งาน AP Thailand presents CREATIVE TALK CONFERENCE 2024 หรือ CTC2024 มหกรรมอัปเดตเทรนด์ความรู้ประจำปีสำหรับคนทำงานและคนทำธุรกิจกลับมาในธีม “Creative Generation” ที่จะพาทุกคนไปเจาะลึกการบริหารธุรกิจ การวางกลยุทธ์การตลาด การพัฒนาตัวเอง ไปจนถึงการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อสร้าง Creative Economy ในยุคที่โลกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและ AI ซึ่งจัดขึ้น 2 วันเต็ม ณ ไบเทค บางนา เมื่อวันที่ 7-8 มิถุนายน 2024 ที่ผ่านมา ภายในงานจะมีประเด็นหรือเทรนด์อะไรที่น่าสนใจบ้าง JobThai สรุปมาให้ทุกคนแล้วในบทความนี้!
ส่องเซสชันบรรยายที่น่าสนใจจากงาน CTC2024
จุใจกับเซสชันเสวนาและบรรยายเกี่ยวกับเทรนด์ที่คนทำงานและคนทำธุรกิจต้องรู้กว่า 60 เซสชัน นำทัพด้วยสปีกเกอร์ชั้นนำกว่า 100 ท่าน ทั้งวิทยากรไทยและต่างชาติ เซสชันไหนที่มีประเด็นน่าสนใจ JobThai สรุปเนื้อหามาให้แล้ว ไปดูกันเลย!
ในเซสชันเปิดงาน คุณเก่ง คุณสิทธิพงศ์ ศิริมาศเกษม ผู้ก่อตั้ง CREATIVE TALK ได้เล่าที่มาของ “Creative Generation” ธีมงานในปีนี้ให้เราฟังว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับคนไทยเรามาตลอด สังเกตได้จากการทำแคมเปญหรือการทำคอนเทนต์ต่าง ๆ คนไทยมักมีไอเดียเจ๋ง ๆ หรือลูกเล่นใหม่ ๆ มานำเสนอและปรับใช้กับงานอยู่ตลอด ซึ่งการนำเอา Creativity มาใส่ในการทำงานและธุรกิจนี่แหละคือหัวใจสำคัญที่ช่วยให้สิ่งที่เราทำได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น
ในยุคที่เรามีเทคโนโลยี AI และเครื่องมือต่าง ๆ มาช่วยแบ่งเบางานให้เรามากมาย อีกทั้งงานยังมีประสิทธิภาพจนบางคนอาจมองว่า AI จะมาแทนที่มนุษย์เราหรือเปล่า แต่คุณเก่งก็มองว่าสิ่งหนึ่งที่แยกมนุษย์กับ AI ออกจากกันคือ ‘ความคิดสร้างสรรค์’ ต่อให้เรามี AI ให้ใช้งาน แต่ถ้าเราไม่มีไอเดีย ไม่มี Input เอาไว้ป้อนให้กับเทคโนโลยีเหล่านี้ งานก็ออกมาไม่ได้ เพราะฉะนั้นความคิดสร้างสรรค์จึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในยุค Creative Generation แต่จะทำยังไงให้คนทำงานมี Creativity ล่ะ? คุณเก่งได้ฝากแนวทางเอาไว้ให้เรา 3 ข้อ
-
Create Engagement เราต้องทำให้คนในองค์กรมีส่วนร่วมในการนำเสนอไอเดีย สร้าง Psychological Safety หรือพื้นที่ปลอดภัยทางจิตใจให้เขารู้สึกกล้าที่จะพูดในสิ่งที่คิด กล้านำเสนอไอเดียต่าง ๆ
-
Open for Creativity เปิดรับความหลากหลายและความแตกต่างของทุกคนในองค์กรเพื่อนำไปสู่การสร้างสรรค์อะไรใหม่ ๆ
-
Embrace the Dreamer โอบรับและสนับสนุนคนที่เป็น ‘นักฝัน’ บางครั้งเวลาเราแชร์ไอเดียกันภายในองค์กร จะมีกลุ่มที่คอยขัดว่าทำไม่ได้หรอก ยากเกินไป ไม่เวิร์ก และกลุ่มที่ช่วยซัปพอร์ต ต่อให้ไอเดียดูเป็นไปไม่ได้ก็ไม่เป็นไร ลองดูก่อน ช่วยกันหาข้อมูลเพิ่มเติมว่าจะทำไอเดียนั้นให้เป็นจริงได้ยังไง เราต้องเพิ่มจำนวนของคนกลุ่มหลังให้มากขึ้นเพื่อช่วยสร้างสภาพแวดล้อมให้คนกล้าคิด กล้าทำ กล้าลองสร้างสรรค์อะไรใหม่ ๆ
ในเซสชันนี้จะเป็นการพูดคุยอัปเดตเทรนด์ต่าง ๆ ในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมาว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง และในอนาคตทิศทางของเทรนด์เหล่านี้มีแนวโน้มไปทางไหน โดยเทรนด์ที่หยิบมาเจาะลึกก็ครอบคลุมถึง 5 ด้าน ได้แก่ เทรนด์ความคิดสร้างสรรค์ เทรนด์การตลาด เทรนด์นวัตกรรม เทรนด์ธุรกิจและเศรษฐกิจ และเทรนด์การบริหารคน
จากการรวบรวมข้อมูลทั่วเอเชีย พบว่ามี 4 เทรนด์ที่น่าจับตา ได้แก่
- AI-powered Dreamscapes การนำ Generative AI มาใช้สร้างสรรค์ผลงานครีเอทีฟที่มีสไตล์แฟนตาซี เหนือจินตนาการ หลุดจากความเป็นจริง
-
Sustainable Aesthetics การนำแนวคิดสนับสนุนความยั่งยืนมาใช้ในกระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน
-
Nostalgia with a Twist การนำไอเดีย สไตล์ หรือเทรนด์เก่า ๆ มาผสมผสานในการสร้างผลงานเพื่อดึงเอาความรู้สึก Nostalgia หรือการหวนรำลึกถึงวันวานขึ้นมาอีกครั้งในแบบที่ต่างไปจากเดิม
-
Social Fragmentation หรือการแบ่งกลุ่มแยกย่อยของสังคม ซึ่งถือเป็นเทรนด์ที่เรียกได้ว่าน่าโฟกัสมากที่สุดในช่วงนี้ โดยปกติแล้วเวลาทำการตลาด เราต้องมีการทำ Segmentation เพื่อแบ่งกลุ่มเป้าหมายว่าเราจะเจาะตลาดกลุ่มไหน และเรามักคิดว่าเราแบ่งกลุ่มโดยละเอียดแล้ว แต่ในความเป็นจริง สังคมมีการแบ่งกลุ่มยิบย่อยมากกว่าที่เราคิด โลกนี้มีตลาด Niche เยอะอย่างที่เราคาดไม่ถึง หรือแม้แต่แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียเอง จากที่เคยมีแค่ไม่กี่แพลตฟอร์ม ตอนนี้ก็แตกแขนงออกไปอีกหลากหลาย การทำแคมเปญใหญ่ ๆ เพื่อเจาะกลุ่ม Mass จึงอาจไม่ได้ผลเสมอไปอีกแล้ว เราควรเริ่มหันมาสนใจทำการตลาดกับกลุ่มลูกค้าที่เป็น Niche หรือมีความชอบความสนใจเฉพาะตัวมากขึ้น
-
AI TRiSM การจัดการความน่าเชื่อถือ ความเสี่ยง และความปลอดภัยของ AI
-
CTEM (Continuous Threat Exposure Management) การจัดการการคุกคามทางไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง
-
Sustainable Technology เทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืน
-
Platform Engineering การสร้าง Self-service Platform ให้กับนักพัฒนา
-
AI-Augmented Development การใช้ AI เพื่อช่วยนักพัฒนาสร้างซอฟต์แวร์ให้มีคุณภาพ
-
Industry Cloud Platform ระบบคลาวด์สำหรับอุตสาหกรรม
-
Intelligent Applications แอปพลิเคชันอัจฉริยะที่มีระบบ AI ปรับเปลี่ยนการใช้งานตาม User ได้
-
Democratized Generative AI การใช้ AI สร้างคอนเทนต์ที่สร้างสรรค์และเป็นกระแสนิยม
-
Augmented Connected Workforce การสร้างมูลค่าที่ได้มาจากแรงงานมนุษย์ให้เหมาะสมที่สุด
-
Machine Customers ลูกค้าจะกลายเป็นระบบ AI มากขึ้น เช่น บอตกดบัตรคอนเสิร์ตหรือสินค้า Limited ต่าง ๆ
โดยสรุปแล้ว ภาพรวมของเทรนด์ด้านนวัตกรรมค่อนข้างหนักไปทางเทคโนโลยี AI และการจัดการความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการใช้ AI เช่น การละเมิดลิขสิทธิ์หรือข้อมูลส่วนบุคคล นอกจากเทรนด์ด้าน AI แล้ว เทรนด์เรื่องความยั่งยืนก็ยังคงเป็นกระแสที่ได้รับความสนใจอยู่
หัวใจในการรักษาคนเก่งให้อยู่กับองค์กรนาน ๆ คือผลตอบแทนที่เหมาะสม (Fair Pay) สวัสดิการ และเรื่องของการเรียนรู้ ต้องมีการสนับสนุนให้พนักงานพัฒนาความรู้และทักษะของตัวเองอยู่เสมอ
“ประเทศไทยในอีก 10 ปีข้างหน้าจะมีอาชีพหรือทักษะอะไรบ้างที่เป็นที่ต้องการ?” เป็นคำถามที่ใครหลาย ๆ คนสงสัย เพราะในยุคนี้ทุกสิ่งทุกอย่างมาไวไปไว ทักษะบางอย่างที่เคยเป็นเทรนด์ ใคร ๆ ก็มองหา ในอนาคตอาจกลายเป็นทักษะทั่วไปไม่ได้โดดเด่นก็ได้ สำหรับคำถามนี้ คุณพิธามองว่าขึ้นอยู่กับเป้าหมายและแผนในการพัฒนาประเทศ ต้องมี Framework ก่อนว่าจุดแข็งและจุดอ่อนของประเทศไทยคืออะไร ความเสี่ยงและโอกาสมีอะไรบ้าง เมื่อได้แผนการพัฒนาประเทศที่สามารถยึดเป็นเค้าโครงหลักได้แล้วก็พัฒนาทักษะตัวเองโดยอิงจากแผนนั้น
ซึ่งหลังจากทำ SWOT Analysis วิเคราะห์ความเป็นไปได้จากสถานการณ์ของประเทศไทยและปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลกแล้ว คุณพิธาก็ได้แชร์ 30 อาชีพที่มองว่าจะเป็นที่ต้องการในอนาคตตามคอนเซปต์ ‘เศรษฐกิจ 3 สี’ ได้แก่
-
Green Economy กลุ่มอาชีพที่ต่อยอดมาจากปัญหาภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เช่น ไฟป่า น้ำท่วม
-
Silver Economy กลุ่มอาชีพที่ต่อยอดมาจากปัญหาสังคมผู้สูงวัยและผู้ป่วยติดเตียง
-
Blue Economy กลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องกับปัญหาน้ำ เช่น ภาวะขาดแคลนน้ำในจังหวัดภูเก็ตหรือเกาะต่าง ๆ
ในเซสชันนี้ พ.ญ.พิยะดา หรือหมอเอิ้นได้มาแชร์ 4R Framework หรือวิธีการรับมือสำหรับคนทำงานที่ต้องเผชิญหน้ากับ Toxic People หรือคนที่มีพฤติกรรมเป็นพิษต่อใจในที่ทำงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ได้แก่
-
Recognize (รู้เท่าทัน)
เราต้องรู้เท่าทันอารมณ์ของตัวเอง ต่อให้โกรธหรือไม่พอใจก็ไม่ควรเอาอารมณ์ไปลงกับคนอื่น ไม่อย่างนั้นเราเองก็จะกลายเป็นคน Toxic ด้วยเช่นกัน นอกจากรู้ตัวเองแล้ว เราต้องรู้เขาและรู้สถานการณ์ด้วย พยายามทำความเข้าใจในสิ่งที่อีกฝ่ายแสดงออกมา และพิจารณาว่าสถานการณ์ตอนนี้เป็นยังไง จะได้หาทางรับมือได้ถูกต้อง
-
Respond (ตอบสนองอย่างเหมาะสม)
มีสติในการตอบรับ ลองวิเคราะห์ดูว่าสถานการณ์ตรงหน้าเป็นเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ สามารถปล่อยได้มั้ย หรือต้องเผชิญหน้าจริงจัง ถ้าเผชิญหน้าจะใช้วิธีไหน ต้องเข้าหาแบบอ้อม ๆ หรือสามารถเผชิญหน้าอย่างตรงไปตรงมาได้
-
Refocus (เปลี่ยนโฟกัส)
เมื่อเจอคนที่มีพฤติกรรม Toxic ให้เราเรียนรู้จากเขาว่าพฤติกรรมแบบไหนที่เราไม่ควรทำ จากนั้นย้ายมาสนใจในสิ่งที่เราควบคุมได้ อะไรที่เราควบคุมไม่ได้ก็ปล่อยวาง บอกตัวเองว่าช่างมัน
-
Recharge (เติมพลัง)
พยายามมองหาดูว่ากิจกรรมอะไรบ้างที่ช่วยให้เรามีความสุข ทำแล้วสบายใจ รู้สึกสงบ จากนั้นก็เติมพลังตัวเองกับสิ่งเหล่านั้น
ในเซสชันนี้ คุณบี อภิชาติ ได้มาแชร์ 3 แนวทางในการทำให้องค์กรของเรากลายเป็นองค์กรที่เซ็กซี่ น่าดึงดูดในสายตาของ Talent ได้แก่
-
องค์กรต้องระบุให้ได้ก่อนว่าอยากมีความสัมพันธ์แบบไหนกับพนักงาน ความสัมพันธ์ระยะสั้นหรือระยะยาว จากนั้นค่อยกำหนดสวัสดิการหรือเสนอ Offer ที่เหมาะสมให้กับเขา โดยความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับพนักงานไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกตำแหน่ง อย่างพนักงานขายเป็นตำแหน่งที่มีอัตราการลาออกสูง เหมาะกับความสัมพันธ์ระยะสั้น ถ้าเราเสนอการดูแลและสวัสดิการในระยะยาวให้ก็อาจไม่ตอบโจทย์เขา สิ่งสำคัญคือองค์กรต้องมองว่าพนักงานคือลูกค้า และตำแหน่งงานในบริษัทคือสินค้า จากนั้นก็คิดหาวิธีต่อว่าจะทำยังไงให้ลูกค้า (พนักงาน) สนใจสินค้า (ตำแหน่งงานว่างหรือองค์กร) และอุดหนุนสินค้าของเราต่อเรื่อย ๆ (ไม่ลาออกจากบริษัท)
-
องค์กรต้องทำความเข้าใจว่าลูกค้าคือใครและคู่แข่งคือใคร ลองดูว่าบริษัทอื่น ๆ เขาใช้วิธีไหนในการดึงดูด Talent เข้าองค์กร หรือลองพูดคุยสัมภาษณ์พนักงานเพื่อรวบรวมข้อมูล หา Insight ดูว่าอะไรที่ทำให้เขาตัดสินใจเลือกเรา จากนั้นก็นำข้อมูลทั้งหมดที่รวบรวมมาได้และการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับพนักงานในข้อแรกมาวิเคราะห์รวมกันเพื่อหา Unique Selling Point หรือจุดขายขององค์กร (อย่าลืมเช็กด้วยว่าจุดแข็งที่เราหาเจอนี้ใช่จุดขายจริง ๆ หรือเปล่า)
-
เมื่อเรารู้แล้วว่าอะไรคือจุดขายที่โดดเด่นขององค์กร ก็นำเสนอสิ่งนี้ออกไปภายนอก ถ้าเราเข้าใจลูกค้ามากพอและนำเสนอในสิ่งที่เขาอยากได้จริง ๆ เราก็จะดูเป็นองค์กรที่เซ็กซี่และน่าทำงานด้วยในสายตาของเขา
ในเซสชันนี้คุณแซมและคุณพิชเยนทร์ได้มาแชร์ประเด็นที่น่าสนใจในการทำธุรกิจ ได้แก่
-
สิ่งที่ผู้ประกอบการควรทำในช่วงนี้: อย่าเป็นเจ้าโปรเจกต์ที่ทำธุรกิจทุกอย่าง เลือกโฟกัสที่อย่างใดอย่างหนึ่งให้เต็มที่ หาให้เจอว่าเรามีดีตรงไหน แข็งแกร่งด้านไหน แล้วสู้ในการทำสิ่งนั้นต่อ อย่าจับปลาหลายมือ
-
นิยามของ Business Next Chapter: ธุรกิจคือเกมยาว เป็นเกมชีวิต ต้องรู้จักการบริหารความเสี่ยง (Risk Management) พยายามมองสิ่งต่าง ๆ ในระยะยาว เราสามารถทดลองทำอะไรใหม่ ๆ ได้แต่ต้องวางแผนจัดการกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นให้ดี อีกอย่างหนึ่งคือเรื่องของ Sustainability ต้องรู้จักปรับตัว ออกแบบธุรกิจให้สอดคล้องกับแนวคิดสนับสนุนความยั่งยืน
-
สิ่งที่ผู้ประกอบการควรเลิกทำ: เลิกตัดสินใจจาก Gut Feeling หรือเซนส์ความรู้สึกส่วนตัว วิ่งด้วยความคิดตัวเองเพียงอย่างเดียว แต่ต้องดู Data ประกอบ เอาข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจด้วย
-
สิ่งที่คนทำธุรกิจต้องระวัง: ระวังตัวเอง อย่ามองว่าตัวเองเป็นผู้ประกอบการ อยู่จุดสูงสุดจนเผลอปิดกั้นความคิด ต้องมี Open Attitude รู้จักฟังเสียงลูกน้องและคนอื่น ๆ ด้วย
ใครที่สนใจฟังเนื้อหาในเซสชันอื่น ๆ หรือใครที่พลาดโอกาสเข้าร่วมงานนี้ไป สามารถซื้อบัตรเพื่อรับชมทุกเซสชันย้อนหลังในรูปแบบออนไลน์ได้ทาง https://www.zipeventapp.com/e/CTC2024 ตั้งแต่วันนี้ - 9 ธันวาคม 2024