อัปเดตภาษีปีประจำปี 2563 ใครต้องเสียใครต้องยื่น

 

  • รายได้เท่าไหร่แค่ยื่นภาษี รายได้เท่าไหร่ต้องเสียภาษี มาดูสรุปง่าย ๆ สำหรับคนทำงานกัน
  • หากเราเป็นคนที่ต้องเสียภาษี มาดูวิธีคำนวณเงินได้สุทธิและอัตราการเสียภาษีที่ต้องจ่ายกันว่าต้องเสียภาษีกี่เปอร์เซนต์จากเงินได้สุทธิ และใช้อะไรลดหย่อนภาษีได้บ้าง 
  • เอกสารอะไรที่คนทำงานต้องเตรียมพร้อมเพื่อยื่นภาษีหรือใช้ในการลดหย่อน

 

JobThai Mobile Application สมัครงานง่าย ได้งานเร็ว

iOS

Android

Huawei AppGallery

 

เรื่องของ “ภาษี” ยังเป็นสิ่งที่คนทำงานหลายคนไม่ค่อยเข้าใจ ไม่ว่าจะเป็นค่าลดหย่อน รายได้สุทธิ ยื่นแต่ไม่ต้องจ่าย หรือทั้งจ่ายทั้งยื่น ดังนั้นวันนี้ JobThai เลยจะมาสรุปให้คนทำงานเข้าใจง่าย ๆ ว่ารายได้เท่าไหร่ต้องจ่ายภาษี และอัปเดตภาษีประจำปี 63 ให้ทุกคนได้รู้

 

รู้จักกับฐานภาษี: สาเหตุที่ทำให้เสียภาษีนั้นเพราะอะไร

 

1. การคำนวณว่าคนทำงานจะต้องยื่นภาษีหรือเสียภาษีหรือไม่

รายได้จากการทำงานประจำจะเป็นข้อบ่งชี้ว่าเราจะต้องยื่นหรือจ่ายภาษีหรือไม่ ฉะนั้นต้องรู้ก่อนว่าเรามีรายได้เท่าไหร่ จากการทำงานประจำเพียงอย่างเดียวต่อเดือน

-หากมีเงินเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ไม่ต้องยื่นภาษี และไม่ต้องเสียภาษี

กรณีจ่ายประกันสังคม

-มีเงินเดือนไม่เกิน 26,583.33 บาท ต้องยื่นภาษีแต่ไม่ต้องเสียภาษี 

-มีเงินเดือนมากกว่า 26,583.33 บาท ต้องยื่นภาษีและต้องเสียภาษี 

กรณีไม่ได้จ่ายประกันสังคม

-มีเงินเดือนไม่เกิน 25,833.33 บาท ต้องยื่นภาษีแต่ไม่ต้องเสียภาษี

-มีเงินเดือนมากกว่า 25,833.33 บาท ต้องยื่นภาษีและต้องเสียภาษี 

 

2. การคำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิ (ยังไม่รวมค่าลดหย่อน)

ถ้าสิ่งที่เราต้องทำคือแค่ยื่นภาษีแต่ไม่ต้องเสียภาษีก็ศึกษาไว้เป็นความรู้หรือข้ามไปอ่านเอกสารที่ต้องยื่นด้เลย แต่หากเราอยู่ฝั่งคนที่ต้องเสียภาษี เรามาดูกันว่าการคำนวณภาษีที่ต้องเสียจากเงินได้สุทธิคืออะไร 

‘ตัวอย่างยังไม่ได้รวมค่าลดหย่อนภาษีจากประกันสังคม หรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ’

 

การคำนวณเงินได้สุทธิคำนวณจาก

เงินได้ – ค่าใช้จ่าย 50% (จากเงินได้) แต่ไม่เกิน 100,000 บาท - ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท = เงินได้สุทธิ

 

การคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายจากเงินได้สุทธิ

เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี

เงินได้สุทธิ (บาท)

อัตราภาษี

0 – 150,000

ได้รับการยกเว้น

>150,001 – 300,000

ยื่น

>150,001 – 300,000

5%

>300,001 – 500,000

10%

>500,001 – 750,000

15%

>750,001 – 1,000,000

20%

>1,000,001 – 2,000,000

25%

>2,000,001 – 5,000,000

30%

>5,000,001 ขึ้นไป

35%

 

3. อะไรที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้บ้าง 

หากเราเป็นคนที่ต้องเสียภาษี มาอ่านกันก่อนว่าอะไรที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ จะได้ไม่เสียสิทธิของตัวเองไปฟรี ๆ โดยในปีนี้มีตัวช่วยลดหย่อนภาษีอยู่หลายกลุ่ม ได้แก่


          - กลุ่มค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว เช่น ค่าลดหย่อนส่วนตัว คู่สมรส บุตร บิดา มารดา
          - กลุ่มประกัน เงินออม และการลงทุน เช่น ประกันสังคม ประกันชีวิต กองทุนรวม SSF, RMF, กบข., กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และที่เพิ่มเข้ามาใหม่อย่างกองทุน SSFX เป็นกองทุนพิเศษเพื่อเยียวยาผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19
          - กลุ่มค่าลดหย่อนเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ เช่น ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อการมีที่อยู่อาศัย
          - กลุ่มเงินบริจาค เช่น เงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษา สถานพยาบาลของรัฐ การกีฬา และการพัฒนาสังคม 
          - กลุ่มค่าลดหย่อนตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ เช่น ช้อปดีมีคืน ให้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท 

แต่ต้องเป็นการซื้อสินค้าดังนี้

 

  • สินค้าและบริการที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม และสามารถออกใบกำกับภาษีได้
  • หนังสือที่เป็นสิ่งพิมพ์ รวมทั้ง e-Book จากร้านที่เป็นบริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือ E-Book ที่ออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป หรือใบเสร็จรับเงินได้  
  • สินค้า OTOP ที่ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชน มีหลักฐานเป็นใบเสร็จรับเงิน หรือใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปที่ระบุว่าเป็นรายการซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์

 

เกร็ดความรู้!

แล้วรายได้ 26,000 ทำไมถึงไม่ต้องเสียภาษีล่ะ ?

ก็ลองคิดดูกันอีกทีว่า สมมติเรามีรายได้ต่อเดือนประมาณ 26,000 บาท ปีหนึ่งเราก็จะมีเงินเดือนรวม 312,000 (ไม่รวมโบนัสสิ้นปีนะ นับแต่เงินเดือนอย่างเดียว) ซึ่งโครงสร้างภาษีใหม่นั้น กำหนดให้ค่าลดหย่อนส่วนตัวนั้นลดไปทันที 60,000 บาท และยังหักค่าใช้จ่ายได้ครึ่งหนึ่งของรายได้หรือ 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ก็จะเท่ากับว่า ครึ่งหนึ่งของรายได้เราคือ 156,000 แต่เนื่องจากกฎหมายกำหนดว่าต้องไม่เกิน 100,000 เราก็ตัด 56,000 ออกเลยได้ลด 100,000 บวกกับค่าลดหย่อนส่วนตัวอีก 60,000 บาท ก็เท่ากับว่าเราจะได้รับการงดเว้นภาษีเท่ากับ 160,000 บาทพอดี

เมื่อเอาเงินได้ไปหักค่างดเว้นก็จะเหลือ 312,000 - 160,000 = 152,000 บาท

และอย่าลืมว่าเราจ่ายค่าประกันสังคมที่โดนหักไปเดือนละ 750 บาท เท่ากับเราจ่ายไปปีละ 9,000 บาท ก็สามารถนำมาเป็นค่าลดหย่อนได้

ดังนั้นรายได้สุทธิเราจึงเป็น 152,000 - 9,000 = 143,000 บาท

และตามบันไดฐานภาษีขั้นแรกนั้นยังละเว้นอีก 150,000 บาท ซึ่งมากกว่าเงินได้สุทธิ 143,000 ก็เลยแค่ยื่นแบบฟอร์มแต่ไม่ต้องเสียภาษีนั่นเอง

 

คนทำงานกับเรื่องของการลดหย่อนภาษี

4. เอกสารอะไรที่ต้องใช้บ้าง

ในปัจจุบันเราสามารถยื่นภาษีผ่านระบบออนไลน์ได้แล้ว โดยขั้นตอนยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามี 2 แบบ คือ แบบ ภ.ง.ด.90 หรือคนที่มีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือน และแบบ ภ.ง.ด.91 หรือคนที่ได้เงินเดือนโดยไม่มีรายได้เสริมจากแหล่งงาน หรือรายได้อื่น ซึ่งเอกสารที่ต้องเตรียมก่อนการยื่นภาษีมีดังนี้

  • เอกสารแสดงรายได้ หนังสือรับรองเงินเดือน (50 ทวิ) จากนายจ้าง เป็นเอกสารที่ระบุว่าปีนั้นมีรายได้รวมเท่าไหร่ มีการหักชำระกองทุน หรือเงินทุนสำรองต่าง ๆ
  • รายการลดหย่อนภาษีที่รวบรวมไว้ตลอดทั้งปี ได้แก่ ค่าเลี้ยงดูบิดา-มารดา หรือบุตร
  • เอกสารประกอบการลดหย่อนภาษีเพื่อนำมาใช้ในการกรอกแบบฟอร์มยื่นภาษี เช่น จำนวนเงินที่ซื้อกองทุน, เบี้ยประกันชีวิต, ประกันสุขภาพ, เอกสารช้อปดีมีคืน หรือค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าหรือบริการ

หากได้รับรายได้จากบริษัททางเดียว สามารถใช้ใบทวิ 50 แต่หากมีรายได้หลายทาง ก็ต้องเตรียมเอกสารแสดงการหักภาษีของหน่วยงานที่จ้างไว้ด้วย

 

ฝากประวัติเพื่อหางานที่ใช่ได้ ที่นี่

 
JobThai Official Group
Public group · 102,000 members
Join Group
 

 

เว็ปไซต์กรมสรรพกร

ราชกิจจานุเบกษา

tags : คนทำงาน, การจ่ายภาษี, การยื่นเสียภาษี, คนทำงานกับการเสียภาษี, ภ.ง.ด., ภ.ง.ด.90, ภ.ง.ด.91, ภาษี, ภาษีบุคคลธรรมดา, คำนวณภาษี, ลดหย่อนภาษี, เด็กจบใหม่, ไลฟ์สไตล์, lifestyle, jobthai



ติดตามข่าวสารและเรื่องราวดีๆ ทาง Email

ขอบคุณสำหรับการติดตาม