เมื่อบริษัทไปต่อไม่ไหว ควรทำยังไงเมื่อถูกเลิกจ้าง

20/08/21   |   7.8k   |  

 

  • เมื่อนายจ้างบอกเรื่องที่ต้องเลิกจ้าง สิ่งแรกคือการรีบตั้งสติและรับฟังรายละเอียดที่เหลือต่อจากนั้นให้ดีที่สุด เพราะมันอาจมีรายละเอียดบางอย่างที่เราจำเป็นต้องรักษาสิทธิของตัวเองไว้

  • รีบตรวจสอบเงินสำรองฉุกเฉิน เพราะเงินฉุกเฉินจะเป็นปัจจัยสำคัญในการวางแผนอนาคตของตัวเราได้ เมื่อรู้แล้วว่าเรามีเงินสำรองเท่าไหร่ ก็เริ่มวางแผนจัดสรรเงินก้อนนั้นให้เป็นประโยชน์ที่สุด

  • ทำเรื่องสิทธิรับเงินทดแทนกรณีว่างงานจากประกันสังคมเพื่อรักษาสิทธิที่เราส่งเงินสมทบไปทุกเดือน และยังทำให้เรายังคงมีรายได้เข้ามาบ้าง

  • ยอมรับความเป็นจริงและปรับสภาพจิตใจของตัวเอง แม้มันอาจไม่ใช่เรื่องง่าย แต่มันก็เป็นสิ่งที่เราควรทำเพื่อที่จะให้เราสามารถลุกขึ้นได้อีกครั้ง หากความรู้สึกของเรายังไม่ดีขึ้น อาจต้องไปพบจิตแพทย์เพื่อปรับสภาพจิตใจของตัวเองใหม่

  • ให้เวลากับตัวเอง เมื่อพร้อมค่อยลุกขึ้นมา Move On ต่อไป อาจเริ่มหยิบเรซูเม่ขึ้นมาปรับให้เป็นปัจจุบันเพื่อใช้ในการสมัครงาน และทำให้รู้ว่าทักษะในการทำงานของเราตอนนี้เป็นยังไงบ้างและมีทักษะไหนที่เราอยากพัฒนาเพิ่มเติม

 

JobThai Mobile Application หางานง่าย ได้งานที่ใช่ โหลดเลย!

iOS

Android

Huawei AppGallery

 

ในช่วงวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 หลายธุรกิจก็ได้รับผลกระทบไปตาม ๆ กัน และธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากก็อาจต้องปิดตัวไป ซึ่งแน่นอนว่าปัญหาต่าง ๆ ก็จะส่งผลกระทบมาถึงพนักงานอย่างเรา ๆ บางที่อาจให้พนักงานของตัวเองไปทำอย่างอื่นก่อน หากสถานการณ์ดีขึ้นองค์กรก็อาจจะติดต่อมาใหม่ว่าอยากร่วมงานกันอยู่ไหม ในขณะที่บางธุรกิจก็อาจต้องเลิกจ้างพนักงานของตนอย่างถาวร

 

หากพนักงานถูกบริษัทเลิกจ้าง ควรต้องทำยังไงดี JobThai ก็ได้รวบรวมสิ่งที่พนักงานควรทำเมื่อบริษัทไปต่อไม่ไหวมาฝาก

 

รักษาสุขภาพจิตอย่างไรในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19

 

จัดการเรื่องเงินชดเชยจากนายจ้าง

แม้ว่าจะมีสัญญาณมานานแค่ไหนแล้วก็ตามว่าบริษัทกำลังไปต่อไม่ไหว แต่พอได้รับจดหมายหรือเรียกไปคุยว่าองค์กรจำเป็นต้องเลิกจ้างขึ้นมาจริง ๆ ก็เป็นธรรมดาที่คนทำงานหลายคนคงปรับสภาพจิตใจของตัวเองไม่ทัน แต่สิ่งแรกที่ควรทำคือการรีบตั้งสติและรับฟังรายละเอียดที่เหลือต่อจากนั้นให้ดีที่สุด เพราะมันอาจมีรายละเอียดบางอย่างที่เราจำเป็นต้องรักษาสิทธิของตัวเองไว้ อย่างเงินชดเชยกรณีการเลิกจ้างของบริษัท ซึ่งบางบริษัทอาจจะคุยเรื่องเงินชดเชยตั้งแต่แจ้งข่าวเลย และเราอาจจะต้องรีบดูรายละเอียดว่าเราได้ครบตามที่ควรจะได้รึเปล่า

 

ซึ่งเมื่อถูกเลิกจ้างโดยที่ไม่สมัครใจ และไม่มีความผิดอะไร เงินชดเชยที่เราควรจะได้รับจะขึ้นอยู่กับเงินเดือนและอายุงาน โดยมีรายละเอียดดังนี้ 

 

ระยะเวลา

จำนวนเงินที่ลดหย่อนได้

ทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ถึง 1 ปี

ได้รับเงินชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน

ทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ถึง 3 ปี

ได้รับเงินชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน

ทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่ถึง 6 ปี

ได้รับเงินชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน

ทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ถึง 10 ปี

ได้รับเงินชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน

ทำงานติดต่อกันครบ 10 ปี ขึ้นไป

ได้รับเงินชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน

ทำงานติดต่อกันครบ 20 ปี ขึ้นไป

ได้รับเงินชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 400 วัน

 

ตัวอย่างการคิดเงินชดเชย

หากเราทำงานมาแล้ว 3 ปี ได้รับเงินเดือนอยู่ที่ 15,000 บาท และโดนบอกเลิกจ้าง เราจะได้รับเงินชดเชย 15,000 บาท x 6 เดือน เป็นจำนวนเงิน 90,000 บาท

 

นอกจากนี้บริษัทก็ต้องแจ้งเลิกจ้างเป็นลายลักษณ์อักษรให้เรารู้ล่วงหน้า 1 งวดของการจ่ายค่าจ้าง เช่น ถ้าเราได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน บริษัทก็ต้องแจ้งล่วงหน้า 30 วัน หากบริษัทไม่ได้แจ้งก่อน ตรงนี้เราก็มีสิทธิในการได้ค่าเงินค่าบอกล่วงหน้า หรือหลายคนเรียกกันว่าค่าตกใจเพิ่มขึ้นอีก 1 เดือนด้วย อย่างเช่น หากปกติเราจะได้เงินเดือนทุกวันที่ 30 แล้วบริษัทบอกเลิกจ้างก่อนวันที่ 30 กรกฎาคม บริษัทก็จะต้องจ่ายค่าบอกล่วงหน้าถึงวันที่ 30 สิงหาคม (30 วัน) แต่หากว่าบริษัทบอกเลิกจ้างช้ากว่ารอบจ่ายเงิน หรือบอกหลังวันที่ 30 กรกฎาคมไปแล้ว บริษัทก็จะต้องจ่างล่วงหน้าไปถึงงวดวันที่ 30 กันยายน

รีบตรวจสอบเงินสำรองฉุกเฉิน

ขั้นตอนต่อมา รีบสำรวจเงินสำรองฉุกเฉินของตัวเองทันที เพราะเงินฉุกเฉินจะเป็นปัจจัยสำคัญในการวางแผนอนาคตของตัวเราได้ เมื่อรู้แล้วว่าเรามีเงินสำรองเท่าไหร่ ก็เริ่มวางแผนจัดสรรเงินก้อนนั้นให้เป็นประโยชน์ที่สุด อย่างเช่นในแต่ละเดือนเราควรต้องใช้เงินเท่าไหร่ ควรต้องแบ่งก้อนไหนสำหรับกรณีฉุกเฉินจริง ๆ และหากมีเงินมากพอสำหรับหลายเดือน การหางานใหม่ของเราก็จะได้ใช้เวลาในการคัดกรองงานและบริษัทมากขึ้น อีกทั้งยังมีเวลาในการศึกษาองค์กรที่คิดว่าตัวเองอยากทำและอยากเริ่มต้นใหม่กับที่นี่จริง ๆ เพื่อให้เราได้ทำงานที่เหมาะสมกับเราที่สุด

 

ทำเรื่องสิทธิการรับเงินชดเชยว่างงานจากประกันสังคม

เมื่อตรวจสอบและวางแผนเรื่องเงินสำรองเรียบร้อยแล้ว ก็รีบทำเรื่องการรับเงินทดแทนกรณีว่างงานจากประกันสังคม เพื่อรักษาสิทธิจากการที่เราส่งเงินสมทบค่าประกันสังคมไปทุกเดือน และยังทำให้เรายังคงมีรายได้เข้ามาบ้าง ซึ่งในกรณีที่เราไม่ได้ลาออกเองแต่ถูกเลิกจ้าง เราจะได้รับเงินชดเชยในอัตราร้อยละ 70 ของค่าจ้างรายวัน โดยได้รับไม่เกิน 200 วัน ภายในระยะเวลา 1 ปีปฏิทิน (ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2563 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2565)

 

ซึ่งเงื่อนไขในการยื่นสิทธิรับเงินทดแทนกรณีว่างงานคือ เราจะต้องจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 เดือน และเมื่อว่างงานในกรณีถูกเลิกจ้าง ให้ขึ้นทะเบียนแบบออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ กรมการจัดหางาน โดยไม่จำเป็นต้องรอหนังสือรับรองการออกจากงาน เพราะหากลงทะเบียนช้ากว่า 30 วันหลังจากถูกเลิกจ้าง จะไม่ได้รับสิทธิประกันสังคมทดแทนกรณีว่างงาน

 

นอกจากสิทธิกรณีว่างงานจากประกันสังคม ถ้าหากว่าเราถูกเลิกจ้างเพราะสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทางกระทรวงแรงงานก็ยังมีเงินเยียวยาอื่น ๆ โดยเราสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์กระทรวงแรงงาน หรือโทรสอบถามได้ที่ Call Center 1506

(ข้อมูลอัปเดตวันที่ 21 กรกฎาคม 2564)

 

ยอมรับความเป็นจริงและปรับสภาพจิตใจของตัวเอง

เมื่อจัดการเรื่องของเอกสารและสิทธิที่เราควรได้รับเรียบร้อยแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนของการเยียวยาจิตใจของตัวเอง ซึ่งก่อนอื่นเราต้องยอมรับความจริงที่เกิดขึ้นให้ได้ก่อน แม้มันอาจไม่ใช่เรื่องง่าย แต่มันก็เป็นสิ่งที่เราควรทำเพื่อที่จะให้เราสามารถลุกขึ้นได้อีกครั้ง เราอาจเริ่มสร้างกำลังใจเล็ก ๆ ให้กับตัวเองในแต่ละวัน หากไม่ไหวจริง ๆ ก็ปลดปล่อยหรือระบายมันออกมาเพื่อลดความเครียดของตัวเองได้เช่นกัน แต่อย่าลืมสัญญากับตัวเองด้วยว่าเมื่อปลดปล่อยไปแล้วจะต้องกลับมาค่อย ๆ ปรับสภาพจิตใจของตัวเองต่อไปให้หายดี

 

หากความรู้สึกของเรายังไม่ดีขึ้น อาจต้องไปพบจิตแพทย์เพื่อปรับสภาพจิตใจของตัวเองใหม่ ซึ่งในช่วงเวลาที่หลายคนต้องกักตัวอยู่บ้านแบบนี้อาจใช้บริการปรึกษากับจิตแพทย์และนักจิตวิทยาแบบ Video Call ที่ทำให้เราไม่ต้องเดินทางไปพื้นที่เสี่ยง และยังเป็นการปรึกษาแบบส่วนตัวอีกด้วย

 

ให้เวลากับตัวเอง เมื่อพร้อมค่อยลุกขึ้นมา Move On ต่อไป

เมื่อปรับสภาพจิตใจตัวเองได้แล้ว ก็ถึงเวลาที่ต้องลุกขึ้นมาเดินหน้าต่ออีกครั้ง ซึ่งในช่วงเวลาที่กำลังหางานใหม่ เราก็ต้องหยิบเรซูเม่ขึ้นมาปรับให้เป็นปัจจุบัน และเหมาะสมกับงานที่เราสนใจ นอกจากเพื่อใช้ในการสมัครงานแล้ว อีกหนึ่งข้อดีของการปรับเรซูเม่ก็คือจะทำให้รู้ว่าทักษะในการทำงานของเราตอนนี้เป็นยังไงบ้างและมีทักษะไหนที่เราอยากพัฒนาเพิ่มเติม

 

หากพร้อม Move On ต่อแล้ว JobThai มีงานน่าสนใจมาแนะนำ

ตำแหน่งงานใหม่ยอดนิยมที่เราไม่อยากให้คุณพลาดโอกาสในการสมัครงาน

10 องค์กรชั้นนำที่เปิดรับพนักงานมากที่สุด

 

ในปัจจุบัน มีหลายธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 อย่างหนัก เช่น ธุรกิจโรงแรมหรือธุรกิจการท่องเที่ยว ที่ทำให้คนที่ทำงานในธุรกิจนี้อย่างพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน Reception ในโรงแรม หรือสายงานที่ต้องเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวต้องเจอทางตัน เพราะไม่รู้ว่าตัวเองจะไปทำงานสายนี้ได้ที่ไหน ตรงนี้ก็อาจจะต้องลองมองหาสายงานอื่นที่สามารถเอาทักษะที่ตัวเองมีอยู่ไปต่อยอดได้ เช่น ใช้ทักษะการสื่อสารมาเป็นจุดเด่นในการสมัครงาน บริการลูกค้าCall Center, Sales หรือ Account Executive และหากมีทักษะทางด้านภาษาด้วย ก็อาจต่อยอดมาเป็นล่ามได้ หรือหากยังมีบางทักษะที่ต้องพัฒนาเพิ่มเติมก็อาจใช้โอกาสนี้ในการฝึกฝนและมองหาตำแหน่งในบริษัทที่น่าสนใจไปพลาง ๆ เพื่อให้การเปลี่ยนสายงานเป็นไปอย่างมีคุณภาพ

9 สิ่งควรทำถ้ายังหางานไม่ได้สักที

 

สมัครสมาชิกกับ JobThai เลือกงานที่ใช่ ในแบบที่คุณต้องการ ได้ที่นี่!

 

 
JobThai Official Group
Public group · 200,000 members
Join Group
 

 

Source:

moneybuffalo.in.th

sanook.com

thebangkokinsight.com

sso.go.th

tags : jobthai, career and tips, ถูกเลิกจ้าง, เคล็ดลับการทำงาน, การทำงาน, เลิกจ้าง, โดนเลิกจ้าง, โควิด 19, covid 19, คนทำงาน, โดน lay off



ติดตามข่าวสารและเรื่องราวดีๆ ทาง Email

ขอบคุณสำหรับการติดตาม