การสมัครงาน การคัดเลือกคนเข้าทำงาน และการลาออกของพนักงานถือเป็นเรื่องปกติที่ทุกองค์กรต้องพบเจอ แต่อัตราการเข้า-ออกของพนักงานที่สูงเกินไปนั้นย่อมไม่เป็นผลดีกับองค์กร เพราะว่าการต้องคัดเลือกคนใหม่เข้ามาแทนคนเก่าที่ออกไปเรื่อย ๆ นั้นต้องใช้งบประมาณ และเวลาอยู่พอสมควร ฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคลหรือ HR จึงต้องหาวิธีการที่จะดูแลรักษาพนักงานที่ดีและมีศักยภาพไว้ในองค์กร
เมื่อพนักงานเริ่มไม่สบายใจที่จะอยู่ต่อกับองค์กร พวกเขาจะมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป คือ
- มีทัศนคติไม่ดีกับองค์กร เริ่มมีการตำหนิ และไม่พอใจในการทำงาน หรือระบบต่างๆ มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
- ขาดงานมากขึ้น เข้างานสาย ลางานไม่บอกล่วงหน้า รวมถึงพักเกินเวลาที่กำหนด
- ขาดความกระตือรือร้น คุณภาพผลงานตกลง รวมถึงไม่ค่อยแสดงความคิดเห็นต่างๆ ในที่ประชุม แสดงออกถึงอาการเฉื่อยชาอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน
|
|
JobThai ได้สำรวจความคิดเห็นกับพนักงานบริษัททั่วประเทศกว่า 6,000 คน พบว่า 5 เหตุผลหลัก ๆ ที่ทำให้พนักงานต้องการหางานใหม่นั้นเกิดขึ้นเพราะ 1) ไม่พึงพอใจในเรื่องเงินเดือน 2) ไม่มีความก้าวหน้าในสายงาน 3) ไม่พึงพอใจเรื่องสวัสดิการ 4) ไม่พึงพอใจเรื่องโบนัส 5) งานที่ทำไม่มีความท้าทาย ตามลำดับ
เมื่อพนักงานเริ่มมีความคิดเหล่านี้เกิดขึ้น พวกเขาคงเริ่มที่จะมองหาที่ทำงานที่ใหม่ และเริ่มมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปบ้าง ถ้าเราสามารถจับสัญญาณว่าพนักงานคนไหนมีแนวโน้มที่จะไม่มีความสุขกับองค์กร เราอาจจะยังพอมีทางแก้ไขความไม่สบายใจของพนักงานคนนั้น โดยรีบเข้าไปพูดคุยเพื่อแก้ไขปัญหา ถามถึงความคับข้องใจต่าง ๆ ของพวกเขาได้ทันท่วงทีก่อนที่เขาจะยื่นใบลาออก และนี่คือพฤติกรรมต่าง ๆ ที่มักจะเป็นสัญญาณที่ผิดปกติอย่างเห็นอย่างชัดเจนก่อนที่พนักงานจะตัดสินใจลาออก ซึ่งล้วนเป็นสัญญาณทางลบที่สามารถสังเกตได้ คือ
มีทัศนคติไม่ดีต่อองค์กร
เขาคนนั้นเริ่มบ่นเรื่องไม่เป็นเรื่องขององค์กรมากขึ้นรึเปล่า โดยปกติแล้วพนักงานคนนั้นอาจจะไม่ได้มองว่าทุกอย่างในองค์กรนั้นดีทั้งหมด แต่ในช่วงที่ผ่านมาก็เริ่มมีทัศนคติที่ไม่ดีมากขึ้น รู้สึกไม่เห็นด้วยกับสิ่งต่าง ๆ ตำหนิทุกสิ่งรอบตัวในที่ทำงานมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
ขาดงานมากขึ้น
เริ่มมาทำงานสาย หรือลาป่วย ลากิจบ่อยครั้งมากขึ้น บางคนเลือกที่จะไม่มาทำงานโดยไม่แจ้งสาเหตุให้องค์กรทราบ นอกจากนี้ยังรวมถึงการพักเที่ยง หรือพักเบรกระหว่างวันที่เริ่มนานมากขึ้นอีกด้วย
ขาดความกระตือรือร้น
คุณภาพของผลงานที่พนักงานคนนั้น ๆ ทำเริ่มตกลงหรือเปล่า ทั้ง ๆ ที่เนื้องานก็ไม่ได้มีความยาก หรือมีข้อจำกัดของเวลา แต่เราเริ่มพบว่าพนักงานคนนั้น ๆ เริ่มมีความเฉื่อยชา ทำงานได้แย่ลง หรือช้าลง จากเคยทำงานที่ได้รับมอบหมายด้วยความขยัน ก็เปลี่ยนเป็นรู้สึกไม่ใส่ใจกับงาน และผลงานมีคุณภาพลดลงจนสังเกตได้ ในที่ประชุมเองก็มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป เหม่อ ใจลอย ไม่มีสมาธิกับการประชุม การแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมลดลงอย่างเห็นได้ชัด ถ้าไม่ถามก็อาจจะไม่มีความคิดเห็นใด ๆ เลย ตลอดการประชุม นั่นอาจจะเป็นสัญญาณเตือนแล้วว่ามีอะไรบางอย่างผิดปกติเกิดขึ้นกับเขาคนนั้นแล้ว
ไม่ว่าจะเป็นการส่งสัญญาณทางลบของพนักงาน หรือแม้แต่สาเหตุการลาออกที่ได้รับจากพนักงาน ถือเป็นสิ่งที่ทุกองค์กรต้องหันมามองและใส่ใจมากขึ้น ถ้าอ่านมาถึงตรงนี้แล้ว นึกถึงพนักงานคนไหนขึ้นมา อาจจะถึงเวลาแล้วที่คุณจะต้องลองไปคุยกับพนักงานคนนั้นดูว่าเขามีปัญหาอะไรที่คุณจะพอช่วยเหลือได้หรือเปล่า ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป
JobThai มี Line
แล้วนะคะ
ติดตามสาระความรู้สำหรับคนทำงาน ที่ย่อยง่าย อ่านสนุก และพูดคุยทุกแง่มุมเกี่ยวกับการทำงานอย่างใกล้ชิดที่
