เพิ่มความน่าสนใจให้ Resume ด้วย 3 วิธีนำเสนอให้เหมาะกับตำแหน่งงาน

21/02/22   |   29k   |  

 

  • รูปแบบเรียงลำดับเวลาจากล่าสุดไปอดีต หรือ Reverse Chronological Format คือการเขียนแบบเรียงลำดับตาม Timeline จากปัจจุบันไปหาอดีต เหมาะกับนักศึกษาจบใหม่
  • รูปแบบที่ให้ความสำคัญกับความสามารถในการทำงานหรือ Functional Resume Format คือการเขียนแบบเน้นให้ผู้รับสมัครเห็นเรื่องของทักษะ
  • รูปแบบผสมรวม หรือ Combination Format คือการเขียนแบบเน้นทั้งสองอย่าง จะเหมาะกับผู้ที่ทำงานมานานพอสมควร

 

 

 

ยังไม่แน่ใจว่าควรทำเรซูเม่แบบไหน

ลองใช้ Easy Form ใน JobThai Mobile App ส่งใบสมัครแทนสิ

iOS

Android

Huawei AppGallery

Resume ส่วนใหญ่ที่เราเขียน ๆ กันจะเป็นแบบเรียงตาม Timeline จากปัจจุบันไปหาอดีต ที่จะทำให้ HR เห็นว่าการศึกษาหรือประสบการณ์การทำงานล่าสุดของเราคืออะไร และข้อมูลพวกนี้จะแสดงความสามารถหรือข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับตัวเราได้ใกล้เคียงปัจจุบันมากที่สุด

 

แต่เราก็ต้องไม่ลืมเหมือนกันว่าเป้าหมายของ Resume ก็คือการโชว์ให้บริษัทเห็นว่าเราเป็นคนที่เหมาะสมกับตำแหน่งงานที่เขาเปิดรับสมัครอยู่ การเขียนเรซูเม่เลยไม่จำเป็นต้องเขียนในรูปแบบนั้นเสมอไป แต่เลือกรูปแบบที่เราจะได้โชว์ส่วนที่สำคัญและเราอยากทำให้โดดเด่นกว่าส่วนอื่นแทน

 

JobThai จึงมีวิธีการเขียน Resume รูปแบบต่าง ๆ มาแนะนำ ให้ลองเอาไปเลือกใช้ให้เหมาะสมกับตำแหน่งงานที่กำลังหาอยู่

 

1. เขียนแบบเรียง Timeline จากล่าสุดไปอดีตเพื่อ “เน้นประวัติ”

แบบแรกก็คือแบบที่เราคุ้นเคยกันดีอย่างการเรียงลำดับจากล่าสุดไปอดีต หรือ Reverse Chronological Format ซึ่งการเรียงลำดับตาม Timeline จากปัจจุบันไปหาอดีตจะเหมาะกับนักศึกษาจบใหม่ เพราะการเขียนแบบนี้ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวกับการทำงานเท่านั้น แต่ยังสามารถหยิบเอาข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาขึ้นมาเน้นได้เหมือนกัน

 

อยากมีเรซูเม่แบบเรียง Timeline ฝากประวัติกับ JobThai เลย

 

โครงสร้างแบบเรียง Timeline จากล่าสุดไปอดีต

  1. ข้อมูลส่วนตัว
  2. ข้อมูลการศึกษา
  3. ข้อมูลการทำงาน
  4. ทักษะ
  5. ความสนใจหรือความสามารถอื่น ๆ

 

การเขียนแบบนี้มีข้อดีคือ...

  • ถ้าเป็นเด็กจบใหม่ จะทำให้ประวัติการศึกษาโดดเด่นขึ้นมา องค์กรก็จะเห็นง่ายขึ้นว่าเราเพิ่งเรียนจบอะไรมา
  • ถ้าสมัครงานในสายอาชีพเดิม การเขียนลักษณะนี้จะยิ่งเน้นว่าเราชอบ และมีความสามารถในงานด้านนี้จริง ๆ เพราะเราได้ทำงานมาอย่างต่อเนื่อง
  • ถ้าเราทำงานที่เก่ามานาน ก็จะแสดงให้เห็นว่าเรามีความสามารถที่จะทำงานกับองค์กรเป็นเวลานานได้ แต่ทั้งนี้ต้องมีเหตุผลจำเป็นที่ดีที่จะเปลี่ยนงานเตรียมไว้ด้วย

 

ข้อเสียของการเขียนแบบนี้คือ...

  • ถ้าเรามีช่วงเวลาที่พักจากการทำงานไปนาน ๆ ประวัติการทำงานก็จะขาดช่วง ทำให้ Timeline ของเรามีช่องว่างของเวลาเยอะ อาจจะทำให้คนที่อ่าน Resume สงสัยถึงสาเหตุการว่างงาน หรือเกิดคำถามว่าช่วงที่ว่างงานเราทำอะไรมาบ้าง
  • ถ้าเราเปลี่ยนงานบ่อยในช่วงเวลาสั้น ๆ ประวัติของเราก็จะถี่มาก ทำให้เรซูเม่ยาวเกินไป เพราะเต็มไปด้วยประวัติการทำงานและยังจะทำให้เกิดคำถามได้ว่าทำไมถึงทำงานแต่ละที่ไม่นาน

2. เขียนแบบให้ความสำคัญกับความสามารถในการทำงานเพื่อ “เน้นทักษะ”

แบบที่ 2 คือ Functional Resume Format เป็นการให้ความสำคัญกับความสามารถในการทำงาน จะเน้นให้บริษัทเห็นทักษะ และความสามารถในการทำงานที่โดดเด่นของเรา การเขียนแบบนี้อาจจะไม่ต้องเขียนแบบเรียงลำดับเวลา แต่ให้โฟกัสไปที่ “ทักษะในปัจจุบัน” ที่เรามีจากประสบการณ์การทำงานทั้งหมดที่ผ่านมา โดยการโชว์ข้อมูลนส่วนของทักษะ และการทำงานมาเป็นอันดับแรก ๆ

 

โครงสร้างแบบ Resume เกี่ยวกับการทำงาน

  1. ข้อมูลส่วนตัว
  2. ทักษะในการทำงาน
  3. ข้อมูลการทำงาน
  4. ข้อมูลการศึกษา
  5. ความสนใจหรือความสามารถอื่น ๆ

 

การเขียนแบบนี้มีข้อดีคือ...

  • ถ้าเรามั่นใจในทักษะหรือความสามารถจากการทำงานที่ผ่านมา เช่น ผ่านการอบรมมาหรือมีผลงานในอดีตที่โดดเด่น การเขียนในลักษณะนี้ก็จะทำให้องค์กรเห็นถึงคุณสมบัติของเรา
  • สำหรับคนที่มีช่วงเวลาว่างงานค่อนข้างนาน หรือคนที่เปลี่ยนงานบ่อย การเขียนเรซูเม่แบบนี้จะส่งผลดีต่อเรา เพราะไม่จำเป็นต้องใส่ระยะเวลาในการทำงานแต่ละที่ ซึ่งจะทำให้ผู้ที่อ่าน Resume ให้ความสนใจกับความสามารถมากกว่าเรื่องอื่น ๆ

 

ข้อเสียของการเขียนแบบนี้คือ...

  • การที่เราไม่แสดงช่วงเวลาแต่เขียนเน้นรายละเอียดของทักษะเป็นส่วนใหญ่ อาจทำให้ผู้อ่านสงสัยว่าเรากำลังปิดบังอะไรอย่างบางที่เกี่ยวกับอายุ หรือระยะเวลาในการทำงานแต่ละแห่งอยู่หรือไม่

 

3. เขียนผสมรวมเพื่อ “โชว์ทั้งประสบการณ์และความสามารถ”

การเขียน Resume แบบที่ 3 ก็คือ แบบผสมรวม หรือ Combination Format จะเอาการเขียนใน 2 แบบแรกมาเขียนรวมกัน คือ บางส่วนของ Resume จะเขียนในลักษณะเรียงตาม Timeline แต่บางส่วนของ Resume อาจจะเขียนในเชิงอธิบายความสามารถเป็นหลัก โดยการเขียนแบบนี้จะไม่มีสูตรตายตัวว่าจะต้องเรียงลำดับแต่ละส่วนของ Resume ยังไง แต่ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ในการทำงานที่เรามี

 

การเขียนแบบนี้มีข้อดีคือ...

  • สำหรับคนที่มีประสบการณ์การทำงานมาแล้ว Resume แบบนี้จะแสดงให้องค์กรเห็นว่าเรามีประสบการณ์การทำงานยังไงบ้าง ทำงานที่ไหน ระยะเวลาเท่าไหร่ การเติบโตในสายอาชีพเป็นยังไง และทักษะที่ได้รับจากการทำงานเหล่านั้นมีอะไรบ้าง ซึ่งเป็นการให้ข้อมูลที่ชัดเจน และครบถ้วนมากกว่าการเขียน Resume ในสองแบบแรก

 

ข้อเสียของการเขียนแบบนี้คือ...

  • ถ้าเป็นนักศึกษาจบใหม่ การเขียนแบบนี้อาจจะไม่เหมาะเท่าไหร่ เพราะไม่มีประสบการณ์หรือทักษะพิเศษอะไรที่จะเอามาไฮไลต์ได้

 

ถ้าเป็นเด็กจบใหม่ที่อยากจะโชว์ผลงานและความสามารถ

ดู 5 สิ่งที่เด็กจบใหม่ควรใส่ไว้ใน Portfolio ได้ที่นี่

ติดตาม Career Talk Podcast ได้ที่

Spotify

Soundcloud

Apple Podcasts

Google Podcasts

Anchor

 

 
JobThai Official Group
Public group · 300,000 members
Join Group
 

 

ที่มา:

monster.com

careerwise.minnstate.edu

americasjobexchange.com

resumegenius.com

                                              

tags : career & tips, งาน, หางาน, สมัครงาน, เรซูเม่, resume, นักศึกษาจบใหม่, freshgrad, เคล็ดลับการสมัครงาน, เทคนิคสำหรับเด็กจบใหม่, จบใหม่ต้องรู้, fresh graduate



ติดตามข่าวสารและเรื่องราวดีๆ ทาง Email

ขอบคุณสำหรับการติดตาม