Trends 2021 People & Culture ที่คนทำงานและองค์กรควรรับมือให้ทัน

07/04/21   |   9.1k   |  

ปี 2020 เป็นปีที่ COVID-19 พลิกโฉมโลกการทำงานยุคใหม่อย่างรวดเร็ว ในปี 2021 นี้ ผลกระทบจาก COVID-91 ก็ยังไม่จางหายไป ในงาน CTC2021 (Creative Talk Conference) เชิญผู้เชี่ยวชาญในวงการการบริหารงานบุคคล ได้แก่ คุณกวีวุฒิ เต็มภูวภัทร Creator of 'แปดบรรทัดครึ่ง' and Head of 'SCB10X', SCB และ คุณอภิชาติ ขันธวิธิ Managing Director at QGEN / HR The Next Gen มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่น่าสนใจในหัวข้อ “Trends 2021 People & Culture” 

 

การเปลี่ยนแปลงของเทรนด์ในปี 2021

คุณอภิชาต เล่าว่า COVID-19 เข้ามาทำให้ Lifestyle ของคนเปลี่ยนไปซึ่งนั่นก็จะกระทบไปถึงวิธีการทำงาน วิธีการเลือกคนเข้าองค์กรด้วย โดยคุณคุณอภิชาตนำหลักการ P-E-S-T ซึ่งเป็นหลักการในการบริหารธุรกิจ มาประยุกต์ใช้ในการประเมินผลกระทบกับคน

 

 

P – Political Factor ปัจจัยเรื่องการเมือง ทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาค นโยบายหรือการเคลื่อนไหวทางการเมืองต่าง ๆ ย่อมมีผลกระทบกับการทำงาน

E – Economic Factor ปัจจัยเรื่องของเศรษฐกิจ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงย่อมมีผลกระทบกับการใช้ชีวิตของคน ในช่วง COVID-19 อาจจะทำให้คนมีความกังวลในเรื่องเศรษฐกิจมากขึ้น ทำให้คนประหยัด และหันมาสนใจเรื่องของการออมเงินมากขึ้น

S – Socio-Cultural Factor ปัจจัยเรื่องสังคมและวัฒนธรรม ในยุคนี้เรามีคนทำงานจากหลากหลาย Gen การทำงานย่อมมีความแตกต่าง องค์กรต้องหาวิธีมาจัดการให้คนหลากหลาย Gen ทำงานร่วมกัน อีกประเด็นก็คือเรื่องสังคมผู้สูงอายุ มีคนทำงานหาเงินได้น้อยลงก็กระตุ้นให้เราต้องปรับเรื่องวิธีการทำงานใหม่

T - Technological Factor ปัจจัยในเรื่องของเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น 5G, Automation, AI ส่งผลกระทบกับวิธีการทำงานแน่นอน

 

ซึ่งทั้งหมดนี้จะกระทบกับวิธีการทำงาน ทัศนคติ และ Mindset ของคนทำงาน และยังไปกำหนด Market Trend และ Skill ของตลาดแรงงานด้วย พอตลาดแรงงานต้องการคนแบบนี้ถ้าเราไม่ปรับตัวหรือพัฒนาตัวเองก็จะกระทบกับทั้งความมั่นคงในอาชีพและรายได้

 

คุณกวีวุฒิ เต็มภูวภัทร Creator of 'แปดบรรทัดครึ่ง' and Head of 'SCB10X', SCB
 

คุณกวีวุฒิ กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงก็คือจุดเริ่มต้นของการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ให้เรากลับไปมองเรื่องความต้องการพื้นฐานด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ ไม่ว่าอะไรจะเปลี่ยนแต่เราก็ต้องตอบสนองความพื้นฐานให้ได้ พฤติกรรมเราจะเปลี่ยนใต้สถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการนั้น คนอาจจะประหยัดมากขึ้นในการใช้จ่ายเพื่อตอบสนองความต้องการนี้ หรือก็ต้องหาเงินให้ได้มากขึ้น

 

ด้านองค์กรก็ต้องมีการลงทุนเรื่องของอุปกรณ์การทำงานเพื่อรองรับกับเทรนด์การทำงานแบบ Work From Anywhere องค์กรใหญ่ ๆ ก็ไม่ค่อยมีผลกระทบมากเพราะปรับกันไปตั้งแต่คราวที่แล้ว แต่ถ้าองค์กรขนาดกลางหรือขนาดเล็กยังไม่มีการปรับตัวเรื่องนี้ก็จะส่งผลให้พนักงานทำงานได้ไม่เต็มที่ เราอาจจะเสียพนักงานดี ๆ ไปได้ถ้าเราไม่เตรียมความพร้อมเรื่องนี้ไว้ให้เขา ช่วง COVID-19 ที่ผ่านมาก็จะเห็นคนเริ่มออกมาทำธุรกิจขายของออนไลน์ ส่วนพนักงานประจำก็เริ่มทำงานที่ได้รายได้เสริม ซึ่งต่อไปจะเป็นเรื่องปกติของเด็กรุ่นใหม่ที่จะมองหารายได้เสริมตลอดเวลา องค์กรก็ต้องปรับตัวเปิดกว้างในเรื่องนี้มากขึ้น หลังจากนี้ Second Job หรืองานที่ 2 น่าจะเป็นสิ่งที่เราเห็นกันได้บ่อยขึ้น

 

คุณอภิชาตเสริมว่า เพราะคนทำงานรู้สึกว่ายุคนี้เขาทำงานอยู่บนความไม่แน่นอน ช่วง COVID-19 เกิดทั้งการปรับผัง ปรับองค์กร ลดเงินเดือน เอาคนออก หรือบางองค์กรเองไม่ได้ผลกระทบจาก COVID-19 ขนาดนั้น แต่ก็ใช้โอกาสนี้ในการปรับคน ปรับองค์กรไปด้วยเลย โดยเผยผลสำรวจว่าคนทำงานมีความกังวลในเรื่องใดบ้าง มี Keywords ที่สำคัญก็คือ เรื่องของตัวงาน กังวลว่างานที่ทำอยู่ตอนนี้สำคัญแค่ไหน จะถูกแทนที่ด้วยอะไรหรือเปล่า ถ้ารู้ว่ามีอะไรมาแทนได้ คนทำงานก็ต้องพยายามพัฒนาตนเองขึ้นมาเพื่อไม่ให้มีอะไรมาทดแทน เรื่องของรายได้ที่ไม่เพียงพอกับรายจ่าย คนทำงานก็ต้องหาเงินเพิ่มขึ้น งานที่สองจะเป็นสิ่งที่คนเริ่มมองหามากขึ้น และเรื่องที่สามก็คือสุขภาพทั้งเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิต

 

 

ถ้าองค์กรไม่สามารถสร้างความรู้สึกเชื่อมั่นให้คนทำงานในเรื่องเหล่านี้ได้ เขาก็จะไม่อยากเต็มที่กับองค์กรอีกต่อไป ถ้าเขาเป็นคนทำงานที่มีคุณภาพองค์กรเองก็ต้องปรับตัวเพื่อรักษาคนทำงานไว้ให้ได้เหมือนกัน

 

คนทำงานประจำต้องเตรียมพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงในอนาคตอย่างไร

คุณกวีวุฒิคิดว่า คนทำงานต้องพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเพราะ Job Security มันจะไปได้เท่าที่ความสามารถของเรามี ความรู้ที่เรียนจากมหาวิทยาลัยสักพักก็ตกยุคแล้ว สิ่งใหม่ ๆ ให้เรียนรู้และพัฒนามีอีกเยอะมาก ยิ่งช่วงนี้ธุรกิจเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้บริหารจะเห็นได้ง่ายมากว่าขึ้นว่าใครปรับตัวได้หรือไม่ได้ ให้มองโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นการพัฒนาตัวเอง ลองอาสาทำงานใหม่ ๆ สิ่งเหล่านี้จะแสดงทัศนคติด้านที่ดีของเราออกมาให้คนอื่นเห็น

 

ด้วยเทคโนโลยีตอนนี้มันเปิดโลกเรามาก เรามีโอกาสได้ออกไปเจอคน มีโอกาสได้ศึกษาอะไรต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น มีโอกาสที่เราจะได้ทำอะไรใหม่ ๆ ในองค์กรที่ปกติเราจะไม่ได้ทำ ถ้าเรามีความสนใจ กล้าทดลองมากพอ เราจะสร้างคุณค่าให้กับตัวเองได้ แล้วเราจะกำหนด Job Security ของเราได้เอง

 

Trend ที่ตกไปแล้ว ควรให้ความสำคัญลดลง

คุณกวีวุฒิแนะนำว่าความกังวลเรื่องความไม่แน่นอนต่าง ๆ ตอนนี้หลายอย่างมันเป็นความแน่นอนไปแล้ว New Normal ได้สร้างพฤติกรรมใหม่ ๆ อะไรที่คนเรารู้สึกว่ามันเป็นประโยชน์มากกว่าเดิมเราก็จะยึดติดกับสิ่งนั้นแม้ว่า COVID-19 จะหายไปเราก็จะทำต่อไป บางเรื่องมันกลับวางแผนในระยะยาวได้แล้ว

 

คุณอภิชาติ ขันธวิธิ Managing Director at QGEN / HR The Next Gen
 

ทางด้านคุณอภิชาต พูดถึงเรื่องของ Burn Out ว่าตอนนี้ให้มองมันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เพราะเราจะต้องเจอการ Burn Out อยู่แล้วเรื่อย ๆ  ต้องหาวิธีสร้างแรงจูงใจให้กับตัวเองให้กลับมาทำงานได้ อย่ารอให้ใครมาช่วยแก้ให้เรา เราจะตามคนอื่นไม่ทันแน่ ๆ ในโลกการทำงานยุคนี้

 

 

สถานการณ์ระบาดของไวรัส COVID-19 ยังมีความเสี่ยงและไม่น่าวางใจในปัจจุบัน เพื่อความปลอดภัยของผู้เข้าร่วมงานและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย CREATIVE TALK ได้ตัดสินใจยกระดับการจัดงาน AP Thailand & SEAC Present CREATIVE TALK CONFERENCE 2021 (CTC2021) จากที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค เป็นการจัดงานแบบออนไลน์เต็มรูปแบบ

 

โดยจะมีงาน CONFERENCE ONLINE ที่ทุกท่านจะพบกับประสบการณ์รูปแบบใหม่ การเรียนรู้ผ่านทางออนไลน์ เริ่มต้นวันที่ 25 เมษายน 2021 ด้วย Exclusive Content 30 Sessions ในด้าน Creative, Marketing, Innovation, Entrepreneurship, และ People จากเหล่า Speakers ระดับประเทศ

 

เพิ่มความพิเศษด้วย CREATIVE TALK CONFERENCE "ORIGINAL CONTENTS" และ Creative Workshop ที่จะเพิ่มขึ้นทุกเดือนตลอดทั้งปี 2021 โดยเนื้อหาพิเศษเหล่านี้ เฉพาะผู้ที่ซื้อบัตร CTC2021 และทุกท่านที่มี Ticket ในวันที่ 24 มกราคมที่ผ่านมา สามารถเข้าชมเนื้อหาทั้งหมดได้ตลอดปี 2021

 

พบกับ "CREATIVE TALK CONFERENCE ONLINE" ครั้งแรกในวันที่ 25 เมษายน 2021 นี้

สนใจซื้อบัตร คลิกที่นี่ https://bit.ly/39UKYY0

tags : ctc, people, culture, creative talk conference, trend, hr, hr advice



ติดตามข่าวสารและเรื่องราวดีๆ ทาง Email

ขอบคุณสำหรับการติดตาม