-
นิคมอุตสาหกรรม แหล่งรวบรวมโรงงานจากหลายบริษัทและประเภทธุรกิจ ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก ช่วยเพิ่มอัตราการจ้างงาน และยังกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคต่าง ๆ
-
ข้อดีของการทำงานในนิคมอุตสาหกรรม นอกจากรายได้และสวัสดิการที่ดี คนที่ทำงานในนิคมอุตสาหกรรม ก็ยังมีค่าใช้จ่ายต่อวันน้อย โอกาสในการก้าวหน้าสูง และความน่าเชื่อถือที่ดี
-
คนหางานบางส่วนอาจคิดว่าการทำงานในนิคมอุตสาหกรรมจะเป็นงานที่หนักและต้องใช้ร่างกายเป็นส่วนใหญ่ แต่จริง ๆ แล้วการทำงานภายในโรงงานยังมีรายละเอียดอีกมาก ซึ่งสามารถแบ่งออกมาได้ทั้งหมด 3 สายงาน คือ สายการผลิต สายสนับสนุน และสายบริหาร
|
|
JobThai Mobile Application หางานง่าย ได้งานที่ใช่ โหลดเลย!
|
|
ปัจจุบัน หลายองค์กรต่างให้ความสำคัญกับการคัดเลือกพนักงานมากขึ้นและรับจำนวนน้อยลง เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่ทำให้รายได้ลดลง จนองค์กรบางส่วนต้องเลือกปลดพนักงานออกเลยด้วยซ้ำ ซึ่งส่งผลกระทบให้นักศึกษาจบใหม่หลายคนประสบปัญหาการหางานยากมากขึ้น โดยเฉพาะนักศึกษาจบใหม่ที่อยากทำงานเป็นพนักงานประจำในออฟฟิศของบริษัทที่อยู่ในกรุงเทพฯ รายล้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกและสถานที่ต่าง ๆ มากมาย จนจำกัดการหางานให้อยู่แค่กรุงเทพฯ เท่านั้น แต่จริง ๆ แล้วการทำงานประจำที่ออฟฟิศใจกลางเมืองไม่ควรจะเป็นเพียงตัวเลือกเดียวของเด็กจบใหม่ เพราะหลาย ๆ พื้นที่ในประเทศไทยก็มีตำแหน่งงานว่างที่ยินดีรับเด็กจบใหม่อยู่ รวมทั้งโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่มีอยู่มากมาย และมีตำแหน่งงานน่าสนใจในหลากหลายสายอาชีพที่เปิดรับคนอยู่เสมอ
JobThai เลยอยากมาแนะนำอีกหนึ่งตัวเลือกของเด็กจบใหม่เพื่อเพิ่มโอกาสในการได้งาน และข้อดีของการทำงานตามนิคมอุตสาหกรรมให้ทุกคนได้เอาไปใช้ในประกอบในการพิจารณาตอนหางานกัน
นิคมอุตสาหกรรม ส่วนสำคัญต่อเศรษฐกิจ การจ้างงาน และกระจายรายได้
นิคมอุตสาหกรรม แหล่งรวบรวมโรงงานจากหลายบริษัทและประเภทธุรกิจ ทั้งบริษัทไทยและบริษัทต่างชาติ มาไว้ในพื้นที่เดียวกัน โดยมีการจัดสรรอย่างเป็นสัดส่วน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับคนที่ต้องทำงานในพื้นที่นี้ ซึ่งภายในพื้นที่บริเวณนิคมอุตสาหกรรมจะประกอบไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก สาธารณูปโภค และสาธารณูปการมากมาย อย่างธนาคาร ศูนย์การค้า รถรับส่ง และที่พักอาศัยสำหรับคนงาน ซึ่งนิคมอุตสาหกรรมมีส่วนสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก ช่วยเพิ่มอัตราการจ้างงาน และยังกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคต่าง ๆ ได้อีกด้วย โดยนิคมอุตสาหกรรมที่เราคุ้นเคยกันดีก็จะมีนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง, นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง, นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ระยอง, สวนอุตสาหกรรมโรจนะ เป็นต้น
ดูงานในนิคมอุตสาหกรรมทั่วประเทศทั้งหมดได้ ที่นี่
|
|
การทำงานในนิคมอุตสาหกรรม ดียังไงบ้าง
หากพูดถึงสวัสดิการในการทำงาน คนทำงานหลายคนมักจะคิดถึงการทำงานราชการ ธนาคาร หรือรัฐวิสาหกิจ และถ้าพูดถึงรายได้ คนก็อาจจะคิดว่าการทำงานบริษัทเอกชนในเมืองหลวงเป็นตัวเลือกที่ดี แต่จริง ๆ แล้วการทำงานในนิคมอุตสาหกรรมก็มีจุดเด่นในเรื่องของรายได้และสวัสดิการเช่นกัน รวมทั้งยังมีข้อดีอื่น ๆ อีกมากมายด้วย เช่น
-
ค่าใช้จ่ายน้อย เพราะการทำงานในบางตำแหน่ง โรงงานจะมีชุดยูนิฟอร์มให้ใส่ มีโรงอาหารพนักงาน มีรถรับส่ง ที่พัก ไปจนถึงการเจ็บป่วยก็ยังสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้อีกด้วย ทำให้บางครั้งในแต่ละวันเราไม่จำเป็นต้องใช้เงินเลยด้วยซ้ำ
-
ค่าตอบแทนสูง การทำงานในโรงงานนอกจากเงินเดือนที่เราจะได้รับต่อเดือน ก็ยังมีค่าตอบแทนอื่น ๆ ที่เราจะได้รับ อย่างเงินพิเศษจากการทำ OT เบี้ยขยัน ค่าคุณภาพงาน หรือเงินโบนัสประจำปี ซึ่งความมากน้อยของก็จะขึ้นอยู่กับระเบียบของบริษัทและผลงานของตัวเราเองด้วย
-
สวัสดิการ นอกจากภายในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายอยู่แล้ว ในแต่ละบริษัทเองก็จะมีสวัสดิการหลายอย่างให้แก่พนักงานของตนเองด้วย อย่างค่าที่พัก ค่าอาหาร เครื่องแบบพนักงาน รถรับส่ง ค่ากะ หรือค่าเบี้ยกันดาร สำหรับพนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่กันดาร ซึ่งบางแห่งยิ่งเรามีอายุงานมากเท่าไหร่ ตัวสวัสดิการเองก็จะเติบโตตามเช่นกัน
-
โอกาสในการก้าวหน้าสูง การทำงานงานในโรงงานอุตสาหกรรม โอกาสการเติบโตในสายอาชีพก็ไม่ยากเลย เราสามารถเป็นเด็กจบใหม่ที่มีเงินเดือนเท่าพี่ ๆ ที่ทำงานมาก่อนได้หรือได้เลื่อนตำแหน่งเร็ว หากเรามีทักษะและความสามารถที่เพียงพอ
-
ความน่าเชื่อถือและความมั่นคงสูง ในโรงงานที่มีชื่อเสียง ขนาดธุรกิจที่ใหญ่ และเป็นที่รู้จักในวงกว้าง ก็ทำให้บริษัทมีความมั่นคงและมีความน่าเชื่อถือสูงตาม เมื่อเราต้องการทำธุรกรรมบางอย่าง เช่น กู้เงินซื้อบ้านหรือทำบัตรเครดิต บัญชีของเราก็จะมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นเพราะชื่อเสียงขององค์กร นอกจากนี้ความมั่นคงขององค์กรก็ส่งผลให้โอกาสในการปลดพนักงานเกิดขึ้นได้น้อยอีกด้วย
ประเภทสายงานในนิคมอุตสาหกรรม
สำหรับคนหางานบางส่วน หากคิดถึงการทำงานในนิคมอุตสาหกรรม ก็อาจคิดว่าจะเป็นงานที่หนักและต้องใช้แรงกายในการทำงาน เพราะด้วยตัวเนื้องานที่ส่วนใหญ่อยู่ในสายการผลิต ก็คงไม่แปลกที่คนจำนวนไม่น้อยจะคิดไปอย่างนั้น แต่จริง ๆ แล้วการทำงานภายในโรงงานยังมีรายละเอียดอีกมาก ซึ่งสามารถแบ่งออกมาได้ทั้งหมด 3 สายงาน
-
สายการผลิต: ฝ่ายนี้จะมีจำนวนพนักงานมากที่สุดในโรงงาน เป็นฝ่ายที่คอยดูแลในเรื่องของการผลิตสินค้า ตรวจสอบ ก่อนส่งมอบสินค้าไปยังขั้นตอนต่อไป ซึ่งสายงานนี้ส่วนมากจะเป็นคนที่สวมชุดเครื่องแบบของโรงงานและทำงานร่วมกับเครื่องจักรหรือตัวผลิตภัณฑ์สินค้าต่าง ๆ เป็นหลัก โดยสายการผลิตจะมีตำแหน่งงาน เช่น ฝ่ายผลิต ควบคุมคุณภาพ ควบคุมดูแลเครื่องจักร วิศวกรเครื่องกล
-
สายสนับสนุน: ฝ่ายนี้จะเป็นฝ่ายที่คอยทำงานและดูแลงานอยู่เบื้องหลัง ตั้งแต่การคัดสรรพนักงาน ประสานงานกับฝ่ายต่าง ๆ ซ่อมบำรุงสายพาน ไปจนถึงการทำบัญชี ซึ่งจะมีจำนวนพนักงานรองลงมาจากสายการผลิต โดยสายสนับสนุนจะมีตำแหน่งงานที่ค่อนข้างหลากหลาย เช่น งานซ่อมบำรุง งานบัญชี วางแผนการผลิต นำเข้า-ส่งออก บุคคล/ฝึกอบรม วิศวกรอุตสาหการ / โรงงาน ซึ่งบางงานแม้จะอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม แต่ก็ทำงานในส่วนที่เป็นออฟฟิศเหมือนกับงานบริษัททั่ว ๆ ไป
-
สายบริหาร: ฝ่ายนี้จะเป็นสายงานที่มีจำนวนน้อยแต่มีค่าตอบแทนสูงที่สุด ซึ่งจะมีหน้าที่คอยกำหนดทิศทางงาน การบริหาร รวมไปถึงนโยบายต่าง ๆ ของบริษัท ภายใต้คำนำหน้าตำแหน่งอย่าง หัวหน้าหรือผู้จัดการ
ปัจจุบันทางเลือกสำหรับการทำงานมีให้เลือกมากมาย ซึ่งการทำงานตามนิคมอุตสาหกรรมก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ และเหมาะกับการเริ่มต้นชีวิตวัยทำงานของเด็กจบใหม่ นอกจากนี้การที่นิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้กระจายอยู่ทั่วทั้งประเทศ ก็ทำให้เราสามารถลดค่าครองชีพ หรือหลีกหนีความวุ่นวาย และการจารจรที่ติดขัดในเมืองหลวงได้อย่างดี และถ้าตอนนี้คุณเริ่มสนใจแล้ว ก็มาหางานตามโรงงานอุตสาหกรรมทั่วประเทศได้ ที่นี่ เลย
|
|
JobThai Official Group |
Public group · 200,000 members |
|
|
|
Source: