Exit Interview ความคิดเห็นของพนักงานที่กำลังจะไป ที่ไม่ควรละเลย

Exit Interview ความคิดเห็นของพนักงานที่กำลังจะไป ที่ไม่ควรละเลย
14/02/22   |   24.1k   |  

 

  • Exit Interview คือการสัมภาษณ์ความคิดเห็นกับพนักงานที่ลาออก ถึงเหตุผล ความไม่พอใจ หรือความไม่สบายใจในการทำงานที่นี่ รวมถึงขอข้อเสนอแนะเพื่อนำข้อมูลไปพัฒนาองค์กร

  • การทำ Exit Interview นอกจากจะได้รู้ถึงสาเหตุจริง ๆ ของการลาออก จุดอ่อนขององค์กรที่ควรปรับปรุง และจุดแข็งที่ควรรักษาไว้แล้ว ข้อมูลเหล่านั้นจะเป็นแนวทางที่จะทำให้เรารักษาพนักงานคนอื่นให้อยู่กับองค์กรได้นานขึ้นอีกด้วย

  • หลังจบ Exit Interview แล้ว HR จะต้องใช้วิจารณญาณในการพิจารณาข้อมูลต่าง ๆ แล้วแยกข้อมูลหรือปัญหาที่ได้ฟังมาออกเป็นประเด็น เพื่อแก้ไขให้ตรงจุดมากที่สุด

 

 

 

JobThai Platform แพลตฟอร์มที่จะทำให้การหา Candidate ที่ใช่ กลายเป็นเรื่อง “ง่าย”

คลิกเพื่ออ่านข้อดีทั้งหมดที่นี่

Exit Interview การพูดคุยกันครั้งสุดท้ายในฐานะ HR และพนักงานก่อนจากกัน แต่บางครั้ง HR อาจจะถามเป็นพิธีและก็จะเจอเพียงคำตอบแบบเป็นพิธีเท่านั้น เลยมักจะพลาดโอกาสในการรับรู้ถึงแนวคิดของพนักงานคนนั้นจริง ๆ รวมถึงข้อแนะนำ คำติชม ที่ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นได้เมื่อเขายังอยู่ในสถานะพนักงาน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้อาจจะเป็นข้อมูลเชิงลึกที่องค์กรมองข้ามและเป็นเหตุผลหลัก ๆ ที่พนักงานหลาย ๆ คนไม่อยู่กันเราก็ได้

 

JobThai เลยอยากมาแนะนำว่าทำไม การทำ Exit Interview เป็นสิ่งที่ HR ควรทำและจำเป็นต้องทำ เพื่อให้เกิดผลดีกับตัวองค์กร 

 

เคล็ดไม่ลับ กับการทำ Exit Interview ให้ได้ผลดีที่สุด

 

Exit Interview คืออะไร

คือการสัมภาษณ์หรือสอบถามความคิดเห็นกับพนักงานที่ได้แจ้งความประสงค์ว่าจะลาออกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และคำถามในการสัมภาษณ์ก็จะเป็นการประเมินถึงการทำงานที่นี่ ความพึงพอใจ ปัญหา และคำแนะนำ ซึ่งคำตอบทั้งหมดก็จะถูกนำมาพิจารณา พัฒนา และปรับปรุงองค์กรต่อไป ซึ่งก็จะเป็นแนวทางในการรักษาพนักงานให้อยู่กับเราได้นานขึ้นด้วย

 

โดยการทำ Exit Interview มักจะทำกันในวันทำงานวันสุดท้ายเพื่อความสบายใจของพนักงาน

 

ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ที่องค์กรจะได้รับจากการทำ Exit Interview

  • เห็นจุดแข็งขององค์กร จากสิ่งที่พนักงานรู้สึกพอใจหรือสิ่งที่เขาชอบในขณะที่เขาทำงานอยู่กับเรา จากข้อนี้เราก็จะได้รู้ว่าควรจะต่อยอดจุดแข็งนี้ต่อไปยังไงเพื่อพัฒนาให้องค์กรแข็งแรงขึ้น

  • เห็นจุดอ่อนหรือข้อเสียที่ทำให้พนักงานไม่สบายใจ จะได้นำไปปรับปรุง เช่น กฎระเบียบเล็กน้อยที่อาจจะเป็นปัญหาใหญ่ ๆ กับความสบายใจของพนักงาน สภาพแวดล้อมในการทำงาน หรือกระทั่งเรื่องของวันลาที่น้อยเกินไป

  • เห็นและเข้าใจเหตุผลที่แท้จริง ว่าทำไมพนักงานถึงได้ลาออก เช่น ไม่มีโอกาสได้เติบโต ได้รับความไม่ยุติธรรมในการทำงาน ไม่สบายใจในการทำงานกับหัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงาน หรืองานที่ทำไม่ตรงกับที่ตกลงกันไว้ตอนสมัคร

 

คำตอบที่ได้นำมาทำอะไร

หลังจากจบการทำ Exit Interview ก็เป็นหน้าที่ของเราที่ต้องนำข้อมูลต่าง ๆ ที่พนักงานตอบมาพิจารณา และแยกเป็นหมวดหมู่ อย่างเรื่องตัวเนื้องาน สวัสดิการที่องค์ให้ ปัญหาส่วนตัว เพื่อนำไปศึกษาและปรับปรุงต่อ ซึ่งคำตอบต่าง ๆ อาจจะไม่ได้เป็นความจริงทั้งหมด เราจึงต้องใช้วิจารณญาณในการพิจารณาให้ดีด้วย แต่หากคำตอบจากการ Exit Interview พนักงานหลาย ๆ คนตรงกัน ก็เป็นเรื่องที่องค์กรและ HR ควรปรับปรุงอย่างเร่งด่วนแล้วล่ะ

 

รักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กรได้ด้วย 6 วิธีง่าย ๆ

 

แม้หลาย ๆ องค์กรยังมองไม่เห็นประโยชน์ของการทำ Exit Interview หรือคิดว่าเป็นเรื่องที่เสียเวลา แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่เลย อย่างน้อยก็ทำได้รับรู้ความรู้สึก หรือสิ่งที่พนักงาน “คิด” บ้าง หากว่าพร้อมที่จะปรับปรุงองค์กร หรืออยากเห็นองค์กรเติบโตและเต็มไปด้วยพนักงานที่มีความสุขในการทำงาน การใช้เวลาเพียงไม่ถึง 1 ชั่วโมง ก่อนที่เราจะต้องสูญเสียทรัพยากรบุคคลสำคัญไปอีก ก็อาจจะไม่ใช่เรื่องเสียเวลาก็ได้

 

เคล็ดลับการเป็นสุดยอด HR ที่ตาดีสังเกตได้ทันทีว่าใครจะลาออก

 

หา Candidate ที่ใช่ ได้คนที่ชอบ สมัครสมาชิกกับ JobThai เลย

ติดตาม Career Talk Podcast ได้ที่

Spotify

Soundcloud

Apple Podcasts

Google Podcasts

Anchor

 

 
JobThai Official Group
Public group · 350,000 members
Join Group
 

 

บทความเดิมได้ถูกเผยแพร่ในวันที่ 20 ธันวาคม 2016 และได้รับการอัปเดตโดยทีมงาน JobThai

 

tags : hr, human resource, ทรัพยากรบุคคล, เทคนิคการทำงาน, วิธีการทำงาน, การทำงาน, งาน, คนทำงาน



ติดตามข่าวสารและเรื่องราวดีๆ ทาง Email

ขอบคุณสำหรับการติดตาม