6 วิธีควบคุมอารมณ์โกรธในที่ทำงาน

เสียงเดินลงส้นเท้าที่ดังมาตามทาง ผิดวิสัยการเดินปกติอย่างที่เคยเป็น พร้อมกับใบหน้าที่บึ้งตึง เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า ญาดา เจ้าของใบหน้าและเสียงเดินคนนั้นกำลังอารมณ์ไม่ดี ซึ่งสาเหตุของอาการเหล่านี้เกิดจากปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับเธอไม่เว้นแต่ละวัน ไม่ว่าจะจากลูกค้า เจ้านาย หรือแม้แต่เพื่อนร่วมงาน จนทำเอาเธอเริ่มที่จะเก็บอารมณ์ความรู้สึกไม่ไหว

 

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังเจอกับสถานการณ์เดียวกับญาดา JobThai อยากจะขอเตือนว่า ให้คุณพยายามหาวิธีระงับอารมณ์โกรธ หรือไม่พอใจเหล่านั้นให้ได้มากที่สุด เพราะไม่อย่างนั้นแล้วอาจจะเกิดผลกระทบกับการทำงานของคุณได้ แต่ถ้าหากคุณยังไม่รู้ว่าควรจะทำยังไงอารมณ์เหล่านั้นถึงจะหายไป วันนี้เรามีวิธีที่คุณสามารถทำได้ง่าย ๆ มาฝาก

 

 

  • นับ 1- 10 ในใจเพื่อระงับอารมณ์ของตัวเองก่อนที่จะพูดอะไรออกไป ที่จะทำให้ต้องมาเสียใจทีหลัง
  • เขียนในสิ่งที่อยากจะพูด แล้วทำลายทิ้งหลังจากได้ระบายสิ่งที่อยู่ในใจออกมาเรียบร้อยแล้ว
  • พูดคุยกับเพื่อน ครอบครัว หรือเพื่อนร่วมงานที่ไว้ใจได้ ถึงปัญหาต่างที่เกิดขึ้น อาจจะทำให้คุณได้คำแนะนำ หรือกำลังใจดี ๆ
  • พักเบรกสัก 5 – 10 นาที แล้วหาอะไรที่ผ่อนคลายทำ เช่น เข้าเว็บไซต์ที่ชอบ หรือเล่นเกม แต่ถ้ามีเวลามากกว่านั้นก็อาจจะลองลุกออกจากโต๊ะทำงาน ไปเดินเล่น หรือดื่มเครื่องดื่มแก้วโปรด
     

 

1. หายใจเข้าลึก ๆ

ถึงแม้ว่าสัญชาตญาณอาจจะทำให้คุณอยากจะพูดอะไรออกมาเวลาที่โกรธ คุณก็ควรจะหยุดคำพูดของคุณไว้แล้วหายใจเข้าลึก ๆ และลองนับ 1-10 ดู มันอาจจะไม่ได้ช่วยให้ความเครียดหายไป แต่มันก็ช่วยซื้อเวลาให้คุณได้ลองถอยกลับไปหนึ่งก้าว เพื่อพิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้น และห้ามตัวเองไม่ให้พูดอะไรที่อาจจะทำให้ตัวเองรู้สึกเสียใจทีหลัง  

 

2. เขียนระบาย

บางครั้งวิธีที่สามารถลดอารมณ์ขุ่นเคืองได้ก็คือการระบายความรู้สึกนั้นออกมาเป็นตัวหนังสือ หยิบกระดาษกับปากกา แล้วเขียนสิ่งที่อยู่ในความคิดของคุณออกมา และเก็บมันไว้กับ อย่าเอาสิ่งที่คุณเขียนไปให้ใครอ่านเด็ดขาด อีเมลสามารถบันทึกเก็บไว้ ส่งต่อ หรืออาจจะสร้างปัญหาได้ถ้าหากมีอะไรผิดพลาดขึ้นมา เมื่อคุณได้ระบายสิ่งที่ต้องการออกมาแล้ว ก็ให้ทำลายหลักฐานเหล่านั้นซะ

 

3. ระบายกับเพื่อนร่วมงานที่ไว้ใจได้

แทบทุกคนมักจะมีเพื่อนร่วมงานที่เราสนิทด้วย คนที่เราสามารถไว้ใจที่จะบอกปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องงานได้ การได้พูดคุยปรึกษากับคนที่รู้จักและเข้าใจวัฒนธรรมขององค์กรและคนในองค์กร จะช่วยให้คุณสามารถคลายความเครียดลงได้ แต่คุณจะต้องแน่ใจว่าขณะที่คุณกำลังพูดคุยกันอยู่นั้นจะไม่มีเพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ ได้ยิน การไปนั่งพูดคุยกันในที่ที่ปราศจากเพื่อนร่วมงาน เช่น ร้านกาแฟ เป็นสถานที่ที่ปลอดภัยกว่าการคุยกันที่โต๊ะทำงาน และเมื่อถึงคราวที่เพื่อนของคุณมีปัญหา ก็ให้ช่วยรับฟังเขาเหมือนกันกับที่เขาทำด้วย 

 

4. ขอกำลังใจจากคนสำคัญ

บางครั้งสิ่งที่คุณต้องการเมื่อรู้สึกไม่ดีก็คือการกอดเพื่อนหรือคนอื่น ๆ ที่สำคัญกับคุณนั้นเป็นคนที่จะสามารถช่วยให้กำลังใจคุณได้อย่างดีเมื่อคุณต้องเจอกับสถานการณ์ที่ยากลำบาก ถ้าคุณสามารถหลบมาส่งข้อความหรือโทรหาคนที่คุณรักได้สักครู่ มันก็อาจจะเพียงพอแล้วที่จะทำให้คุณรู้สึกดีขึ้น ถึงแม้ว่าคนเหล่านั้นจะไม่สามารถให้มุมมองอะไรที่เกี่ยวกับงานได้เหมือนกับเพื่อนร่วมงาน แต่พวกเขาสามารถทำให้คุณมีกำลังใจได้ในระยะยาว และช่วยย้ำเตือนคุณว่าชีวิตยังมีอะไรมากกว่าสถานการณ์แย่ ๆ ที่เป็นอยู่ในตอนนี้

 

5. หาสิ่งที่ทำแล้วมีความสุข

ถ้าคุณต้องการที่จะสงบสติอารมณ์จากความโกรธต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น การเข้าเว็บไซต์โปรด เล่นโซเชียลมีเดีย หรือเล่นเกม เป็นวิธีที่สามารถช่วยคุณได้ การพักเบรกสัก 5 - 10 นาที แล้วไปให้ความสนใจกับสิ่งที่ทำให้คุณมีความสุขสามารถช่วยลดความเครียดและทำให้คุณกลับไปทำงานด้วยอารมณ์ที่ดีขึ้นได้

 

6. พักเบรก

ถ้าคุณกำลังเจอกับเรื่องที่เครียดมาก ๆ การพาตัวเองออกจากสถานการณ์ที่เลวร้ายนั้น เช่น ออกไปทานอาหารกลางวัน ดื่มกาแฟ ออกไปเดินเล่น โดยทิ้งโทรศัพท์และอีเมลต่าง ๆ ไว้ข้างหลัง เป็นวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง การออกจากห้องสี่เหลี่ยมจะช่วยให้คุณได้ผ่อนคลายทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

 

 

JobThai มี Line แล้วนะคะ

ติดตามสาระความรู้สำหรับคนทำงาน ที่ย่อยง่าย อ่านสนุก และพูดคุยทุกแง่มุมเกี่ยวกับการทำงานอย่างใกล้ชิดที่

เพิ่มเพื่อน

 

ที่มา:

forbes.com

tags : งาน, ทำงาน, เคล็ดลับการทำงาน, เพื่อนร่วมงาน, สุขภาพจิต, career & tips, คนทำงาน, เคล็ดลับสำหรับคนทำงาน, เทคนิคสำหรับคนทำงาน, ทำงานอย่างมีความสุข, ความสุขในการทำงาน, เคล็ดลับความสำเร็จ, เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ, ทำงานให้มีความสุข, แนวคิดในการทำงาน



ติดตามข่าวสารและเรื่องราวดีๆ ทาง Email

ขอบคุณสำหรับการติดตาม