JobThai Mobile Application หางานง่าย ได้งานที่ใช่ โหลดเลย!
|
|
ความท้าทายที่เข้ามาในชีวิต อาจมีหลายปัจจัยและเหตุผลต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดขึ้น บ่อยครั้งที่เกิดปัญหาขึ้น หลายคนมักจะจมอยู่กับปัญหาแทนที่จะคิดหาทางออกที่ดีที่สุด ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิดเพราะแต่ละคนก็มีวุฒิภาวะ ภูมิคุ้มกัน การรับมือ และความสามารถในการแก้ปัญหาที่ต่างกัน ซึ่ง Life Crisis ที่เราพูดถึงในบทความนี้ มันอาจไม่ใช่วิกฤติที่เห็นได้ชัดเจน รับรู้ได้ทันที แต่มันอาจมาในรูปแบบของสัญญาณบางอย่างที่เราไม่เคยสังเกตุเลยก็ได้ว่า Life Crisis กำลังใกล้เข้ามา และเมื่อเรารู้ตัวอีกทีชีวิตเราก็อยู่ท่ามกลางวิกฤตินั้นไปแล้ว JobThai เลยอยากมาแนะนำ 4 Life Crisis ที่คนทำงานหลายคนอาจต้องเจอ และวิธีแก้ไข เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับคนทำงานทุกคนกัน
สัญญาณเตือน: ปรับตัวและรับมือกับสิ่งใหม่ ๆ ไม่ทัน, ตั้งคำถามกับตัวเองว่าจบไปจะทำงานอะไร, กังวลเกี่ยวกับอนาคต, รู้สึกว่าตัวเองไม่เก่ง, รู้สึกเหมือนอยู่ตัวคนเดียว
วิกฤตินี้เป็นวิกฤติที่อาจเกิดขึ้นในวัยต้น 20 เพิ่งเรียนจบใหม่ ๆ และเริ่มก้าวเท้าเข้าสู่วัยทำงาน ซึ่งช่วงนี้อาจเป็นช่วงอายุที่ต้องปรับตัวเยอะที่สุดเลยก็ได้ ทั้งเรื่องงาน เรื่องเงิน รวมถึงเรื่องอนาคตที่เด็กจบใหม่หลายคนต้องเผชิญ ก็อาจทำให้เราเตรียมตัวรับมือกับเรื่องใหม่ ๆ ที่เข้ามาล้อมรอบเราไม่ทัน
ในวัยนี้เราจะเริ่มเผชิญกับการแยกย้ายจากเพื่อนมหาวิทยาลัยเพื่อเข้าสู่โลกการทำงาน บางคนก็ถึงช่วงชีวิตที่ต้องเริ่มดูแลตัวเอง ต้องออกมาอยู่ข้างนอก และไม่สามารถขอความช่วยเหลือเรื่องเงินจากผู้ปกครองได้อีกต่อไป เราต้องใช้ผลงานและความสามารถเข้าแลกเพื่อให้ได้งานในบริษัทที่ต้องการ ต้องคอยพิสูจน์ศักยภาพของตัวเองให้คนอื่นเห็น ซึ่งการทำงานเป็นสิ่งที่ใหม่มาก เพราะชีวิตที่ผ่านมาเราอยู่กับการเรียนมาตลอด โลกการทำงานเป็นโลกที่แทบจะไม่รู้จัก ทำให้อาจเกิดปัญหาต่าง ๆ ในการทำงานเพราะความเป็นมือใหม่ จนเครียด กดดัน และไม่รู้จะรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ยังไง
สัญญาณเตือน: รู้สึกว่าตัวเองไม่เก่ง, กังวลเกี่ยวกับอนาคต, ไม่รู้ว่าชีวิตควรจะไปทางไหน, รู้สึกเหงา เบื่อ ท้อกับชีวิต, ไม่พอใจกับชีวิตที่เป็นอยู่, รู้สึกว่าตัวเองไม่มีอะไรที่มั่นคง, ตั้งคำถามกับตัวเองเรื่องการต้องดูแลพ่อแม่ แต่ยังเอาตัวเองไม่รอด
ในกลุ่มคนที่มีอายุประมาณ 25-30 ปี เป็นวัยที่ร่างกายของเราสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ และจะรู้สึกว่าควรเริ่มทำตามความฝันหรือหาความต้องการจริง ๆ ของตัวเองให้เจอได้แล้ว เริ่มมองเพื่อนรอบข้างหรือคนวัยเดียวกันที่ทำธุรกิจและประสบความสำเร็จ จนทำให้กลายเป็นความรู้สึกกดดันตัวเอง มีความกังวลเกี่ยวกับการวางแผนชีวิต คุณภาพชีวิต และคาดหวังว่าชีวิตในวัยผู้ใหญ่จะต้องมีอะไรเป็นชิ้นเป็นอันบ้าง
จากวัย 20 ต้น ๆ ที่เราเคยร่างภาพฝันอันสวยงามในอนาคตเอาไว้ ในช่วง Quarter-Life Crisis เราจะเข้าสู่โลกความเป็นจริง และเริ่มตั้งคำถามกับเรื่องต่าง ๆ รอบตัวมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาชีพ ความสัมพันธ์ หรือสถานการณ์ทางการเงิน หลายคนจะมีความรู้สึกว่าช่วงวัยนี้ควรมีบ้าน รถ หรือสถานะทางการเงินที่มั่นคงได้แล้ว เมื่อไม่มีในสิ่งที่เคยหวังเอาไว้ สิ่งเหล่านี้ก็กลายมาเป็นความผิดหวังกับตัวเองในที่สุด
สัญญาณเตือน: เหนื่อยหน่าย, สนใจสิ่งรอบข้างน้อยลง, สับสนกับเป้าหมายของชีวิต, หงุดหงิดง่าย, รู้สึกว่าตัวเองอยู่ใกล้จุดสิ้นสุดของชีวิตแล้ว, รู้สึกไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต, คิดวนเวียนในเรื่องที่ไม่สมหวัง, ความภูมิใจในตัวเองลดลง
Mid-life Crisis หรือวิกฤตวัยกลางคน ที่เราเคยได้ยินกัน เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในช่วงอายุประมาณ 30 ปลาย ถึงช่วงวัย 50 หลายคนก็เริ่มเปิดรับสิ่งใหม่ ๆ น้อยลง และทำแต่อะไรที่รู้สึกว่าเป็น Safe Zone ของตัวเอง เกิดความวิตกกังวลและคิดไปต่าง ๆ นานาว่า ตัวเองแก่แล้ว เหลือเวลาในชีวิตอีกไม่มาก ในขณะที่คนทำงานเพศหญิงบางคนอาจถึงช่วงการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนและส่งผลให้อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย
ปัญหาของคนวัยนี้นอกจากปัจจัยภายนอกอย่างเรื่องงาน การเงิน หรือความสัมพันธ์ ก็ยังมีเรื่องของสุขภาพร่ายกายที่เสื่อมถอยลงอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นโรคภัยไข้เจ็บหรือป่วยง่าย ซึ่งทำให้ตระหนักว่าตัวเองไม่เหมือนเดิมแล้ว สำหรับคนที่สามารถทำความเข้าใจและยอมรับได้ก็ไม่เป็นไร แต่สำหรับคนที่ยังยอมรับไม่ได้ก็อาจเป็นปัญหาใหญ่ของเขาเลยก็ได้
เช็กให้ชัวร์ ว่าที่กำลังเป็นอยู่ คืออาการของ
|
|
สัญญาณเตือน: รู้สึกเบื่องาน, เริ่มตั้งคำถามว่างานที่ทำอยู่ตอบโจทย์ชีวิตจริง ๆ ไหม, หมดแพชชันในการทำงาน, อยากเปลี่ยนงานแต่ก็ไม่รู้จะไปทำอะไรต่อดี, ทำงานตามความต้องการขั้นต่ำของบริษัท,ทำงานให้เสร็จไปวันต่อวัน
เป็นวิกฤติที่เกิดขึ้นในวัยทำงานที่มีอายุงานมาประมาณหนึ่ง เป็นช่วงที่อยู่กึ่งกลางของชีวิตการทำงาน จะเป็นเด็กใหม่ไฟแรงก็ไม่ใช่ จะเป็นวัยที่ส่งต่อองค์ความรู้หรือเตรียมตัวเข้าสู่วัยเกษียณก็ไม่เชิง ซึ่งอาการ Mid-Career Crisis จะทำให้คนทำงานบางกลุ่มไม่รู้สึกผูกพันธ์กับองค์กรหรืองานที่ทำอยู่ พวกเขาแค่มาทำงาน รับผลตอบแทน และกลับบ้านเพียงเท่านั้น
Mid-Career Crisis เป็นสถานการณ์ที่คนทำงานหลายคนต้องเจอ ไม่ว่างานที่เรากำลังทำอยู่เราจะมีความชอบแค่ไหน แต่ถ้าเรามัวแต่ทำงานจนไม่ได้หาเวลาไปเติมพลังด้านอื่น ๆ หรือไม่ได้หา Work-Life Balance ของตัวเองให้เจอ สุดท้ายวิกฤติการทำงาน หรืออาการหมดไฟในการทำงาน (Burnout) ก็อาจเกิดขึ้นกับเราได้ ซึ่งวิกฤตินี้ไม่ได้ส่งผลเสียต่อแค่ตัวเราเอง แต่อาจส่งผลเสียต่อองค์กรด้วย
รับมือยังไงในวัยที่ชีวิตสู้กลับ
ในวัยที่เราพยายามสู้กับทุกสถานการณ์ที่เข้ามาในชีวิตแต่ชีวิตสู้กลับ หนึ่งในวิธีรับมือได้อย่างดีที่สุดคือการใจดีกับตัวเองให้มากขึ้น และชื่นชมตัวเองเยอะ ๆ เพราะความจริงไม่มีใครที่สมบูรณ์แบบ 100% แต่ละคนก็มีข้อเสียด้วยกันทั้งนั้น หากปัญหาที่เราเผชิญอยู่คือรู้สึกว่าตัวเองไม่ประสบความสำเร็จเอาซะเลยไม่ว่าจะเรื่องอะไร ก็ลองเริ่มจากการตั้งเป้าหมายเล็ก ๆ ให้ตัวเอง และค่อย ๆ ทำตามเป้าหมายไปทีละนิดแทน โดยที่เราต้องไม่กดดันตัวเองมากจนเกินไป และไม่นำความคาดหวังของคนอื่น ๆ มาตีกรอบชีวิตตัวเอง
จริง ๆ แล้ว Life Crisis ต่าง ๆ มันไม่ใช่สิ่งที่ ‘ต้องเกิด’ ในช่วงอายุเท่านี้เป๊ะ ๆ หรือสัมผัสได้เลยว่าเรากำลังอยู่ในช่วงวิกฤติของชีวิตแน่ ๆ มันอาจเป็นเพียงสภาวะอารมณ์เล็กน้อยที่เกิดขึ้นในหัวเราเท่านั้นเอง บางวันเราอาจรู้สึกเบื่อหรือไม่มีแรงในการทำงาน แต่วันต่อมาเราก็อาจจะผ่านไปได้ ซึ่งทั้งหมดก็ขึ้นอยู่กับเรื่องราวที่แต่ละคนเจอมา ทั้งประสบการณ์ในชีวิต ทัศนคติ หรือแม้กระทั้งความมั่นคงของจิตใจ นอกจากนี้ความสามารถในการรับมือกับสิ่งที่เจอของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน แต่ถ้าได้สะสมประสบการณ์หรือภูมิคุ้มกันเอาไว้ ยังไง เราก็จะผ่านมันไปได้แน่นอน
JobThai Official Group เพื่อการหางาน หาคน และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงาน
บทความเดิมได้ถูกเผยแพร่ในวันที่ 1 มิถุนายน 2022 และได้รับการอัปเดตโดยทีมงาน JobThai
ที่มา:
petcharavejhospital.com
healthyliving.in.th
wongnai.com
arts.chula.ac.th