-
ถึงแม้จะขึ้นชื่อว่าวันหยุดก็ตาม แต่อย่าลืมว่าคนเราไม่ใช่เครื่องจักร ลองพยายามบริหารเวลาใหม่ กระจายงานให้คนอื่น ๆ ในทีมรับช่วงต่อบ้าง เพื่อให้มีวันหยุดจริง ๆ และได้ชาร์จพลังหรือพักสมองจากเรื่องงาน
-
บริษัทขนาดเล็กที่มีพนักงานไม่มากนัก ต้องมีแผนในการรองรับวันลาหยุดของคนในทีม ไม่งั้นคนที่ต้องรับภาระหนักในการทำงานแทนคนอื่นก็คือหัวหน้างานหรือเจ้าของธุรกิจอย่างเรา
-
หาที่ปรึกษาที่สามารถช่วยเราได้ มองหาคนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญที่จะคอยให้คำแนะนำกับเราได้ในเวลาที่ต้องเจอปัญหา เพราะจะทำให้ไม่ต้องเสียเวลานั่งจมอยู่กับปัญหาและแก้ไขปัญหานั้นเพียงคนเดียว
-
อย่ามัวแต่ตั้งหน้าตั้งตาทำงานให้ออกมาดีที่สุด ลองหาเวลาพักจากการทำงานกันเป็นทีมบ้าง เพราะการให้ลูกทีมได้ออกไปทำกิจกรรมนอกเวลางานด้วยกันเป็นตัวเลือกในการกระชับความสัมพันธ์ของคนในทีมและสร้างทีมเวิร์กได้
-
เมื่อเราตัดสินใจเลิกงานแล้ว การปิดเครื่องมือสื่อสารเพื่อหันมาใช้เวลากับตัวเองหรือกับครอบครัวก็เป็นสิ่งที่ควรทำ อย่าให้งานมาเบียดเบียนเวลาส่วนตัวของเรากับคนในครอบครัว
|
|
JobThai Mobile Application หางานง่าย ได้งานที่ใช่ โหลดเลย!
|
|
หลายคนคงเคยได้ยินกันมาบ้างแล้วว่ายิ่งเรามีตำแหน่งสูงมากเท่าไหร่ ภาระและหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบก็จะสูงมากเท่านั้น ซึ่งเราไม่มีทางสัมผัสมันได้เลยจนกว่าจะมาเจอกับตัวเอง แม้การบริหารคนและบริหารงานดูจะเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดในการทำงาน แต่จริง ๆ แล้วอีกสิ่งหนึ่งที่เป็นปัจจัยหลักสำหรับการทำงานนั่นก็คือ “สุขภาพ” ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต การจะทำงานให้ออกมาดีได้ สมอง ร่างกาย และจิตใจก็ต้องพร้อมด้วย คนเป็นหัวหน้าเลยต้องดูแลสุขภาพของตัวเองและคนในทีมให้ดีก่อนที่จะสายเกินไป
JobThai จึงอยากมาแนะนำหัวหน้าทีมรวมถึงผู้ก่อตั้ง Startup ไฟแรง ถึงวิธีที่จะทำให้เรามีพลังเต็มเปี่ยมเพื่อไปแข่งขันในสังเวียนธุรกิจต่อไป
1. ไม่ทำงานวันหยุด
หัวหน้าทีมเป็นอีกหนึ่งคนที่มีวันหยุดไม่เหมือนคนอื่น ถึงแม้จะขึ้นชื่อว่าวันหยุดก็ตาม แต่เหล่าหัวหน้าทีมก็ต้องคอยคิดทบทวนแผนการทำงานทั้งที่ผ่านมาและในอนาคต เพราะธุรกิจหรืองานบางประเภทในปัจจุบันก็ต้องคอยสังเกตความเคลื่อนไหวในเรื่องที่เกี่ยวข้องอยู่ตลอดเวลา ยิ่งถ้าเราเป็นเจ้าของธุรกิจยิ่งต้องทำงาน 24 ชั่วโมงต่อวัน 7 วันต่อสัปดาห์ ไม่มีเวลาได้หยุด เราอาจคิดว่าเพราะธุรกิจกำลังไปได้ดี จึงต้องรีบคว้าโอกาสนี้ให้ได้มากที่สุด แต่อย่าลืมว่าคนเราไม่ใช่เครื่องจักร ยังไงก็ต้องเหนื่อยล้าเป็นธรรมดา ลองพยายามบริหารเวลาใหม่ พิจารณาวิธีกระจายงานให้คนอื่น ๆ ในทีม ให้พวกเขารับช่วงต่อบ้าง เพื่อให้วันเสาร์-อาทิตย์ กลายเป็นวันพักผ่อนที่แท้จริงและทำให้เราได้ชาร์จพลังหรือพักสมองจากเรื่องงาน
2. วางแผนวันหยุดพักผ่อนของคนในทีมให้ชัดเจน
บริษัทขนาดเล็กที่มีพนักงานไม่มากนัก การลาพักร้อนหลายวันของคนในทีมก็ต้องมีแผนในการรองรับเผื่อกรณีที่มีคนลาหลายคน เพราะหากสมาชิกในทีมหายหน้าหายตาไปพร้อม ๆ กัน คนที่ต้องรับภาระหนักในการทำงานแทนคนอื่นก็คือหัวหน้างานหรือเจ้าของธุรกิจอย่างเรา ทุกคนในทีมควรมีตารางที่ระบุว่าใครจะหยุดในช่วงไหน เพราะจะได้ไม่ลาทับซ้อนกันและอาจทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการประสานงาน
3. หาที่ปรึกษาเรื่องงานที่น่าเชื่อถือ
แน่นอนว่าคนเราต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา และก็จะต้องเจอข้อผิดพลาดเล็ก ๆ น้อย ๆ สิ่งที่ต้องแก้ไข หรือต้องปรับตัวอยูเสมอไม่ว่าจะเป็นคนทำงานในระดับไหน และถึงเราจะเป็นผู้บริหารหรือหัวหน้าทีมแล้วก็ตาม เราก็ไม่สามารถขับเคลื่อนองค์กรได้ด้วยตัวคนเดียวอยู่ดีเพราะอาจมีรายละเอียดอีกมากมายที่เรายังไม่รู้ สิ่งที่ควรทำคือการหาที่ปรึกษาที่สามารถช่วยเราได้ มองหาคนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญที่จะคอยให้คำแนะนำกับเราได้ในเวลาที่ต้องเจอปัญหาในการทำงาน ซึ่งการมีที่ปรึกษาดี ๆ นอกจากจะทำให้ไม่ต้องเสียเวลานั่งจมอยู่กับปัญหาและแก้ไขปัญหานั้นเพียงคนเดียวแล้ว คนเหล่านั้นยังช่วยเป็นกำลังใจให้เราในการก้าวผ่านอุปสรรคที่กำลังเผชิญได้อีกด้วย
4. พักเบรกด้วยกันเป็นทีม
ในแต่ละปีที่ผ่านไป อย่ามัวแต่ตั้งหน้าตั้งตาทำงานให้ออกมาดีที่สุด ลองหาเวลาพักจากการทำงานพร้อมกันเป็นทีมบ้าง เพราะการให้ลูกทีมได้ออกไปทำกิจกรรมนอกเวลางานด้วยกันเป็นตัวเลือกในการสร้างทีมและสร้างความสนิทสนมที่ดี แต่ถึงจะไม่ได้ออกไปเที่ยวที่ไหนไกลก็สามารถกระชับความสัมพันธ์ของคนในทีมและสร้างทีมเวิร์กได้ โดยหัวหน้าทีมอย่างเราอาจซื้อขนมมาปาร์ตี้เล็ก ๆ ในออฟฟิศหลังเลิกงาน หรือพาลูกทีมไปนั่งประชุมพร้อมกับดื่มกาแฟในร้านดีไซน์สวย ๆ เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศบ้างก็ได้
5. ปิดโทรศัพท์มือถือ
การใช้โทรศัพท์เพื่อการติดต่อในเวลางานเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นแทบจะตลอดเวลาด้วยอิทธิพลของอินเทอร์เน็ต ยิ่งเราเป็นคนสำคัญขององค์กร ธุระสำคัญก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นกว่าคนอื่น ๆ เป็นธรรมดา แต่เมื่อเราตัดสินใจเลิกงานแล้ว การปิดเครื่องมือสื่อสารเพื่อหันมาใช้เวลากับตัวเองหรือกับครอบครัวก็เป็นสิ่งที่ควรทำ อย่าให้งานมาเบียดเบียนเวลาส่วนตัวของเรากับคนในครอบครัว ซึ่งการปิดโทรศัพท์อาจเป็นเรื่องยากสำหรับหลายคน เพราะเราไม่รู้เลยว่าจะมีเรื่องด่วนหรือเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้นตอนไหน หากสามารถทำได้ก็อยากแนะนำให้แยกโทรศัพท์เป็น 2 เครื่อง ระหว่างเครื่องที่ต้องติดต่อเรื่องงาน และเครื่องส่วนตัวเผื่อในกรณีฉุกเฉินจริง ๆ เท่านั้น หรืออย่างน้อยที่สุด ก็ปิดการแจ้งเตือนแอปพลิเคชัน หรือแชทต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องงาน
|
|
JobThai Official Group |
Public group · 102,000 members |
|
|
|