รวมเคล็ดลับในการเลือกอาชีพที่ใช่ เพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิต

23/01/24   |   11.9k   |  

 

 

 

 

JobThai Mobile Application หางานง่าย สมัครงานง่าย ได้งานที่ใช่ โหลดเลย

iOS

Android

Huawei AppGallery

การได้ทำงานที่รักและมีรายได้ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิต คงเป็นสิ่งที่ใครหลายคนฝันถึง แต่อาจจะไม่ใช่ทุกคนที่จะหาอาชีพที่ใช่เจอ เพราะการใช้ชีวิตวนลูปอยู่กับการตื่นเช้าไปทำงาน พอถึงตอนเย็นก็ต้องกลับบ้านมาจัดการชีวิตส่วนตัวด้านอื่น ๆ จนทำให้ไม่มีเวลามานั่งคิดทบทวนตัวเองจริง ๆ ว่างานที่กำลังทำอยู่นั้นใช่แล้วหรือยัง หรือเป็นเพียงการทำเพื่อหารายได้เลี้ยงชีพไปก่อน ใครที่กำลังใช้ชีวิตอยู่ในสถานการณ์แบบนี้ และกำลังรู้สึกสับสน ไม่รู้จะเลือกงานยังไงให้ตรงความต้องการจริง ๆ เรามีเคล็ดลับมาฝากกันในวันนี้ 

 

อาชีพที่ใช่ต้องเป็นแบบไหน

 

อาชีพที่ใช่ต้องเป็นแบบไหน

 

นิยามของอาชีพที่ใช่ คือการที่เราได้ทำในสิ่งที่เราชื่นชอบ หรือรักมันจริง ๆ โดยไม่รู้สึกฝืนและอึดอัดที่ต้องตื่นมาทำมันอยู่ทุกวัน พร้อมทั้งมีรายได้ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตแบบไม่ฝืดเคืองจนเกินไป เพราะการที่เราจะมีความก้าวหน้าในอาชีพได้ ต้องไม่เพียงแต่มีความสุขกับการทำงานเท่านั้น แต่ต้องมีความสุขในชีวิตส่วนตัวด้วยเช่นกัน เพราะการมีบาลานซ์ในชีวิต คือปัจจัยสำคัญที่ทำให้เราไปถึงเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ได้ง่ายขึ้น

 

7 เคล็ดลับในการเลือกอาชีพที่ใช่

 

8 เคล็ดลับในการเลือกอาชีพที่ใช่

 

เรื่องแปลกอีกอย่างที่คนส่วนใหญ่มักจะเป็นกัน คือการที่เรารู้ตัวเองว่าไม่ชอบอะไร ทำงานแบบไหนแล้วฝืน แต่เมื่อถามถึงสิ่งที่ชอบ กลับตอบตัวเองได้ไม่ชัดเท่ากับสิ่งที่ไม่ชอบ เพราะไม่เคยได้นั่งถามตัวเองจริง ๆ จัง ๆ ว่าตัวเราเองมีเป้าหมายอะไร นิสัยเราเหมาะกับงานแบบไหน และต้องการมีชีวิตแบบไหนในระยะยาว แต่ไม่ต้องกังวลไป เรามีเคล็ดลับในการเลือกอาชีพที่ใช่มาแนะนำ

 

1. ตั้งเป้าหมายของชีวิตในระยะยาว

เป้าหมายในชีวิต คือหมุดหมายที่ทำให้เรารู้ว่าตัวเองกำลังเดินไปในทิศทางไหน ตัวอย่างเช่น ถ้าเราอยากจะมีเงินเก็บสัก 5 ล้านก่อนอายุ 50 ปี เมื่อเรามีเป้าหมายตั้งไว้แบบนี้แล้ว เราก็จะเริ่มมองหาหนทางที่เป็นไปได้ เพื่อนำพาตัวเองไปสู่เป้าหมายนั้น ถึงแม้สุดท้ายแล้วจะไม่สำเร็จตามที่ตั้งใจไว้ทั้งหมดร้อยเปอร์เซนต์ก็ตาม แต่อย่างน้อยก็ช่วยให้เราขยับไปไกลกว่าจุดเดิมที่เป็นอยู่ ซึ่งเป้าหมายที่ว่านี้ ไม่จำเป็นจะต้องเป็นเรื่องเงินเพียงเท่านั้น แต่อาจจะเป็นเรื่องหน้าที่การงาน สิ่งที่อยากทำในอนาคตระยะยาวก็ได้เช่นกัน

 

ทำยังไงดีถ้าตั้งเป้าหมายทุกปีแต่ทำไม่เคยได้

 

2. ประเมินจากความถนัดและนิสัยของตัวเอง

เมื่อเรามีเป้าหมายที่ชัดเจนแล้ว ต่อมาให้ดูที่ความถนัดและนิสัยของตัวเราเอง เพราะเป็นอีกสิ่งที่สามารถนำมาช่วยพิจารณาร่วมได้ โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ นิสัยส่วนตัว เรื่องที่เรากำลังสนใจ และทักษะติดตัวที่มีอยู่

 

  • นิสัยส่วนตัว
    อย่างแรกที่เราต้องรู้ ก็คือนิสัยส่วนตัวว่าเราเป็นคนแบบไหน ชอบเข้าสังคม ชอบพูดคุยเจรจา หรือเป็นคนที่ชอบทำงานคนเดียว ไม่ชอบการประชุมเป็นกลุ่มใหญ่ สิ่งเหล่านี้สามารถนำมาเป็นเกณฑ์พิจารณาเบื้องต้น ในการตัดประเภทงานที่น่าจะไม่เหมาะกับตัวเองออกไปได้ 

 

  • เรื่องที่ให้ความสนใจ
    เรื่องที่เรากำลังสนใจอยู่ อาจจะยังไม่เกี่ยวข้องกับงานที่ทำอยู่ในขณะนี้ก็ได้ แต่อย่างน้อยก็ช่วยให้เรารู้ได้ว่าเราอินกับอะไรเป็นพิเศษในช่วงนี้ เช่น เราชอบอัปเดตเทรนด์เทคโนโลยีใหม่ ๆ หรือชอบดูข่าวการเปิดตัวสินค้า IT เป็นประจำ ทำให้เราชอบหาข่าว IT อ่านเป็นประจำแบบไม่รู้ตัว พอรู้ตัวเองว่าเราสนใจเรื่อง IT เป็นพิเศษแบบนี้แล้ว เราก็จะได้ลองเลือกงานที่เกี่ยวกับสาย IT หรืออยู่ในบริษัทเทคโนโลยีต่าง ๆ ซึ่งอาจจะเป็นอาชีพที่ใช่สำหรับเราก็ได้ และความรู้ IT ที่เราได้จากการติดตามข่าวสารต่าง ๆ อาจจะช่วยทำให้เรามีแต้มต่อในด้านการทำงานแบบไม่รู้ตัวด้วย

 

  • ทักษะติดตัวที่มี
    ทักษะหรือความสามารถติดตัวที่เรามี ยังคงเป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องทบทวนอย่างจริงจังอีกครั้ง ต่อให้เรารู้แล้วว่าเรามีนิสัยและความชอบในเรื่องไหน แต่มันอาจจะยังไม่เพียงพอ เพราะในการทำงานเรายังต้องคำนึงถึงทักษะที่มีอยู่ด้วย สมมุติว่าเราสนใจงานด้าน IT เราก็ต้องประเมินตัวเองว่าเรามีทักษะด้านนี้มากขนาดไหน ถ้าทักษะที่มีมันเพียงพอต่อการทำงาน เราก็มุ่งหน้าที่สายนี้ได้เลย แต่ถ้าเราไม่มีความรู้ในระดับเชิงลึก เรามีเพียงทักษะด้านการตลาด การคิดวิเคราะห์ และการวางแผนเท่านั้นที่ถนัด ก็อาจจะต้องนำมาคิดประกอบกันกับนิสัย และความสนใจที่มีอยู่อีกที ถ้าสมมุติว่าเรายังคงยืนกรานที่จะทำงานที่เกี่ยวข้องกับด้าน IT เพราะรู้สึกว่าเป็นเทรนด์แห่งอนาคต และเป็นเรื่องที่เราสนใจ เราอาจจะต้องเลือกทำในตำแหน่งที่เหมาะสมกับทักษะด้านการตลาดที่เรามีในบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับ IT แทนการเลือกไปทำงานในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทักษะเชิงลึกโดยตรง เช่น การเขียนโค้ด 

 

3. ลิสต์อาชีพที่ใช่จากข้อมูลต่าง ๆ ที่เราได้มาจากการประเมินตัวเอง

เมื่อเรารู้แล้วว่า เรามีนิสัยแบบไหน สนใจในเรื่องอะไรอยู่บ้าง และทักษะที่มีอยู่ตอนนี้ พอจะขยับขยายไปยังอาชีพที่สนใจได้มากน้อยแค่ไหน ให้เราทำการลิสต์อาชีพที่ตอบโจทย์นิสัยหรือความชอบของเรา และเป็นอาชีพที่คิดว่าน่าจะทำได้ออกมา แล้วค่อย ๆ นำไปพิจารณาในข้อถัดไป

 

4. ทำความเข้าใจเนื้องานในอาชีพที่สนใจ

เมื่อได้ลิสต์อาชีพแล้ว การทำความเข้าใจในเนื้องานของแต่ละอาชีพที่เราสนใจจะช่วยให้เราเห็นภาพการทำงานของแต่ละสายอาชีพได้มากขึ้น เพราะบางอาชีพที่เราลิสต์เอาไว้ เนื้องานจริง ๆ อาจจะไม่ได้เป็นแบบที่เราคิดก็ได้ ซึ่งการหาข้อมูลอาชีพต่าง ๆ ก็ทำได้หลายวิธี ทั้งหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต การไปอยู่ในคอมมูนิตี้ของอาชีพต่าง ๆ หรือปรึกษาพูดคุยกับคนที่อยู่ในสายงานนั้น จะช่วยให้การหาข้อมูลของเราประหยัดเวลาไปได้เยอะ โดยไม่ต้องลงไปหาประสบการณ์ด้วยตัวเองทุกงาน

 

เปิดลิสต์ 10 อาชีพรายได้สูงความเครียดต่ำในอเมริกาที่คุณอาจไม่เคยรู้

 

5. ดูความก้าวหน้าในอาชีพ

การทำงานย่อมต้องมีการเติบโต สิ่งหนึ่งที่จะไม่พิจารณาไม่ได้ ก็คือความก้าวหน้าในสายอาชีพที่เรากำลังเล็งอยู่ ว่าเป็นไปในทิศทางเดียวกับเป้าหมายในชีวิตเรารึเปล่า เช่น หากเรามีเป้าหมายว่าอยากเป็นผู้บริหาร งานนั้นก็ต้องมี Career Path ที่เราเห็นได้ชัดเจนว่าสเต็ปการเติบโตจะเป็นยังไง ถ้าเป็นตำแหน่งงานที่สามารถถูกทดแทนได้ด้วยเครื่องจักร หรือเทคโนโลยี นั่นหมายความว่าตำแหน่งงานที่เราเล็งไว้ อาจจะมีโอกาสถูกจ้างออกมากขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคต เลยอาจจะไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีนักในการเลือกทำ หรือหากสายงานที่เรากำลังดู ๆ อยู่ไม่ได้ตอบโจทย์ความต้องการได้ตลาดแรงงาน เงินเดือนค่าจ้างก็อาจจะไม่สูงตอบโจทย์แผนชีวิตในระยะยาวได้ เมื่อพิจารณาแล้วเราจะได้เลือกเฉพาะงานที่มีเส้นทางความก้าวหน้าในแบบที่เราต้องการ

 

6. พิจารณาเกณฑ์รายได้ที่ต้องการ

รายได้จากการทำงาน อาจจะไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุดในการเลือกอาชีพที่ใช่ แต่การมีรายได้ที่พอเพียงในการดำรงชีวิต ก็ยังเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ไม่ควรจะมองข้ามไป จึงควรหากึ่งกลางระหว่างอาชีพที่ชอบ และรายได้ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของเราได้อย่างไม่ลำบาก

 

7. ลงเรียนเพื่อพัฒนาทักษะ

เมื่อรู้แล้วว่าอยากที่จะทำอาชีพนี้ การหาคอร์สเรียนโดยตรงเพื่อไปสัมผัสประสบการณ์จริงจากคนวงใน ย่อมช่วยให้เราเข้าใจในเนื้องานได้ดีที่สุด ขั้นตอนนี้มีส่วนสำคัญอย่างมากในการทำให้เราเข้าใจในเนื้องานมากขึ้น ผ่านมุมมองจากผู้เชี่ยวชาญในสายงานนั้น ๆ มากกว่าการหาข้อมูลนั่งอ่านจากอินเทอร์เน็ตเพียงเท่านั้น นอกจากเราจะได้พัฒนาทักษะโดยตรงแล้ว อาจจะยังได้เคล็ดลับ หรือเกร็ดความรู้จากคนในวงการที่เขาอาจจะไม่บอกกับคนภายในกันง่าย ๆ ติดตัวกลับมาด้วยเช่นกัน ถ้าคนสอนเป็นคนจากสายงานนั้นโดยตรง มีความละเอียดและ Insight ต่าง ๆ ที่น่าสนใจมาแชร์

 

รวมแหล่งเรียนรู้เสริมทักษะการทำงาน ใครอยาก Upskill-Reskill มาทางนี้

 

การเลือกอาชีพที่ใช่ ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่หลายคนคิด เพียงแค่ต้องมานั่งคิดจริงจัง และทบทวนตัวในตัวเองเสียหน่อย ก็สามารถหางานที่มีความก้าวหน้าในอาชีพได้ไม่ยาก ใครที่กำลังมองอาชีพที่ใช่ สมัครที่ JobThai ได้เลย

 

สมัครสมาชิกกับ JobThai เพิ่มโอกาสง่าย ๆ ในการได้งานที่ใช่

 

tags : jobthai, career & tips, งาน, คนทำงาน, ทำงาน, จบใหม่ต้องรู้, เด็กจบใหม่, first jobber, อาชีพ, อาชีพที่ใช่, งานที่ใช่, เลือกงาน, การเลือกงาน, เทคนิคเลือกงาน, เคล็ดลับเลือกงาน, เลือกงานยังไง



ติดตามข่าวสารและเรื่องราวดีๆ ทาง Email

ขอบคุณสำหรับการติดตาม