VIDEO
เทคโนโลยีเป็นเรื่องที่เราได้ยินและพูดคุยกันมายาวนาน ซึ่งทุกวันนี้เทคโนโลยีก็ได้เข้ามามีบทบาทในเรื่องของการทำงานอย่างมาก และที่สำคัญมันก็ได้ทำให้โลกการทำงานเปลี่ยนไปอีกด้วย ซึ่งหากคุณอยากทำงานในองค์กรที่เกี่ยวกับธุรกิจ IT และอยากรู้ว่าคนแบบไหนที่บริษัท IT “กำลังมองหา” วันนี้ JobThai จะพาทุกคนไปพูดคุยเคล็ดลับที่จะทำให้คุณต้องร้องว่า Oh My Job! กับคุณยศ อนงค์เลขา Talent Acquisition Lead จากบริษัทที่ปรึกษาด้านไอทีชื่อดังระดับโลกที่มีชื่อว่า “ThoughtWorks” กัน
“เทคโนโลยี” เป็นเรื่องที่ผันผวนเร็วมาก บางเรื่องที่เราคิดว่าจะใช้วันนี้ ภายในไม่กี่วันก็อาจตกยุคไปแล้ว สิ่งที่ ThoughtWorks ทำคือต้องหาว่าอะไรที่เราจะใช้หรืออะไรที่ควรต้องทิ้ง เราอาจมีเทคโนโลยีที่เหมือนกัน แต่อะไรคือสิ่งที่สามารถสร้างคุณค่าให้กับลูกค้าได้และสามารถแก้ไขปัญหานั้นได้จริง ๆ
สิ่งที่ทำให้ ThoughtWorks ทำได้ เป็นเพราะว่ามีการร่วมมือกับออฟฟิศกว่า 40 ที่ทั่วโลกที่ทำงานด้วยกัน ซึ่งแต่ละที่จะมีลูกค้าของเขา แต่ก็จะรวมปัญหาต่าง ๆ เข้ามาใน Technology Radar เพื่อแชร์ผลลัพธ์เป็น Guide ให้กับนักเทคโนโลยีทุกคน
หากพูดถึงเฉพาะ South-East Asia เทียบไทย กับ สิงค์โปร มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทยเองเราก็กำลังเติบโต ซึ่งเรามีโครงสร้างพื้นฐานใกล้เคียงกับสิงค์โปร เพียงแต่ว่าเราอาจต้องปรับตัวในเรื่องของคนในตลาดแรงงานเพราะเรื่องคนเรายังตามสิงค์โปรอยู่ สิ่งที่เป็นคุณค่าของคนไทยไม่ใช่เรื่องของเทคโนโลยี แต่เป็นเรื่องที่เราสามารถปรับตัวทำงานกับหลายเชื้อชาติได้โดยที่เราไม่ติดขัดอะไร เราจึงต้องใช้ประโยชน์จุดนี้เพื่อปิดช่องว่างในเรื่องต่าง ๆ
เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงที่เร็วมากและนิยามใหม่ ๆ ก็เกิดขึ้นตลอดเวลา จึงต้องการทักษะที่ใหม่ ๆ เช่นเดียวกัน ซึ่งหากเรายังนิยามความหมายเดิมอย่าง ต้องจบมาจากสายตรง ต้องมี GPA เท่าไหร่ หรือต้องจบจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ เราจะไม่สามารถมองเห็นอะไรใหม่ ๆ เราจึงต้องเปลี่ยนมุมมองตรงนี้ถึงจะเห็นภาพที่ใหญ่ขึ้นได้ ความเป็นไปได้ต่าง ๆ เป็นไปได้แค่ไหน ซึ่งที่ ThoughtWorks เองไม่ดู CV เราใช้เป็นเพียง Guide ว่าเขาเป็นงานคร่าว ๆ ประมาณไหน
ปัจจุบันเรายังมีช่องว่างเรื่องของเทคโนโลยีอยู่ เพราะหากพูดถึงสิงค์โปรเขามีการเติบโตของเทคโนโลยีที่รวดเร็ว เราจึงต้องหันมาสนใจในจุดแข็งของเรา ซึ่งก็คือการมีใจที่จะเรียนรู้และมี Passion สูง เพราะฉะนั้นในเมื่อเรามีจุดเด่นในเรื่องของคน เราจึงมี Mission ที่จะพัฒนาคนสายเทคโนโลยีในตลาดเมืองไทยให้โตขึ้น
เราไม่เคยใช้ Influencer ในการสรรหาคนหรือให้ช่วยแชร์ Influencer ที่สะท้อนสิ่งนั้นออกมาจากเสียงของเรา อาจเพราะเขาก็มีความเชื่อในสิ่งเดียวกันเขาถึงพูดในสิ่ง ๆ นั้น หรือมีอะไรที่ตรงกันกับทาง ThoughtWorks อยู่ การใช้ Influencer Marketing อาจไม่ใช่กลยุทธ์ของทางเราจริง ๆ แต่มันคือสิ่งที่เราสร้าง Impact ให้กับคนอื่นซึ่งคือเป้าหมายหลักของเรา
คุณยศคิดว่าจุดเด่นของ ThoughtWorks ก็คือ “ความโปร่งใส” เราจะไม่ตัดสินว่าใครต้องทำอะไร การที่คนอยากจะบอกว่าเราดียังไงหรือเราดังเรื่องอะไร มันคือสิ่งที่อยู่ภายใต้ความโปร่งใส เพราะหากเขาไม่เคยเห็นภาพอย่างนั้นเขาจะไม่สามารถออกมาพูดได้
หากพูดถึง ThoughtWorks อาจได้ยินบ่อย ๆ ในเรื่องของ “Collaboration” หรือความสามารถในการทำงานร่วมกับคนอื่น ซึ่งสิ่งนี้ก็คือสิ่งที่เรากำลังมองหาจริง ๆ ตั้งแต่เด็กจบใหม่ไปถึงซีเนียร์ ในเด็กจบใหม่ Collaboration ที่เราหมายถึงนั่นคือการเปิดรับความคิดเห็น เพราะเราจะไม่สามารถทำงานร่วมกันได้หากไม่เปิดรับความคิดเห็นคนอื่น ส่วนคนที่มีประสบการณ์ระดับหนึ่งแล้วจนไปถึงซีเนียร์ Collaboration คือการแชร์สิ่งที่ตัวเองรู้ให้คนอื่นเห็นภาพ ซึ่งเราจะไม่ทำงานร่วมกันกันเฉย ๆ แต่เราต้องมีจุดยืนร่วมกันก่อน เพื่อการที่จะได้รับรู้บริบทของอีกฝ่ายในการทำงานร่วมกัน ซึ่งนี่คือสิ่งที่ ThoughtWorks มองหา
ThoughtWorks สัมภาษณ์กันขั้นต่ำประมาณ 4 รอบ แต่ไม่ใช่คุยกันแต่เรื่องเดิม ๆ ใน 4 รอบนั่นคือเป็นการสร้าง Candidate Experience Journey ให้เขารู้จักเราให้มากที่สุด การสัมภาษณ์แต่ละรอบของเราจึงโฟกัสคนละอย่างกัน ซึ่งรอบที่น่าสนใจที่สุดก็คือรอบที่เราเรียกว่า Role Play หรือเป็น Case Study ทุกตำแหน่งต้องมีสิ่งนี้ เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับฝั่งเราว่า พอเขาต้องเจอสถานการณ์จริงเขาจะรู้วิธีการรับมือในแต่ละสายงานของตัวเองด้วยความเป็นมืออาชีพมากพอไหม ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ก็อาจมีบางคนที่มีช่องว่างเยอะหรือบางคนที่เป็นมืออาชีพไปเลย ก็ถือว่าเป็นหนึ่งปัจจัยและเป็นสิ่งที่นำเข้ามาประกอบการตัดสินใจในทีมการสรรหา
ยกตัวอย่างตำแหน่ง Business Analyst จะจำลองสถานการณ์ว่าทางทีม ThoughtWorks เป็นลูกค้า แล้วฝั่งของ Candidate เป็นพนักงานที่เป็น Business Analyst และสร้าง Case Study ในการคุยกับลูกค้า ซึ่งการจำลองครั้งนี้ก็สามารถเลือกได้ว่าอยากเป็นตำแหน่งไหน และ Role Play ออกมาจากสิ่งนั้น ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ก็จะไม่มีคำตอบที่ถูกและผิด
พื้นฐานที่คนทำงานควรมีไม่เพียงแค่ความรู้ที่เป็น Specialist แต่ต้องเป็น Generalist ด้วย นั่นคือคนที่สามารถทำอะไรอย่างอื่นนอกเหนือจากสิ่งที่ตัวเองถนัดได้ หรือที่เราเรียกว่า “T Shape Skills” ที่ต้องรู้ทั้งด้านลึกและด้านกว้าง ไม่เพียงแค่เก่งในเรื่องที่ตัวเองถนัดแต่ต้องมีความรู้ที่กว้างมากพอ นอกเหนือจากขอบเขตที่ตัวเองเก่งแล้ว ซึ่งนี่คือสิ่งที่ ThoughtWorks มองหาเป็นพิเศษ
ทางทีม Developer หรือทีม Tech ที่ต้องไปทำงานกับลูกค้าจริง ๆ นอกเหนือจากต้องเก่งเรื่องเทคโนโลยีก็ต้องมีความเป็นมืออาชีพด้วยเพื่อที่จะสามารถทำงานให้ลูกค้าเห็นและเชื่อใจได้
การที่จะบอกว่าเราต้อง Collaborate ต้องมีการสื่อสารทำงานร่วมกันเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก เพราะมันคือคอนเซปต์ที่ไม่สามารถมองเห็นหรือจับต้องได้ชัดเจน และมันเป็น Soft Skill ที่ไม่ได้สร้างได้เพียงข้ามคืน บางคนใช้เวลาเป็นปีหรือบางคนใช้เวลามากกว่านั้นเพื่อที่จะกลายเป็นธรรมชาติของเขา ซึ่งการจะเพิ่ม Soft Skill ของตัวเองได้ เราต้องตระหนักถึงปัญหาก่อนเมื่อเราสามารถนับ 1 ได้ 2 3 4 ก็จะเร็วมากเลย แต่จาก 0 ไปถึง 1 จะยากมากซึ่งบางคนอาจต้องใช้เวลาเป็นปีเพราะเป็นการต้องเอาชนะStereotype ของตัวเอง พอเรารู้สึกตระหนักได้ว่าการสื่อสารของเราเป็นปัญหาเราก็จะเริ่มหาวิธีเอง เพราะฉะนั้นการตระหนักรู้ถึงปัญหาก็คือสิ่งที่สำคัญที่สุด และที่คนมักคิดกันว่า “คนที่ทำงานสาย Tech จะไม่ถนัดเรื่องการสื่อสาร” อาจเป็นเพราะเขาเจอเคสแบบนั้น ซึ่งไม่ใช่ประชากรส่วนใหญ่ของคนที่เป็น Tech ทั้งหมด
ThoughtWorks เปิดรับคนทำงานข้ามสายตลอดเวลาและที่นี่มีคนจบไม่ตรงเยอะมาก อย่างที่บอกว่าไม่เคยดู CV เลย แต่จะใช้การสัมภาษณ์เป็นตัวบอกทั้งหมดว่าผู้สมัครสามารถเข้ากับตำแหน่งไหน ซึ่งการข้ามสายเข้ามาไม่ใช่ว่าอยากจะทำและสามารถเข้ามาในตำแหน่งนั้นได้เลย ต้องมีการเตรียมตัวและต้องมีการปูพื้นฐานอยู่ เช่น ที่ ThoughtWorks มีคนที่จบหมอและข้ามสายมาเป็นนักพัฒนา Software ซึ่งสิ่งที่เขาเรียนรู้มาด้วยตัวเองมันตรงกับสิ่งที่ ThoughtWorks กำลังมองหา และวิธีเรียนรู้ที่ดีที่สุดนั้นก็คือการเรียนรู้จาก Community ของแต่ละสายงาน เป็นสิ่งที่ดีที่สุดในการที่เราจะเริ่มนับหนึ่งด้วยตัวเอง คนที่จบไม่ตรงสายจะมีมุมมองที่แตกต่าง ThoughtWorks ก็จะใช้มุมมองที่แตกต่างแล้วหาพื้นฐานให้เขาในการที่จะให้เขาสามารถเป็น Developer Consult ได้
วัฒนธรรมองค์กรของที่นี่เรียกว่าเป็น Transparency ทุกคนสามารถเห็นได้ทั้งหมดเลยว่าออฟฟิศทั่วโลกของ ThoughtWorks ที่ไหนทำรายได้ได้เท่าไหร่ เราเห็นหมดเลยว่าองค์กรกำลังทำเงินหรือเปล่า นี่คือความโปร่งใสอย่างหนึ่ง ทำให้สิ่งที่ตามมาคือความเชื่อใจ ซึ่งเป็นผลพลอยได้ที่ได้จากความโปร่งใส พอคนเราเชื่อใจกันเราก็จะทำสิ่งที่ตัวเองถนัดอย่างเต็มที่ วัฒนธรรมของบริษัทเป็นตัวแปรสำคัญมากในการสร้างความเชื่อใจและการร่วมมือของคนในองค์กร ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ทำให้เรารู้ว่าอีกฝ่ายต้องการอะไรเพราะทุกอย่างถูกกางไว้บนโต๊ะหมด และทำให้สิ่งนี้กลายเป็นจุดเด่นของ ThoughtWorks
ThoughtWorks มีอิสระให้กับพนักงานทุกคน แต่ว่าก็ต้องมี Outcome ด้วย เพราะคำว่าอิสระเฉย ๆ มันจะเป็นการสร้างความเชื่อที่ผิดให้กับพนักงาน ต้องจัดการเวลาที่ยืดหยุ่นของตัวเองให้ดี เพื่อให้ทุกคนสามารถทำงานร่วมกับเราได้ด้วย ความยืดหยุ่นในการทำงานต้องมาพร้อมกับความเป็นมืออาชีพ ซึ่งนี่ก็คืออีกหนึ่งวัฒนธรรมองค์กรของ ThoughtWorks
สวัสดิการที่เด่น ๆ ของ ThoughtWorks ก็คือ “สิ่งที่เราสร้างเอง” ตัวอย่างหนึ่งคือ Developer โตไปต้องเป็นอะไร? ต้องรู้อะไร เพื่อที่จะเป็น Developer ที่เก่งขึ้น และตำแหน่งงานสามารถเติบโตได้เส้นทางเดียวเหรอ? แต่ ThoughtWorks คุณเป็นได้มากกว่านั้น จึงสร้างสิ่งที่เรียกว่า Architype ประเภทต่าง ๆ ทำโมเดลอันหนึ่งขึ้นมาที่ชื่อว่าตัว Pathway เป็นเหมือน Career Path ของพนักงาน ซึ่งมีประมาณ 5 สายในการที่จะเติบโตขึ้นและเป็นสิ่งที่ตัวพนักงานเองอยากเป็น ซึ่งทุกคนสามารถเลือกได้เองเลยว่าคุณต้องรู้อะไรอีก เพื่อที่จะไปถึงจุดจุดนั้น ต้องก้าวผ่านเส้นทางแบบไหน เพื่อจะเป็นตำแหน่งที่คุณอยากเป็น และระบบซัพพอร์ตของ ThoughtWorks ต้องมีอะไรบ้างที่จะซัพพอร์ตคุณให้คุณไปถึงตรงนั้น คุณเลือกเองได้
แม้ก่อนเข้ามาร่วมงานตัวเองจะยังไม่รู้ว่าอยากเติบโตขึ้นไปเป็นอะไร แต่พอได้เข้ามาแล้วก็จะเริ่มเห็นภาพว่าสิ่งที่เห็นอยู่ตอนนี้ จริง ๆ แล้วมันคืออาชีพอะไร จากนั้นค่อยเดินทางไปตรงนั้น
ทักษะอย่างหนึ่งที่เริ่มสำคัญและสามารถทำงานร่วมกับเทคโนโลยีได้นั่นก็คือ Analytical Skill การคิดเชิงวิเคราะห์ ทักษะนี้สำคัญอย่างมากในการจัดการกับข้อมูลมหาศาล ซึ่งเป็นสิ่งที่เราเห็นตลอดไม่ว่าจะในภาพ Infographic หรือสิ่งต่าง ๆ ที่เราเจอในทุก ๆ วัน จะช่วยให้เราสามารถแยกข้อเท็จจริงกับสมมติฐานออกจากกัน จนเราสามารถเข้าใจกลยุทธ์ของบริษัทในการทำงาน และเราจะสามารถทำงานต่าง ๆ กับเทคโนโลยีได้ดียิ่งขึ้นถ้าเกิดว่าสามารถแยกสิ่งที่เป็นความจริงออกมาได้จากสิ่งที่คนคิดว่ามันเป็น
Analytical Skill มี Tip อย่างหนึ่งคือ การหยุดตัดสินทันที เช่น เรากำลังประชุมกันและมีผู้เข้าร่วมประชุมพูดบางอย่างขึ้นมา ซึ่งมันขัดใจเรามากและทำให้เราไม่ชอบเขาทันที ทั้ง ๆ ที่เราไม่รู้จักเขาเลยว่าเขาเป็นคนยังไง ถ้าเราหยุดตัดสินเราจะโฟกัสในสิ่งที่เขาพูดและวิเคราะห์ว่าสิ่งนั้นหมายความว่าอะไร เพราะฉะนั้นพอเราหยุดตัดสินก็จะทำให้เรามี Analytical Skill ทันที และหาข้อเท็จจริงออกมาได้ในที่สุด และเราสามารถพัฒนาทักษะนี้ได้จากการฟังและถามเพื่อหาข้อเท็จจริง
Oh My Job! Podcast ออนไลน์ทุกวันอังคาร ติดตามได้ในช่องทางต่าง ๆ ดังนี้
ติดตามบทความอื่น ๆ จากรายการ Oh My Job! Podcast ได้ที่นี่
JobThai Mobile Application สมัครงานง่าย ได้งานเร็ว
JobThai Official Group เพื่อการหางาน หาคน และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงาน
Public group · 42,947 members