Oh My Job! Podcast EP.9: เด็กจบใหม่ตอนนี้เป็นยังไง หางานยากไหมในยุคโควิด

 

 

 

เด็กจบใหม่รุ่น COVID-19 เป็นชื่อที่หลายคนใช้เวลาพูดถึงคนที่เพิ่งจบในช่วงปีที่ผ่านมา ซึ่งอาจเรียกได้ว่าได้รับผลกระทบอย่างมากจากการแพร่ระบาดครั้งนี้ ด้วยปัจจัยที่องค์กรรับคนน้อยลงก็ส่งผลให้การแข่งขันสูงขึ้น และการที่ไม่มีประสบการณ์ก็อาจทำให้หางานยากขึ้นด้วย ซึ่งข้อมูลจากสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) บอกว่าไตรมาส 3/2563 มีผู้ว่างงานมากขึ้นถึง 7.4 แสนคน และคนที่จบปริญญามีอัตราการว่างงานสูงถึง 3.15% ซึ่งเป็นตัวเลขสูงสุดนับแต่ปี 2554 เป็นตัวเลขที่มีผู้ว่างงานสูงในรอบ 10 ปี

 

วันนี้ JobThai เลยจะขอพาทุกคนมาดู Insight จากแบบสอบถาม (Survey) ของเด็กจบใหม่และองค์กร ในรายการ Oh My Job! Podcast Ep.9 เด็กจบใหม่ตอนนี้เป็นยังไง หางานยากไหมในยุคโควิด

 

 

ความวิตกกังวลของเด็กจบใหม่เกี่ยวกับชีวิตหลังเรียนจบ

ในช่วงที่ผ่านมา JobThai ได้ทำแบบสอบถาม (Survey) เกี่ยวกับการหางานของเด็กจบใหม่ในช่วง COVID-19 ว่าเป็นยังไงบ้าง ซึ่งผลก็ออกมาว่าตอนที่กำลังจะเรียนจบเด็กจบใหม่มีความกังวลมากที่สุด 5 เรื่องแรกคือ

  • กังวลว่าจะหางานทำไม่ได้ ซึ่งเป็นได้กับทุกคนเพราะเราอาจไม่รู้จักตัวเองมากพอ ว่าตัวเองอยากไปในสายงานไหนเป็นพิเศษ งานอะไรที่จะเหมาะกับทักษะที่มี ซึ่งก็ต้องลองคิดว่าเรามีตัวเลือกอะไรบ้าง ในช่วงแรกอาจไม่ต้องเลือกงานมาก เพราะเราคงไม่ได้เจองานที่ชอบตั้งแต่แรกแต่ก็อาจจะได้ทักษะใหม่ ๆ ที่สามารถนำไปต่อยอดในงานถัดไปของเราได้

  • กังวลเรื่องเศรษฐกิจตกต่ำจะทำให้บริษัทไม่จ้างงานเด็กจบใหม่ที่ไม่มีประสบการณ์การทำงาน ด้วยภาวะเศรษฐกิจที่ทำให้หลาย ๆ คนต้องระมัดระวังในเรื่องของค่าใช้จ่ายกันมากขึ้น องค์กรเองก็มีการลดค่าใช้จ่ายอะไรบางอย่างที่ไม่จำเป็น

  • กังวลเรื่องรายได้จะไม่เพียงพอในการเลี้ยงชีพ สังเกตจากในช่วงที่ผ่านมาค่าครองชีพค่อนข้างสูงขึ้น เวลาที่เราเดินผ่านข้างสรรพสินค้า หรือร้านสะดวกซื้อต่าง ๆ จะเห็นว่าของบางอย่างที่เคยซื้อประจำมีราคาเพิ่มขึ้น 2-3 บาท หรือร้านอาหารที่มีการเพิ่มราคามากขึ้น

  • กังวลว่าจะได้งานที่ไม่ตรงกับความต้องการ นักศึกษารุ่นนี้อาจไม่ได้มีตัวเลือกเยอะ งานอะไรที่เราได้มาอาจต้องลองทำในช่วงแรกไปก่อน ซึ่งจริง ๆ แล้วความชอบหรือความต้องการเรื่องงานสามารถเปลี่ยนได้ เหมือนตอนเราเด็กเราอยากเป็นอาชีพหนึ่งแต่โตมาอยากเป็นอีกอาชีพหนึ่ง 

  • กังวลเรื่องหัวหน้าและเพื่อนร่วมงานจะไม่ดี เป็นปัจจัยที่ค่อนข้างควบคุมยากเพราะเราไม่สามารถเลือกเพื่อนร่วมงานของเราได้ แต่สิ่งที่เราทำได้ก็คือลองสังเกตจากตอนสัมภาษณ์ว่าคนทำงานที่นี่เขามีคาแรคเตอร์แบบไหน ยิ่งหากได้สัมภาษณ์กับหัวหน้างานโดยตรงก็จะเป็นเรื่องที่ดีมากเพราะเราจะได้พูดคุยแลกเปลี่ยนไอเดียกับเขา

 

องค์กรกว่า 53.3% พร้อมสำหรับการเปิดรับนักศึกษาจบใหม่

มีองค์กรที่ยังคงเปิดรับเด็กจบใหม่ 53.3% และองค์กรที่ไม่เปิดรับเด็กจบใหม่ (ต้องการคนมีประสบการณ์) 46.7% ซึ่งเป็นปริมาณที่เกือบครึ่งต่อครึ่ง นักศึกษาจบใหม่ก็จะเห็นได้ว่ายังมีองค์กรที่ยังเปิดรับอยู่ และอย่าเพิ่งกังวลว่าจะไม่มีงานทำ ซึ่งตัวเลขตรงนี้เป็นตัวเลขที่ JobThai ทำแบบสอบถามในช่วงสถานการณ์ COVID-19 เมื่อสถานการณ์ดีขึ้นตัวเลขก็อาจเขยิบขึ้นไปได้เช่นกัน 

 

จริง ๆ แล้วไม่ว่าจะสนใจตำแหน่งงานอะไร บางครั้งก็ขึ้นอยู่กับทักษะที่ตรงกับตำแหน่งงานนั้น ๆ มากกว่า หากเราคิดว่าเรามีทักษะที่ตรงกับองค์กรมองหาแต่องค์กรต้องการคนมีประสบการณ์ ก็สามารถลองส่งใบสมัครไปก่อนได้ อย่าเพิ่งปิดกั้นตัวเองและเลือกไม่ส่งใบสมัครเพราะประสบการณ์ของตัวเองไม่ถึง

 

นักศึกษาจบใหม่ส่งใบสมัครงานเฉลี่ยครั้งละ 16 บริษัท

ด้วยสถานการณ์ตอนนี้อาจทำให้คนหางานมีคู่แข่งเยอะขึ้น ทำให้นักศึกษาจบใหม่พยายามหาตำแหน่งหรือองค์กรที่เหมาะกับตัวเองเยอะขึ้น ซึ่งจริง ๆ แล้วการหว่านเรซูเม่ไม่ใช่เรื่องที่ผิด แต่ต้องอย่าลืมว่า “อย่าทำเรซูเม่ทุกใบเหมือนกัน” เพราะแต่ละองค์กรก็จะมีการ Require ทักษะและประสบการณ์ที่แตกต่างกัน เราจึงควรปรับแต่งเรซูเม่ของตัวเองให้เหมาะกับองค์กรนั้น ๆ ก่อนที่จะส่งไปด้วย ซึ่งสถิติของเด็กจบใหม่หลังจากส่งใบสมัครงานแล้ว พบว่า

  • ไม่เคยได้รับการเรียกสัมภาษณ์งาน 36.2% อาจเป็นสาเหตุมาจากเรซูเม่ไม่เข้าตาหรือทักษะที่เรามีนั้นไม่ตรงกับที่องค์กรมองหา ก็ต้องมาลองสังเกตและวิเคราะห์เนื้อหาในเรซูเม่ของตัวเองดูอีกที อย่างในเรซูเม่ของเรามีทักษะหรือประสบการณ์ตอนเรียนอะไรที่ตรงกับ Job Description ขององค์กรหรือไม่และปรับเนื้อหาให้ตรงกับที่องค์กรต้องการ

  • สัมภาษณ์แล้วแต่ไม่ผ่านการสัมภาษณ์งาน 35.4% หากเราวิเคราะห์ดี ๆ นั่นหมายถึงว่าเรซูเม่เราโอเคแล้ว แต่การที่สัมภาษณ์งานไม่ผ่าน อาจเป็นเรื่องของการสื่อสารในช่วงการสัมภาษณ์ Mindset และทัศนคติของเราที่ไม่ตรงกับวัฒนธรรมขององค์กร เพราะการที่แนวคิดหรือความเชื่อของเราเป็นไปในทิศทางเดียวกับองค์กรก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ HR หลาย ๆ องค์กรให้ความสำคัญเช่นกัน

 

5 สายงานที่เปิดรับนักศึกษาจบใหม่

(ข้อมูลอัปเดตในเดือน มกราคม 2564)

 

5 สายงานที่เด็กจบใหม่สมัครมากสุด

(ข้อมูลอัปเดตในเดือน มกราคม 2564)

 

5 บริษัทที่กำลังเปิดรับเด็กจบใหม่มากสุด

(ข้อมูลอัปเดตในเดือน มกราคม 2564)

 

5 บริษัทที่เด็กจบใหม่สมัครเยอะสุด 

(ข้อมูลอัปเดตในเดือน มกราคม 2564)

 

เงินเดือนที่บริษัทให้ และเงินเดือนที่เด็กจบใหม่ต้องการ

สำหรับเงินเดือนที่บริษัทให้เด็กจบใหม่ อยู่ที่ประมาณ 15,000-22,000 บาท แต่ไม่ใช่ว่าเด็กจบใหม่จะได้ในเรตนี้เท่านั้น เพราะจริง ๆ แล้วหากเรามีทักษะหรือคุณสมบัติต่าง ๆ ที่ตรงกับความต้องการของบริษัทก็อาจจะได้เงินเดือนเพิ่มขึ้น เช่น ตำแหน่งงาน Developer ใน JobThai เงินเดือนเริ่มต้นที่ 40,000-80,000 บาท ซึ่งหน้าที่ก็จะต้องดูแลเว็บไซต์ได้ พัฒนาแอปพลิเคชันได้ ดูแลทั้งในส่วนของ Front End และ Back End อีกทั้งยังสามารถใช้เครื่องมือหรือภาษาคอมพิวเตอร์ได้หลากหลาย อีกตัวอย่างคือล่ามภาษาญี่ปุ่น มีเงินเดือนอยู่ที่ 40,000-50,000 บาท แต่ต้องมีผลการสอบวัดระดับ ระดับ N2 ขึ้นไป ซึ่งก็จะมีรายละเอียดย่อย ๆ ในตำแหน่งงานอยู่ จะเห็นได้ว่าหากมีทักษะเฉพาะทางหรือมีทักษะทางด้านภาษาที่ 2 ภาษาที่ 3 ก็จะมีโอกาสได้ค่าตอบแทนสูงขึ้นตามไปด้วย

 

ส่วนเงินเดือนที่เด็กจบใหม่อยากได้ จะอยู่ที่ประมาณ 15,000-20,000 บาท ซึ่งขึ้นอยู่กับทักษะและความสามารถของแต่ละคน จะเห็นว่าแม้เงินเดือนจะเริ่มต้นที่ 15,000-20,000 บาท แต่ก็สามารถกระโดดไปได้อีก 2-3 เท่า หากเรามีทักษะในสายไอทีหรือทักษะภาษาที่ 3 และเราสามารถพัฒนาไปถึงตรงนั้นได้จริง ๆ 

 

ทักษะที่นักศึกษาจบใหม่คิดว่าตัวเองมี 

  • ความสามารถในการเรียนรู้และเปิดรับสิ่งใหม่ เพราะจริง ๆ แล้วเด็กจบใหม่หลายคนจะเป็นน้ำที่ไม่ได้เต็มแก้ว เลยมักจะเปิดรับความรู้และสิ่งใหม่ ๆ จากเพื่อนร่วมงาน

  • ทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น เด็กจบใหม่เป็นเจนเนอร์เรชันที่ค่อนข้างปรับตัวได้ไว หากเทียบกับเจนเนอเรชันอื่น ๆ และเปิดรับกับการทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงานที่หลายหลาก

  • ความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น เป็นเรื่องของการ Empathy  เป็นทักษะที่ไม่ค่อยได้เห็นจากที่ไหน จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจว่าทำไมเด็กจบใหม่ถึงคิดว่าตัวเองควรมีทักษะด้านนี้

  • ทักษะในการใช้งานเทคโนโลยี เพราะคนเจนเนอร์ชันใหม่เติบโตมากับสมาร์ทโฟนอยู่แล้ว ส่งผลให้มีความเชี่ยวชาญและมีความถนัดในเรื่องของเทคโนโลยี

  • การบริหารเวลา ทุกวันนี้มีสิ่งให้ทำในแต่ละวันมากมาย ทำให้เวลาค่อนข้างมีจำกัด และเรื่องต่าง ๆ ก็เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เราจะทำยังไงให้สามารถบริหารเวลาที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เลยอาจเป็นสิ่งที่นักศึกษาจบใหม่คิดว่าตัวเองควรต้องมีทักษะทางด้านนี้

 

ทักษะที่องค์กรใช้พิจารณานักศึกษาจบใหม่เข้าร่วมงาน 

  • ความสามารถในการเรียนรู้และเปิดรับสิ่งใหม่ ก็เป็นเรื่องที่ตรงกับทักษะที่นักศึกษาจบใหม่คิดว่าตัวเองควรมี ซึ่งทักษะนี้องค์กรต้องการและมองหาจากนักศึกษาจบใหม่เช่นกัน

  • ทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น เพราะการทำงานไม่ได้มีแค่ตัวเรา แต่ต้องทำงานร่วมกับคนอื่นอีกหลายคน อย่างเพื่อนร่วมงาน หัวหน้า เพื่อนต่างแผนก ลูกค้า หรือพาร์ทเนอร์ 

  • การสื่อสาร และการถ่ายทอดข้อมูล เป็นอีกเรื่องที่สำคัญ เราต้องใช้เพื่อพูดคุยกับคนหลากหลาย เพราะในบริบทของการทำงานไม่ใช่ว่าเราเพียงพูดคุยได้เท่านั้น แต่ต้องพูดคุยให้รู้เรื่องและสามารถสื่อสารให้เข้าใจ

  • ความคิดสร้างสรรค์ เพราะความคิดสร้างสรรค์หรือไอเดียใหม่ ๆ ไม่ได้อยู่เฉพาะสายกราฟิกหรืองานสายนวัตกรรมเท่านั้น แต่ยังสามารถนำมาปรับใช้กับทุกสายงานและต่อยอดกับงานของเราได้ทั้งนั้น

  • ความสามารถในการวิเคราะห์ ประเมิน และวิพากษ์สิ่งต่าง ๆ ก็เป็นอีกทักษะที่เรามองหา จะสังเกตได้จากที่ Oh My Job หลาย ๆ Episode ที่ไปสัมภาษณ์ HR จากองค์กรต่าง ๆ เขาก็ต้องการคนที่มีทักษะ Analytical Thinking ค่อนข้างสูง เพราะบริบทการทำงานในปัจจุบันซับซ้อนมากขึ้นและปัญหาก็ไม่สามารถแก้ได้ง่าย บริษัทจึงมองหาคนที่มีทักษะทางด้านนี้

 

Oh My Job! Podcast ออนไลน์ทุกวันอังคาร ติดตามได้ในช่องทางต่าง ๆ ดังนี้

 

ติดตามบทความอื่น ๆ จากรายการ Oh My Job! Podcast ได้ที่นี่

 

JobThai Mobile Application หางานง่าย สมัครงานง่าย ได้งานที่ใช่ โหลดเลย

iOS

Android

Huawei AppGallery

 

 
JobThai Official Group เพื่อการหางาน หาคน และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงาน
Public group · 42,947 members
Join Group
 

tags : jobthai, งาน, หางาน, สมัครงาน, omj, oh my job, omg podcast, podcast, เด็กจบใหม่, นักศึกษาจบใหม่, careervisa, oh my job!



ติดตามข่าวสารและเรื่องราวดีๆ ทาง Email

ขอบคุณสำหรับการติดตาม