5+1 เคล็ดลับบริหารเงินให้พอ สำหรับวันลาที่รออยู่

 

  • ควบคุมการใช้เงินของตัวเองให้ดี จำกัดค่าใช้จ่ายในแต่ละทริป ตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป เปลี่ยนจากการใช้บัตรเครดิตมาเป็นเงินสด และตั้งกฎเกณฑ์ในการใช้เงินของตัวเองอยู่เสมอ

  • ตรวจเช็กรายจ่ายของตัวเองเป็นประจำ เพื่อนำมาปรับใช้กับวันที่เหลือ หากหลาย ๆ วันที่ผ่านมาเรายังใช้ไม่เกินที่กำหนด วันสุดท้ายค่อยซื้อในสิ่งที่เราอยากได้

  • อย่าลืมมีเงินสำรองสำหรับใช้ในกรณีฉุกเฉิน อย่างการถูกลักทรัพย์ อุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วยระหว่างทริป จะได้ไม่ต้องยืมคนอื่น

  • บางครั้งที่เราไม่สามารถหักห้ามใจในการจับจ่ายได้ด้วยตัวคนเดียว ลองหาคู่หูที่สามารถเพิ่มมุมมองใหม่ ๆ ให้เรา ช่วยตัดสินใจ และร่วมแชร์จุดดีกับจุดด้อยบางอย่างก็เป็นความคิดที่ดี

 

หางานที่ใช่ได้ง่าย ๆ ด้วย JobThai Mobile Application โหลดเลย

iOS

Android

Huawei AppGallery

 

เมื่อไหร่ที่ใกล้ปลายปีก็ถึงเวลาที่ต้องเคลียวันลา มนุษย์เงินเดือนหลาย ๆ คน เมื่อถึงช่วยนี้ก็คงเริ่มใช้โควตาวันลาพักร้อนกันแล้ว และคงมีคนจำนวนไม่น้อยที่ใช้โอกาสนี้ไปท่องเที่ยวพักผ่อนสลัดความเหนื่อยล้าตลอดปีที่ผ่านมา แต่ไม่ว่าพักร้อนนี้จะทุ่มหมดหน้าตักกับค่าที่พักหรือค่าชอปปิงมากเท่าไหร่ ก็อย่าใช้เพลินจนเกินไปล่ะ

 

JobThai เลยอยากมาแนะนำเทคนิคบริหารเงินไม่ให้ใช้เพลินจนเกินตัวที่ใช้ได้ทุกเมื่อ กับ 5+1 เคล็ดลับบริหารเงินให้พอ สำหรับวันลาที่รออยู่

 

10 พฤติกรรมทางการเงิน ที่คนเพิ่งเริ่มทำงาน ควรรีบแก้ไข

 

1. จำกัดค่าใช้จ่ายในกระเป๋าเงิน

ตั้ง Budget ค่าใช้จ่ายในทริปนี้ว่าอะไรจำเป็นและอันไหนเป็น Fixed Cost อย่างค่าที่พัก ค่าเดินทาง และตั๋วเครื่องบินที่เลี่ยงไม่ได้ แต่สำหรับค่าอาหารการกินต่อวันในทริปนั้นเราสามารถจำกัดและตั้งเป้าหมายเองได้ เช่น มีมื้ออาหารราคาสูงวันไหน และวันไหนจะเป็นมื้อที่ราคาพอประมาณ 

 

2. สร้างกฎเกณฑ์การใช้เงินอย่างเคร่งครัด

ถึงแม้ว่าการชอปปิงจะเป็นความสุขของหลาย ๆ คน แต่การกวาดของทุกสิ่งที่ไม่จำเป็นด้วยความคิดว่านาน ๆ ครั้ง อย่าง “นาน ๆ ทีกระเป๋าหนึ่งใบให้รางวัลชีวิต” หรือ “นาน ๆ ทีรองเท้าหนึ่งคู่คงไม่เป็นไร” เมื่อเรากลับมาใช้ชีวิตตามปกติก็อาจทำให้การเงินในชีวิตปกติไม่ปกติอีกต่อไป หากสิ่งที่เราซื้อนั้นเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วและไม่จำเป็น วิธีง่าย ๆ ที่เราสามารถทำได้ก็อย่างเช่น เมื่อเราอยากกินของดี ๆ ก็ลองลดค่าใช้จ่ายด้านอื่นลงมา หรืออยากซื้อเสื้อผ้าราคาแพงก็ลองลดค่าใช้จ่ายด้านของกิน หากเราตั้งเป้าหมายในการท่องเที่ยวของเราได้ ค่าใช้จ่ายสำหรับของที่จำเป็นและไม่จำเป็นก็จะไม่เกินงบที่เราตั้งไว้

 

เคล็ดลับการเลือกซื้อเสื้อผ้าให้คุ้มค่าที่สุด

 

3. หมั่นตรวจเช็กจำนวนรายจ่ายอย่างสม่ำเสมอ

เพราะการบริหารค่าใช้จ่ายก็เปรียบคล้ายกับร่างกายที่ต้องหมั่นตรวจเช็กสภาพ เช่นเดียวกับจำนวนรายจ่ายที่เราต้องหมั่นตรวจสอบว่าทริปนี้เราใช่จ่ายไปเท่าไหร่แล้ว หากถึงวันสุดท้ายค่าใช้จ่ายไม่เกินงบที่ตั้งไว้ ค่อยเอาไปใช้จ่ายในสิ่งไม่จำเป็นที่เราอยากได้ก็ยังไม่สาย (แต่อย่าให้เกินงบล่ะ)

 

4. ใช้บัตรเครดิตให้น้อยลง 

การใช้จ่ายด้วยบัตรเครดิตมากเกินไปจะทำให้เราไม่สามารถกำหนดค่าใช้จ่ายได้ด้วยตัวเอง ซึ่งควรจะเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้เงินให้ใช้เงินสดในการใช้จ่ายแทนบัตรเครดิตให้มากขึ้น และเงินที่ต้องชำระสำหรับค่าใช้จ่ายในต่างประเทศก็อาจแพงกว่าที่เราจ่ายด้วยเงินสด เพราะเหตุผลเรื่องค่าเงินหรือค่าธรรมเนียม

 

5. อย่าลืมสำรองเงินฉุกเฉิน

มีหลายเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉินขึ้นมา ไม่ว่าจากการถูกลักทรัพย์ อุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วยขณะท่องเที่ยว การมีเงินสำรองจะทำให้เราสามารถรับมืออย่างทันท่วงทีโดยไม่ต้องไปหายืมเงินคนอื่น

 

การบริหารเงินและจำกัดค่าใช้จ่ายนั้นสามารถทำได้ไม่ยากเลย และยังสามารถทำได้ด้วยตัวคนเดียวด้วยวินัยในตัวเราเอง แต่นอกจากที่บอกมาทั้งหมดแล้ว การสร้างทีมเวิร์คในการใช้จ่ายก็เป็นอีกทางเลือกและอีกหนึ่งเคล็ดลับที่ดีเช่นกัน

 

5+1. การสร้างทีมเวิร์ก

ทุกเรื่องจะเป็นเรื่องง่ายทันทีหากเรามีทีมหรือคู่หูคู่คิด เพราะบางครั้งเราอาจจะไม่สามารถหักห้ามใจหรือตัดสินใจด้วยตัวคนเดียว ทำให้การมีคนรู้ใจข้างกายจะช่วยให้เราได้เห็นหลาย ๆ มุม ช่วยตัดสินใจ และร่วมแชร์จุดดีกับจุดด้อยบางอย่างซึ่งกันและกันด้วย 

คู่หูคู่คิดหรือทีมเวิร์ก ก็เหมือนงานที่รู้ใจ แล้วจะไปหาที่ไหนล่ะถ้าไม่ใช่ใน JobThai สมัครสมาชิกกันได้เลย

สำหรับคนที่หางาน

 

 
JobThai Official Group
Public group · 200,000 members
Join Group
 

 

tags : ไลฟ์สไตล์, lifestyle, การออมเงิน, บริหารการเงิน, คนทำงาน, เคล็ดลับสำหรับคนทำงาน, เทคนิคสำหรับคนทำงาน, ทำงานอย่างมีความสุข, ความสุขในการทำงาน, เคล็ดลับความสำเร็จ, เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ, ทำงานให้มีความสุข, แนวคิดในการทำงาน



ติดตามข่าวสารและเรื่องราวดีๆ ทาง Email

ขอบคุณสำหรับการติดตาม