ไม่มีค่าใช้จ่ายก่อนก็ได้ แต่ถ้าธุรกิจของเราเติบโตมาได้ระดับหนึ่ง อยู่ในระยะขยายตัว หรือเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ เราก็อาจจะต้องลงทุนกับ Martech มากขึ้น โดยมองหาเครื่องมือที่มีฟีเจอร์ครบครัน พร้อมเติมเต็มธุรกิจของเราให้ดียิ่งขึ้น
4. Process: เราจะเริ่มใช้งานยังไง (How)
เมื่อตอบคำถามใน Framework ทั้ง 3 อย่างไปแล้ว ก็มาถึงสิ่งสุดท้ายนั่นคือเรื่องของขั้นตอนการใช้งาน โดยเราจะเริ่มใช้ Martech ได้ก็ต้องผ่านกระบวนการ 2 อย่าง ดังนี้
-
Implementation หรือขั้นตอนของการติดตั้งและเชื่อมต่อ Martech เข้ากับ Tools ตัวอื่น ๆ
-
Operation หรือขั้นตอนของการใช้งาน Martech เพื่อทำการตลาด โดยหลังจากที่เราติดตั้งเสร็จแล้ว เราต้องไม่ลืมศึกษาวิธีการใช้งาน หรือทำ On-boarding เพื่อสอนให้คนในทีมรู้จักการใช้งาน Martech ด้วย
หลังจากอธิบาย Framework การใช้งานเสร็จแล้ว คุณสิทธินันท์ก็ได้แนะนำ Martech ประเภทต่าง ๆ ทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ ซึ่งมีทั้งแบบฟรีและแบบมีค่าใช้จ่าย โดย Martech สามารถแบ่งประเภทคร่าว ๆ ได้ 6 ประเภท ดังนี้
1. ประเภท Advertising & Promotion (การโฆษณาและการโปรโมต)
- Martech สำหรับ Social Ads & Search Ads
จุดประสงค์: ช่วยให้เราเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น แก้ปัญหาเรื่องการทำโฆษณาแบบ Mass มีราคาสูง ทำให้เราต้องเสียค่าใช้จ่ายในการลงทุนเยอะโดยไม่รู้ว่าผลจะออกมาเวิร์กไหม แต่ถ้าเราใช้ Martech สำหรับการทำโฆษณาใน Social Media หรือ Search Engine ก็สามารถทดลองกับกลุ่มเป้าหมายไปทีละนิดทีละหน่อยได้ อีกทั้งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ด้วย
Martech ที่แนะนำ: Meta Business Suite, Twitter Business, TikTok for Business, Google Ads
- Martech สำหรับ Display & Programmatic Advertising
จุดประสงค์: ช่วย Optimize โฆษณาอัตโนมัติโดยที่เราไม่ต้องคอย Monitor เอง ช่วยประหยัดต้นทุนด้านทรัพยากรมนุษย์ เช่น ถ้าโฆษณายอดไม่ดี Martech ที่เป็นบอตก็จะระงับโฆษณาตัวนั้นให้เราโดยอัตโนมัติ หรือถ้าโฆษณาทำยอดได้ดี บอตก็จะเพิ่มงบหรือปล่อยให้โฆษณาตัวนั้น Run ต่อไป
Martech ที่แนะนำ: Madgicx, Revealbot, AdEspresso by Hootsuite
- Martech สำหรับ CMS (Content Management System)
จุดประสงค์: ช่วยให้คนที่ไม่มีความรู้เรื่องการทำเว็บไซต์สามารถสร้างเว็บไซต์และอัปเดตคอนเทนต์ของตัวเองได้โดยไม่ต้องพึ่งพา Developer
Martech ที่แนะนำ: WordPress, Wix, Ketshopweb, MakeWebEasy
2. ประเภท Content & Experience (คอนเทนต์และประสบการณ์)
จุดประสงค์: ช่วยแก้ปัญหาเรื่องข้อจำกัดในการส่งอีเมล เช่น สามารถส่งอีเมลได้แค่หลักร้อยฉบับต่อวัน โดยที่เราไม่สามารถ Track หรือวัดผลจากอีเมลที่เราส่งออกไปได้ว่ามีคนเปิดอีเมลกี่คน กด Link ในอีเมลเท่าไหร่
Martech ที่แนะนำ: Mailchimp, MailerLite, Taximail
จุดประสงค์: ช่วยแก้ปัญหาเรื่องการทำการตลาดแบบเหมารวมแต่ให้ผลลัพธ์ที่ไม่ดี เช่น การทำ Blast Email ที่ส่งข้อมูลหรือคอนเทนต์เดียวกันไปให้ลูกค้าหลาย ๆ คน ซึ่งในกลุ่มลูกค้าที่ได้รับอีเมลก็อาจไม่ได้ชอบคอนเทนต์ที่เราส่งไปทั้งหมด Martech ประเภทนี้ก็จะเข้ามาช่วยเก็บข้อมูลของลูกค้าแต่ละคนและช่วยเรา Personalize คอนเทนต์ที่ตรงใจลูกค้ามากขึ้น
Martech ที่แนะนำ: ActiveCampaign, HubSpot, Sendinblue, PAM (Push and Motion)
จุดประสงค์: ช่วยให้เราทำคอนเทนต์ให้ติดหน้าแรกของ Google ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดย Martech ประเภทนี้จะช่วยให้เราสามารถดูข้อมูลของ Keywords ต่าง ๆ ที่คนนิยมเสิร์ชได้
Martech ที่แนะนำ: Ubersuggest, Ahrefs, Semrush
จุดประสงค์: ช่วยให้คนที่ไม่รู้วิธีใช้งาน Adobe Photoshop, Adobe Illustrator และ Adobe Premiere Pro หรือใช้ได้ไม่คล่องสามารถออกแบบรูปภาพหรือตัดต่อวิดีโอแบบง่าย ๆ ได้
Martech ที่แนะนำ: Canva, VistaCreate, InVideo, Vyond
3. ประเภท Social & Relationships (โซเชียลและความสัมพันธ์)
จุดประสงค์: ช่วยให้เราสามารถบริหารจัดการคอนเทนต์ใน Social Media แต่ละแพลตฟอร์มได้ในที่เดียว ไม่ต้องจัดการแยกทีละแพลตฟอร์ม
Martech ที่แนะนำ: Buffer, Hootsuite, Publer
จุดประสงค์: ช่วยในการ Support ลูกค้าผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น Call, Email, LINE, Facebook Messennger เพราะข้อมูลของแต่ละแพลตฟอร์มจะถูกนำมาเชื่อมต่อกัน
Martech ที่แนะนำ: Zendesk, Freshdesk
จุดประสงค์: ช่วยเก็บข้อมูลและสื่อสารกับลูกค้า รวมถึงจัดการ Loyalty Program ที่ช่วยในการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า
Martech ที่แนะนำ: ChocoCRM, PRIMO, Loga
จุดประสงค์: ช่วยแก้ปัญหาเรื่องข้อมูลไม่เชื่อมถึงกัน เช่น ข้อมูลของลูกค้าถูกเก็บไว้ที่ Sales เยอะ ถ้า Sales ลาออก ข้อมูลก็จะหายไปด้วย โดย Martech ประเภทนี้ก็จะเข้ามาช่วยเราเก็บข้อมูล ทำให้เราสามารถ Track และดูความสัมพันธ์ของข้อมูลแต่ละอย่างได้ง่ายขึ้น
Martech ที่แนะนำ: Salesforce, HubSpot, R-CRM, Venio
จุดประสงค์: ช่วยในการซื้อขายตั๋ว จัดงานหรือโปรโมตอีเวนต์ที่มีรายละเอียดมาก รวมถึงเป็นช่องทางในการ Stream และจัดสัมมนาต่าง ๆ
Martech ที่แนะนำ: Zipevent, Eventpop, Zoom, StreamYard
4. ประเภท Commerce & Sales (การพาณิชย์และการขาย)
จุดประสงค์: ช่วยสร้างระบบหรือช่องทางสำหรับ E-commerce แบบง่าย ๆ
Martech ที่แนะนำ: WooCommerce, Adobe Commerce Cloud, Ketshopweb, LnwShop
จุดประสงค์: เป็นระบบ Chatbot ช่วยตอบข้อความแทน Admin
Martech ที่แนะนำ: Kaojao, ZWIZ.AI, AIYA, LINE MyShop
จุดประสงค์: ช่วยบริหารช่องทางขายของต่าง ๆ จัดการสต๊อกออนไลน์ รวมถึงส่งต่อข้อมูลไปยังระบบ Shipping
Martech ที่แนะนำ: xCOMMERCE, ZORT, MY CLOUD, Siam Outlet
5. ประเภท Data (ข้อมูล)
จุดประสงค์: ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ เช่น จำนวนคนเข้าเว็บไซต์มีมากแค่ไหน เป็นเพศอะไร อายุเท่าไหร่ สนใจอะไรในแพลตฟอร์ม ฯลฯ
Martech ที่แนะนำ: Google Analytics, AppsFlyer, Fathom Analytics
จุดประสงค์: ช่วย Test เว็บไซต์ว่าการปรับแต่งแบบไหนช่วยสร้าง Conversion ได้ดีกว่า คนมีปฏิสัมพันธ์กับเว็บไซต์ของเรายังไง คลิกส่วนไหนเยอะ ช่วยให้เราดีไซน์แพลตฟอร์มได้ดีขึ้น
Martech ที่แนะนำ: Google Optimize, Hotjar, Microsoft Clarity
จุดประสงค์: ช่วยให้เรารับรู้ว่าลูกค้าพูดถึงเรายังไงบ้าง ชมหรือติเราอยู่ เหมาะกับแบรนด์ที่มีลูกค้าจำนวนมาก
Martech ที่แนะนำ: DOM, WISESIGHT, Mandala
จุดประสงค์: ช่วยรวมข้อมูลและดึง Data จากหลาย ๆ ช่องทางให้มาอยู่ในที่เดียวกัน แล้ว Visualize ออกมาให้เป็นกราฟหรือ Chart ต่าง ๆ
Martech ที่แนะนำ: Data Studio, Power BI
จุดประสงค์: ช่วยในการเชื่อมต่อหรือส่งต่อข้อมูลระหว่าง Tools ต่าง ๆ โดยไม่ต้องพึ่งพา Developer
Martech ที่แนะนำ: Zapier, Automate.io, Pabbly
6. ประเภท Collaboration (การทำงานร่วมกัน)
จุดประสงค์: ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานภายในทีมและต่างทีม แก้ปัญหาเรื่องการไม่รู้รายละเอียดของงาน เช่น งานนี้ใครเป็นคนดูแล กำหนดส่งงานเมื่อไหร่ งานนี้อยู่ในขั้นตอนไหนแล้ว ฯลฯ
Martech ที่แนะนำ: Trello, Asana, Notion, ClickUp
จุดประสงค์: ช่วยแยก Chat เรื่องงานกับเรื่องส่วนตัวออกจากกัน สร้างพื้นที่ติดต่อสื่อสารสำหรับการทำงานโดยเฉพาะ สามารถเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชันหรือ Tools สำหรับการทำงานอื่น ๆ ได้ด้วย
Martech ที่แนะนำ: Slack, Lark
ก่อนจะปิด Session นี้ คุณสิทธินันท์ก็ได้ยกคำถามที่ใครหลาย ๆ คนสงสัยขึ้นมาว่าในอนาคต Martech จะมาแทนที่คนหรือเปล่า เพราะสิ่งที่เราทำได้ Martech เองก็ทำได้เช่นกัน เผลอ ๆ อาจะทำได้ถูกต้องและแม่นยำกว่าเราด้วยซ้ำ ซึ่งคุณสิทธินันท์ก็ได้ให้คำตอบว่า Martech นั้นไม่ได้มาแทนที่เรา แต่มาช่วยให้เราส่องแสงในการทำงานมากขึ้น
“Martech doesn’t replace, but empowers human”
Martech ไม่ได้มาแทนที่ แต่มาช่วยยกระดับการทำงานของมนุษย์
Martech กับคนนั้นจะไปด้วยกันได้ดีถ้าเรารู้จักวิธีทำงานร่วมกัน งานไหนที่เป็นงาน Routine ต้องทำเหมือนเดิมซ้ำไปซ้ำมา สามารถ Automate ได้ หรือเป็นงานที่กินเวลาและต้องใช้สมองในการประมวลผล ต้องการความถูกต้องแม่นยำ เช่น งาน Data เราก็ปล่อยให้ Martech จัดการงานในส่วนนั้นไป แล้วให้คนไปดูแลงานในพาร์ทของการ Create อะไรใหม่ ๆ ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ หรือต้องสร้างความสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ แทน
แม้ CTC2022 จะจบลงไปแล้ว แต่สำหรับใครที่ซื้อตั๋วเข้าร่วมงานแบบออนไลน์เอาไว้ สามารถรับทั้ง 61 Sessions แบบย้อนหลังเพื่อเก็บตก Session ที่ตัวเองสนใจได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2022 เป็นต้นไป และดูได้ต่อเนื่องนาน 3 เดือน จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2022 รวมถึงสามารถติดตามข่าวสารของการจัดงาน CTC ครั้งต่อ ๆ ไปได้ตามช่องทางนี้
JobThai Official Group เพื่อการหางาน หาคน และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงาน