เพราะการสื่อสาร เป็นเหมือนอีกเครื่องมือสำคัญที่ช่วยในการดำรงชีวิตของมนุษย์ มีทั้งการสื่อสารแบบภาษาพูด (วัจนภาษา) แล้ว คนเรายังมักสื่อสารกันโดยผ่าน ภาษากาย (อวัจนภาษา) อีกด้วยโดยที่คนเราก็มักจะใช้การสื่อสารทั้ง 2 แบบนี้ไปควบคู่กัน เพื่อให้การสื่อสารสมบูรณ์ที่สุด
แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะสื่อสารออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะบางครั้งภาษากายที่แสดงออกมา อาจส่งผลต่อบุคลิกภาพของตัวบุคคล โดยเฉพาะคนในวัยทำงาน ที่ต้องสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานรวมถึงบุคคลภายนอกอยู่เสมอ จะต้องรู้จักวิธีควบคุมและวิธีการใช้ภาษากายให้ดี จะมีวิธีอย่างไร เพื่อให้ดูโปรดีนะ?
ภาษากายในออฟฟิศ ที่ส่งผลต่อบุคลิกและการทำงาน
ในการทำงานนั้น ต้องมีการสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานอยู่เสมอ ทั้งการพูดคุย ประสานงาน ไปจนถึงการพูดในที่ประชุม เราจึงจำเป็นต้องระมัดระวังภาษากายบางอย่างที่อาจจะเผลอแสดงออกไปโดยไม่รู้ตัว แล้วมันอาจจะส่งผลต่อภาพลักษณ์และการทำงานของเราได้
ดังที่มีคนเคยกล่าวไว้ว่า “ดวงตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ” เช่นเดียวกันกับการใช้สายตาช่วยในการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพด้วยการ Eye-contact กับผู้ที่สื่อสารด้วยอยู่เสมอ
หากเอาแต่ก้มมองพื้น หรือไม่สบตากับผู้ที่เรากำลังสื่อสารด้วยเลย อาจส่งผลให้อีกฝ่ายมองว่าเราเป็นคนไม่มีความมั่นใจ ไม่มืออาชีพ หรือแย่ไปกว่านั้น อีกฝ่ายเขาอาจจะคิดว่าเราไม่อยากคุยด้วย ก็จะทำให้คนอื่นสูญเสียความมั่นใจและอาจส่งผลกับการประสานงานในครั้งต่อ ๆ ไปด้วยนะ
ช่วงที่ทุกคนกำลังระมัดระวังตัวกันมากขึ้นจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 จึงควรใส่ใจกับการเว้นระยะห่างให้มากขึ้น จากเดิมที่ปกติ คนเราจะมีการเว้นระยะห่างระหว่างตนเองกับผู้อื่นอยู่ที่ประมาณ 100 ซม. เพื่อไม่ให้รู้สึกอึดอัดใจขณะสื่อสารกันและง่ายต่อการวางตัวระหว่างกัน
ในระหว่างที่ประสานงานหรือประชุมงานกับอีกฝ่าย หากไม่มีการเว้นระยะห่างให้พอเหมาะ แล้วเข้าไปใกล้ชิดกับอีกฝ่ายมากเกินไป จะทำให้อีกฝ่ายรู้สึกกดดัน เหมือนกำลังถูกคุกคาม และทำให้อึดอัด ไม่สบายใจที่จะต้องทำงานด้วย
อาจเป็นสิ่งที่หลาย ๆ คน มองข้าม แต่ท่าทางการนั่ง ส่งผลต่อบุคลิกภาพของเราและความน่าเชื่อถือ การนั่งทำงานด้วยท่าทางหลังค่อมหรือนั่งห่อไหล่ จะทำให้คนมองว่าเราดูไม่มีความมั่นใจ หรือกำลังกังวล หวาดกลัวอะไรบางอย่างอยู่ หากเป็นการคุยงานระหว่าง 2 ฝ่ายอยู่ ท่าทางแบบนี้อาจทำให้เรามีโอกาสเสียเปรียบได้ง่ายกว่า
นอกจากจะทำให้เสียบุคลิกแล้ว การนั่งห่อไหล่หรือนั่งหลังค่อมบ่อย ๆ จะทำให้เราปวดเมื่อยตัว เสี่ยงเป็นโรคเกี่ยวกับกระดูก รวมถึงโรคออฟฟิศซินโดรมอีกด้วย เป็นอุปสรรคใหญ่ของการทำงานเลยล่ะ
เชื่อว่าหลาย ๆ คน คงจะมีช่วงเวลาน่าหงุดหงิดใจอย่างเช่นในตอนที่เรากำลังตั้งใจทำอะไรอย่างมีสมาธิสุด ๆ แล้วดันถูกรบกวนจากคนในออฟฟิศที่อยู่ไม่นิ่ง ขยับตัวไปมา โยกเก้าอี้ หรือกดปากกาซ้ำไปซ้ำมา และอีกหลายกิจกรรมทำลายสมาธิ ที่ทำให้เซ็งอยู่ไม่น้อยเลย ใช่แล้วล่ะ ท่าทางแบบนั้นเป็นภาษากายที่เราอาจจะเคยแสดงออกมาแล้วรบกวนเพือนร่วมงานคนอื่น ๆ โดยที่ไม่รู้ตัวด้วยเช่นกัน
ท่าทางเหล่านี้ส่งผลให้เราดูไม่มีความมั่นใจ ไม่มีสมาธิหรือไม่จดจ่อกับสิ่งที่ทำอยู่ ที่สำคัญ สร้างความรำคาญแก่คนรอบข้างเป็นอย่างมาก จนทำให้ดูเป็นคนไม่มีมารยาทในการใช้พื้นที่ทำงานร่วมกับคนอื่น
ใช้ ภาษากาย ให้เป็น ส่งผลดี มีแต่คนอยากร่วมงานด้วย
ถ้าเราใช้ภาษากายอย่างเหมาะสม และใช้ควบคู่ไปกับการสนทนาได้เป็นอย่างดี ก็จะช่วยให้ทั้ง 2 ฝ่าย สื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพิ่มความเป็นมืออาชีพให้กับผู้พูดอีกด้วย
การใช้ภาษากายช่วยโดยการใช้มือประกอบการพูดในขณะที่อธิบายเรื่งบางอย่าง เป็นสิ่งที่สามารถทำได้ และช่วยให้อีกฝ่ายเข้าใจง่าย เห็นภาพชัดเจนขึ้น ในขณะเดียวกันก็ควรควบคุมการใช้ท่าทางประกอบแต่พอดี มีการเว้นช่วงบ้าง เพื่อไม่ทำให้ผู้ฟังเกิดความรำคาญ
ในการสื่อสารกันนั้น เมื่อมีผู้พูด ก็ต้องมีผู้ฟัง เมื่อเราอยู่ในสถานะของผู้ฟัง ก็ควรให้เกียรติผู้ที่กำลังพูดอยู่ ด้วยการไม่เพิกเฉยต่อผู้พูด มีการ Eye-contact และที่สำคัญ การพยักหน้าเป็นเชิงตอบรับอยู่เสมอ เพื่อแสดงให้เห็นว่าเรากำลังรับฟังอยู่ เป็นการช่วยให้ผู้พูดมีความมั่นใจมากขึ้นอีกด้วย
การมอบรอยยิ้ม เป็นภาษากายที่แสดงถึงความเป็นมิตร การมีรอยยิ้มให้กับเพื่อนร่วมงานเป็นสิ่งที่ดี เพราะรอยยิ้มอาจหมายถึงการให้กำลังใจ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนร่วมงาน มีส่วนช่วยให้การประสานงานและการทำงานเป็นกลุ่มมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย เสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดีให้กับตัวเราอีกด้วย
แนะนำ ประกันบำนาญ ตัวช่วยวางแผนชีวิตสำหรับคนวัยทำงาน
สำหรับคนวัยทำงานนั้น การวางแผนชีวิตเพื่อความมั่นคงในอนาคตเป็นเรื่องสำคัญ เพราะคงไม่มีใครอยากทำงานไปตลอดชีวิต หลายคนจึงมีวิธีในการวางแผนการเงินที่แตกต่างกันออกไป การทำประกันบำนาญ เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่จะช่วยให้มีเงินรองรับการใช้ชีวิตเมื่อเกษียณอายุ หมดกังวลเรื่องเป็นภาระของคนในครอบครัวอีกด้วย เพราะฉะนั้น คนวัยทำงานจึงไม่ควรละเลยเรื่องการวางแผนชีวิตในอนาคตเลย
“การสื่อสาร” เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือของมนุษย์ และยังเป็นหัวใจสำคัญของการทำงาน และบุคลิกภาพของผู้สื่อสารเอง ก็มีส่วนช่วยส่งเสริมให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะฉะนั้น อย่ามองข้ามท่าทาง และภาษากายของตนเอง เพื่อจะได้ส่งผลดีกับตัวเองในอนาคต
บทความโดย Rabbit Finance