ด้วยผลิตภัณฑ์และบริการที่หลากหลาย ภายใต้การทำงานรูปแบบ Hybrid Workplace ที่ให้อิสระพนักงานในการทำงานจากที่ไหนก็ได้ ทั้งหมดนี้ถือเป็นความท้าทายที่ทีม Engineer ของ THiNKNET กว่า 100 คนต้องพบเจอ ในบทความนี้ JobThai เลยจะพาทุกคนไปดูว่าอะไรที่ทำให้ชาว THiNKNET Engineer ที่มีทักษะ มีขอบเขตความรับผิดชอบ รวมถึงหน้าที่ที่แตกต่างกัน สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างต่อเนื่อง เป็นหนึ่งเดียว และมีประสิทธิภาพ
JobThai Mobile Application หางานง่าย สมัครงานง่าย ได้งานที่ใช่ โหลดเลย
|
|
มองเห็นเป้าหมายเดียวกันด้วย THiNKNET Engineer Principles
สิ่งที่หลอมรวมชาว THiNKNET Engineer พวกเขานิยามสิ่งนี้ว่า THiNKNET Engineer Principles หรือแนวทางปฏิบัติที่ทุกคนยึดถือไว้ โดยเกิดจากการร่วมมือของทุกคนที่ช่วยกันสร้างขึ้นมา ผ่านการออกความเห็น เสนอไอเดีย จากปัญหาที่เคยเจอหรือแนวคิดที่ได้จากการทำงานจริง และความต้องการผลักดันคุณภาพ ความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน เป็นข้อตกลง 10 ข้อในการปฏิบัติร่วมกันเพื่อเป็นไปตามวิสัยทัศน์ขององค์กร คือ มุ่งสร้างนวัตกรรมต่างๆ ที่เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง
ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
ด้วยเทคโนโลยีและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ทำความรู้จักและเจาะลึกการทำงานที่ THiNKNET ให้มากขึ้นได้ ที่นี่
|
|
รู้ให้รอบด้าน มองให้ครอบคลุม เพราะทุกการแก้ไขมีผลกระทบเสมอไม่ว่ามากหรือน้อย และเพื่อให้คุณภาพของซอฟต์แวร์ที่ออกไปถึงมือผู้ใช้อย่างถูกต้องและใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การทดสอบจึงต้องถูกออกแบบและตกลงเอาไว้ร่วมกันตั้งแต่แรก เพื่อให้ทีมพัฒนาเห็นภาพ และใช้ในการทดสอบความถูกต้องได้ตลอดการพัฒนา เราจะให้ความสำคัญกับการออกแบบการทดสอบไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการออกแบบ Business Logic และพัฒนาวิธีการจัดการกับการทดสอบอยู่เสมอ
การร่วมมือกันคือกุญแจสู่ความสำเร็จ ทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของทีมแบบที่ไม่สามารถแบ่งแยกจากกัน ซึ่งทีม Engineer จะยึดเป้าหมายเป็นหลัก และร่วมมือเพื่อเป้าหมายเดียวกัน สื่อสารแบบตรงไปตรงมา และมีข้อตกลงที่ชัดเจน
อย่ามัวงมกับงานปริมาณ ทำ Automation ซะ!
-
กำจัดงานที่ต้องทำซ้ำ ๆ ด้วย Automation Tools
-
บางครั้งการทำบางอย่างด้วยมือง่ายและเร็วกว่าการสร้าง Automation ขึ้นมาทำ แต่ถ้าต้องทำซ้ำ ๆ หลายครั้ง การลงแรงกับการทำ Automation จะทำให้จัดการได้เร็วกว่าในระยะยาว
-
การทำแบบ Manual บางอย่างที่มีขั้นตอนซับซ้อน หลงลืมง่าย เกิด Human Error ได้ง่าย การทำ Automate หรือสร้าง Script ไว้จะช่วยลดการผิดพลาดในการทำงานครั้งต่อ ๆ ไปได้
-
คำนึงถึงการ Monitoring, Tracking, Observation อยู่เสมอ เพื่อลดการเจอปัญหาหรือข้อมูลที่สำคัญล่าช้าเกินไป
ลดความซับซ้อนที่ไม่จำเป็น
-
ลดความซับซ้อนของขั้นตอนที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว หรือขั้นตอนที่ไม่สำคัญ เพื่อให้คล่องตัวมากขึ้น
-
ส่วนสำคัญของการ Simplify คือการวิเคราะห์ถึงผลกระทบ, Performance, Usability, Resource และความเหมาะสมในแง่มุมต่าง ๆ เป็นอย่างดี
-
ทำให้เข้าใจง่ายทั้งโครงสร้างข้อมูล, Architecture และโครงสร้าง Logic
-
ทำให้มนุษย์เข้าใจได้ง่ายขึ้น ทำให้แก้จุดบกพร่องง่าย และคนอื่น ๆ นำไปพัฒนาต่อได้ง่าย
ใช้ข้อมูลช่วยคิด ตัดสินใจ เก็บให้ได้ และใช้ให้เป็น
-
Start with Why - รู้ที่มาที่ไปก่อนเริ่มหาไอเดีย
-
ออกแบบเป้าหมายการวัดผล และเก็บข้อมูลก่อนเริ่มลงมือพัฒนาซอฟต์แวร์ทุกรอบ
-
ข้อมูลมหาศาลมีราคาแพง แต่ข้อมูลมหาศาลที่ไม่ถูกเก็บมีมูลค่าที่ต้องเสียมากกว่า
-
วัดผลด้วยข้อมูล แก้ปัญหาด้วยข้อเท็จจริง
ทุก ๆ ความยิ่งใหญ่ เริ่มจากจุดเล็ก ๆ เสมอ การได้ก้าวทีละขั้นและพัฒนาไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องทีละน้อย ทำให้เราเรียนรู้และปรับเปลี่ยนได้คล่องตัวกับสถานการณ์มากขึ้น
-
สร้างซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้เป็นก้อนเล็ก ๆ แล้วค่อยเพิ่มทีละน้อย ยิ่งก้อนเล็กยิ่งความเสี่ยงน้อยและทดสอบไอเดียได้เร็ว
-
ปรับให้เหมาะสมและมองหาจุดพัฒนาอยู่เสมอ
-
Quality Over Quantity เน้นประสิทธิภาพ มากกว่าปริมาณ
-
พัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆ ลองเอาของใหม่ ๆ มาประยุกต์ใช้บ้างก็ได้
-
เป็นตัวเองในเวอร์ชันที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ ในแต่ละวัน
-
ให้ความรู้และผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้เสมอเมื่อเจอสิ่งที่ดีกว่า
คิดอย่างสร้างสรรค์ กล้าคิดนอกกรอบ และกล้าที่จะออกไปลองผิด ลองเจอปัญหาใหม่ ๆ เพื่อได้เรียนรู้อะไรใหม่ ๆ
-
ลองแก้ปัญหาด้วยวิธีใหม่ ๆ ไม่จำเป็นต้องเชื่อในวิธีเดิม ๆ เสมอไป
-
การยิงคำถาม Challenge กันในที่ประชุมจะทำให้เราได้ทางออกที่ดีขึ้น มากกว่าการทำตามแค่ไอเดียคนใดคนหนึ่ง
-
เคารพความคิดเห็นที่แตกต่าง หรือ Challenge ที่เกิดขึ้น จะทำให้การนำเสนอไอเดียใหม่ ๆ แข็งแรงมากยิ่งขึ้น
-
เรียนรู้จากความผิดพลาดไปด้วยกัน ไม่จำเป็นต้องกล่าวโทษคนที่ทำผิดพลาด
รับฟังทุกปัญหาอย่างตั้งใจ เรียนรู้และปรับตัว จัดการกับทุกปัญหาโดยเริ่มจากการเข้าใจและยอมรับมัน โฟกัสที่การปรับปรุง ไม่กล่าวโทษกัน
-
Feedback is a Gift
-
ปัญหาของ User คือปัญหาของเรา เมื่อ User เกิดปัญหาสิ่งที่เราต้องทำคือรับฟัง ทำความเข้าใจ และเตรียมการรับมือกับการแก้ปัญหานั้น ๆ
-
ไม่มีวิธีการใดแก้ปัญหาทุกอย่างได้ 100% เรียนรู้และปรับตัวอยู่เสมอ
-
เปิดใจรับฟังอย่างเข้าอกเข้าใจ เพราะการ Discussion ต้องมีการฟังความคิดเห็นจากหลายๆมุมมอง สิ่งที่เรามองว่าไม่เป็นปัญหา อาจจะเป็นปัญหาใหญ่ของคนที่อยู่อีกมุมก็ได้ การเปิดใจรับฟังก่อน ฟังในสิ่งที่อีกฝ่ายนำเสนอคือก้าวแรกของการแก้ปัญหานั้น ๆ ด้วย
การเรียนรู้มีอยู่ทุกช่วงเวลา พัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง และส่งต่อองค์ความรู้ให้กับผู้อื่น
-
หมั่นแชร์ความรู้ของตัวเอง แม้ว่าจะเป็นเรื่องเล็กน้อย ก็อาจจุดประกายการเริ่มต้นของสิ่งที่ยิ่งใหญ่
-
การแชร์ความรู้ของตัวเองเท่ากับเป็นการทบทวนและได้เรียนรู้เพิ่มเติมด้วย
-
ให้เวลากับการเรียนรู้และทดลอง จะทำให้เราใช้มันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-
แบ่งเวลาเรียนรู้เพิ่มเติมให้ตัวเองสักสัปดาห์ละครั้ง
-
เปลี่ยนองค์ความรู้ในทีมให้เป็นการแชร์ องค์ความรู้ในทีมบางอย่างสามารถนำไปเขียนเป็น Blog, Broadcast หรือ Sharing Session เพื่อให้คนอื่นมาเรียนรู้ได้
ให้ความสำคัญกับสมดุลชีวิตและการทำงาน
-
บางครั้งการผ่อนคลายก็คือการปิดคอมฯ แล้วออกไปมองโลกข้างนอกในช่วงเวลาที่ไม่เคยออกดูบ้าง
-
ลดการประชุมที่ไม่จำเป็น ใช้การสรุปเป็นเอกสารหรือ Message แทนจะช่วยให้ไม่เสียเวลาประชุมโดยไม่จำเป็นได้
-
หากมีเรื่องไหนที่อยากให้ช่วย คุยกันได้เสมอ
-
ทำกิจกรรมอื่น ๆ ร่วมกันกับทีมนอกเหนือจากเรื่องงานบ้าง
-
ค้นหาตัวเองได้ตลอดเวลา ลองใช้เวลากับสิ่งใหม่ อาจพบสิ่งที่ใช่สำหรับตัวเอง อย่ารอให้ Burn Out
นอกจากนี้ที่ THiNKNET ยังสนับสนุนการเติบโตในสายงาน หรือใครที่ต้องการ Rotate เพื่อเรียนรู้เนื้องานใหม่ ๆ ตามทักษะและความสนใจของตัวเองก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน
ร่วมงานกับ THiNKNET และดูตำแหน่งงานทั้งหมดได้ ที่นี่
JobThai Official Group เพื่อการหางาน หาคน และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงาน
บทความเดิมได้ถูกเผยแพร่ในวันที่ 18 ธันวาคม 2023 และได้รับการอัปเดตโดยทีมงาน JobThai