[X Career] เปิดสูตรลับ ก่อนข้ามสายไปเป็น Product Owner โดย คุณภัคพล ตั้งตงฉิน จาก Amazon.com

[X Career] เปิดสูตรลับ ก่อนข้ามสายไปเป็น Product Owner โดย คุณภัคพล ตั้งตงฉิน จาก Amazon.com
20/01/21   |   26.9k   |  

 

 

 

การดูแลผลิตภัณฑ์ให้เติบโตอย่างสวยงาม มีคนชอบและใช้ผลิตภัณฑ์ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ดังนั้นจึงทำให้เกิดเป็นอาชีพ “Product Owner” หรืออาชีพที่เปรียบเสมือน CEO ของ Product นั้น ๆ หากคุณกำลังสนใจหรืออยากเปลี่ยนมาสายงานนี้ JobThai จะพามาล้วงลึกอาชีพ “Product Owner” กับ คุณแม็กซ์ ภัคพล ตั้งตงฉิน Senior Product Manager ที่ Amazon หรือที่หลายคนรู้จักในนามเจ้าของเพจ Max Pakapol เพจที่บอกเล่าเรื่องราว มุมมองดี ๆ ตามฉบับเด็ก Harvard Business School

 

เส้นทางก่อนจะมาเป็น Senior Product Manager ที่ Amazon

คุณแม็กซ์เรียนจบ BBA จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเริ่มทำงาน Management Consulting ที่ Bain & Company จากนั้นไปศึกษาต่อที่ Harvard Business School ซึ่งคุณแม็กซ์ได้มีโอกาสไปฝึกงานที่ Amazon และเพิ่งได้รับการเสนอให้เป็นพนักงานประจำ ในตำแหน่ง Senior Product Manager

 

Product Owner ไม่ใช่แค่สินค้าอย่างเดียว แต่อาจเป็น Feature ส่วนใดส่วนหนึ่งก็ได้

Product Owner หรือ Product Manager เป็นเหมือน CEO ของ Product ที่ต้องรับผิดชอบ ซึ่ง Product ที่ว่าไม่จำเป็นต้องเป็นสินค้าอย่างเดียว แต่เป็น Feature ส่วนใดส่วนหนึ่งในบริษัทก็ได้ โดยคุณแม็กซ์เองก็ไปฝึกงานอยู่ฝ่าย Amazon Web Services ซึ่งจะมีพวก Software Solutions ต่าง ๆ ก็เรียกว่าเป็น Product เหมือนกัน

 

การเป็น Product Owner นั้นจะดูแล End-to-end Process ทำให้หน้าที่ความรับผิดชอบของ Product Owner กว้างมาก แบ่งคร่าว ๆ ได้ดังนี้

  • Conception: แนวความคิด คือ การจินตนาการว่า Product นี้จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร ช่วยแก้ปัญหาอะไร ผลลัพธ์เป็นอย่างไร

  • Execution: การสร้างตัว Product ขึ้นมาจริง ๆ ต้องทำงานกับ Stakeholder ทั้งภายในและนอกองค์กร เช่น Developer, การตลาด หรือ เซลล์

  • Launch: ช่วย Make sure ว่าการนำ Product เข้าสู่ตลาดจะประสบความสำเร็จ

 

ซึ่ง Product Owner ยังมีแบ่งเป็นสาย Technical กับ Non-Technical ถ้าฝั่ง Technical จะต้องมีความรู้พื้นฐานด้าน Software และทักษะการ Coding ด้วย แต่ส่วนของคุณแม็กซ์จะเป็น Non-Technical

 

ถึง Amazon จะเป็น Tech Giant แต่กลับให้บรรยากาศเหมือน Startup

โดยพื้นฐาน Amazon เติบโตเร็วและมีคนเยอะมาก แต่ความน่าสนใจคือ แม้จะเป็นบริษัท Tech ยักษ์ใหญ่ระดับโลกแต่บรรยากาศและแนวคิดการทำงานที่เหมือน Startup มาก ๆ เช่น

  • Day 1 Mentality: ทำให้ทุกวันเหมือนเป็นวันแรกของบริษัท ทำทุกอย่างให้เต็มที่และรวดเร็ว

  • 2-Pizza Team: ทีมจะถูกแบ่งย่อยเป็นทีมเล็ก ๆ เยอะมาก เรียกว่า 2-Pizza Team หมายถึงแต่ละทีมควรจะมีจำนวนคนประมาณกินพิซซ่า 2 ถาดแล้วอิ่มพอดี (6-8 คน) เพราะทีมเล็กทำงานได้มีประสิทธิภาพมากกว่า

  • เปิดโอกาสให้ลองแบบไม่กลัวเรื่องการลงทุน เป็นโอกาสในการเรียนรู้

  • มี Agile Mindset และส่วนใหญ่การตัดสินใจเป็นแบบ Two ways door คือ ตัดสินทำแล้วต้องย้อนกลับไปได้ แก้ไขได้ (Reversible Thinking) ทำให้ไม่กลัวการตัดสินใจ ได้ทดลองทำไปเลย และทำงานเป็น Sprint สั้น ๆ ทุก ๆ 2 อาทิตย์ ซึ่งสั้นกว่าที่อื่น ข้อดีคือ เป็นการทำงานที่ทำให้เราตั้ง Deadline ได้ชัด แล้วทุกคนมุ่งไป Deadline นั้น การทำงานจะเป็นระบบดีมาก

 

ประสบการณ์การฝึกงานใน Business Unit ที่ชื่อว่า Amazon Web Services

คุณแม็กซ์ได้ฝึกงานใน Business Unit ที่ชื่อว่า Amazon Web Services โดยทำในฝ่าย AI และ Machine Learning ซึ่งโจทย์คือต้องทำ Platform เพื่อรวบรวม Use Case หรือ Case Study ของ Machine Learning ทั้งหมด เพื่อนำมาช่วยช่วยผู้ใช้บริการ เช่น การช่วยเสนอแก้ไขปัญหาแบบ Step-by-step ซึ่งต้องทำให้ Machine Learning เข้าถึงได้ง่ายขึ้น

 

การสร้าง Product แบ่งเป็น 2 โจทย์ คือ การคิด Vision และสร้าง Minimum Viable Product

Product ในที่นี้หมายถึง Platform ที่กล่าวไป หลัก ๆ โจทย์การทำงานจะแบ่งเป็น 2 โจทย์ คือ

โจทย์ 1: คิด Vision

คิดว่า Product จะออกมาเป็นยังไง คนแบบไหนจะใช้ Product ของเราช่วยขับเคลื่อนให้เกิดการนำมาใช้ได้ขนาดไหน เพื่อที่จะเอาไปสื่อสารกับคนในองค์กรให้เขาเชื่อเพื่อที่จะรีเควสทรัพยากรต่าง ๆ ได้

 

โจทย์ 2: สร้าง Minimum Viable Product (MVP)

เพื่อที่จะเอามาใช้กับ Internal Solutions เป็นการขายให้คนใน Amazon เองสามารถเข้าถึง Platform ได้ เพื่อนำมาดูประกอบการตัดสินใจ

 

ขั้นตอนการทำงานสาย Product Owner

ขั้นตอนแรกคือการรวบรวม Requirement ทั้งภายในภายนอก ทั้งลูกค้าและ Tech Firm ต่าง ๆ ซึ่ง Amazon มีแนวคิดในการสื่อสารแบบเดียวกัน เรียกว่า Working Backward คือ การคิดย้อนกลับ ให้คิดถึงผลลัพธ์ก่อน ว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไร สุดท้ายลูกค้าจะชอบอะไรมากสุด แล้วย้อนกลับมาว่าเราต้องทำอะไรเพื่อให้ไปถึงผลลัพธ์นั้น

 

ต่อมาคือการวาดภาพ Vision Product Owner ทุกคนต้องทำ PR/FAQ (Press Release /Frequently Asked Questions) โดยให้มองภาพว่าในอีก 1-2 ปีข้างหน้า เมื่อออกสินค้าไป The New York Times จะเขียนถึงเราว่าอะไร แล้วเอากระดาษแผ่นนี้ไปขาย ถ้าทุกคนเชื่อก็เริ่มกระบวนการสร้างได้

 

หลังจากนำเสนองานจนได้ Resource มาทดลองทำแล้ว ต่อไปคือ การพัฒนา Product จะเป็นการทำงานร่วมกับฝั่ง Developer / Engineering Team ทำให้จำเป็นต้องเรียนรู้ภาษาทาง Technical เพราะเราเป็นตัวเชื่อมฝั่ง Business และ Technical เข้าด้วยกัน

 

Product Owner ต่างจาก Consultant ตรงที่คิดแล้วทำออกมาได้จริง และคุณสมบัติสำคัญคือต้องมี Vision ที่ชัดเจนมาก

งาน Consultant คือการเขียนกลยุทธ์แต่ยังขาดการเอามาทำจริง แต่ Product Owner ต้องคิดตั้งแต่ต้นจนจบ ดูแลเหมือนลูกที่เห็นพัฒนาการเติบโตของ Product  โดยคุณสมบัติที่จำเป็นสำหรับ Product Owner คือต้องเป็นคนที่มี Vision ชัดมาก ๆ มีจุดยืนเพื่อไปถึงเป้าหมายให้ได้ โดยกุญแจสำคัญคือคำว่า Balance ต้องหาจุดสมดุลระหว่างความคิดเรากับลูกค้า ฟังแล้วนำมาคัดกรอง นำมา Test แต่ให้มันยังคง Vision ของเราอยู่ในแบบที่มีความยืดหยุ่น ที่สำคัญคือมีทักษะการสื่อสารที่จะสามารถโน้มน้าวคนได้

 

สกิลการแก้ปัญหา การสื่อสาร และการบริหาร คือ สิ่งที่ควรพัฒนา

3 ทักษะหลัก ๆ ที่ Product Owner ต้องมี คือ

  • Problem Solving Skill: แตกปัญหาใหญ่เป็นปัญหาย่อย ๆ ได้ หาข้อดีข้อเสียของแต่ละทางออก แล้วตัดสินใจได้

  • Communication Skill: โน้มน้าวลูกค้า และ Stakeholders ได้ ขายไอเดียเก่ง เพราะต่อให้มีไอเดียดีแค่ไหน ถ้าสื่อสารไม่ได้ก็ไม่มีประโยชน์

  • Project Management Skill: บริหาร 3 สิ่งหลัก ๆ คือ เงิน เวลา และ คน เช่น ต้องใช้คนแบบไหน จำนวนเท่าไหร่เพื่อทำงาน ใช้เงินเยอะเท่าไหร่ ขั้นตอนการทำงานยาวนานแค่ไหน

 

อาชีพ Product owner สามารถเอาไปประยุกต์ใช้กับอาชีพอื่น ๆ ได้ด้วย

คนที่เป็น Product Owner สามารถเอาสิ่งต่าง ๆ ที่ได้เรียนรู้จากงานนี้ไปประยุกต์ใช้กับงานอื่น ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น

  • การทำงานแบบ Working Backward มองภาพให้ชัดก่อนว่าสุดท้ายสิ่งที่เราต้องการจริง ๆ คืออะไร แล้วค่อยมองย้อนกลับมา ใช้ได้กับทั้งการทำงานและการใช้ชีวิต

  • เข้าใจ Motivation ต้องเข้าใจก่อนว่าคนอื่นต้องการอะไร เพื่อสร้างความเชื่อใจให้กับคน ๆ นั้น หลายครั้งที่การทำงานเราจะมี Responsibility แต่ไม่มี Authority เหมือนกับ Product Owner ที่มี

  • มีหน้าที่ความรับผิดชอบที่กว้างมาก ทำให้ต้องทำงานที่ต้องพึ่งพาคนอื่นอยู่เสมอ

  • มีความสามารถในการขายฝัน อยากให้ฝึกการสื่อสารของตนเอง คิดเสมอว่าถ้าเรามีไอเดียดี แต่ซื้อใจใครไม่ได้ สิ่งที่เราคิดก็ไม่เกิดผล

 

แนะนำการทำ Portfolio ของสาย Product Management

ส่วนมาก Job Description ของสาย Product Management จะต้องการประสบการณ์ 5-8 ปี ดังนั้นเราต้องโชว์ประสบการณ์ว่าเคยทำอะไรมาบ้าง เช่น แสดงความเป็น Ownership ของ Project แบบ End-to-end บางคนอาจจะซีเรียสกับคุณสมบัติที่ต้องมีประสบการณ์ 5-8 ปี แต่ไม่อยากให้โฟกัสแค่ตรงนี้ ให้ดูเป็นแค่ Guideline พอ ถ้าสนใจต้องลองดู อย่าปฏิเสธตัวเองก่อน เพราะการสมัครไปอย่างน้อยก็ทำให้เรามีโอกาสถึงแม้จะมากหรือน้อยก็ตาม

 

ส่วนคนที่อยากทำงาน Product Owner ในต่างประเทศ วิธีตรงที่สุดคือเรียนต่อด้าน MBA แล้วหาโอกาสในการไปเรียนรู้งานกับบริษัทต่าง ๆ หรือการสมัครโดยตรงสามารถเกิดขึ้นได้ แต่ต้องมี Resume ที่มีเรื่องราวชัดมาก ๆ โชว์ Value ของเราให้เขาเห็นว่าการจ้างพนักงานต่างชาติเข้ามาทำงาน ดีกว่ารับคนในประเทศเขาเองยังไง

 

Career Path ของสาย Product Owner จะโตไปตาม Scope ของ Product ที่ขยายใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ

ตอนแรก Product Owner จะดูแค่ส่วนหนึ่งของ Product นั้น เช่น Feature หนึ่ง เมื่อตำแหน่งสูงขึ้นเป็น Senior Product Owner ก็จะได้เป็นเจ้าของทั้ง Project หรือถ้าสูงกว่านั้นอีก ก็จะได้ดูหลาย ๆ Product ไปพร้อมกัน ดังนั้น Career Path ของ Product Owner ก็จะโตไปตาม Scope ของ Product ที่จะขยายใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ

 

 

อุปสรรคของ Product Owner คือต้องเจอความล้มเหลวตลอด ดังนั้นอย่ายึดติด ให้คิดว่ามันคือโอกาสในการเรียนรู้

อุปสรรคของการทำงานสาย Product Owner คือการต้องเจอกับความล้มเหลวตลอดเวลา เพราะโอกาสที่สมมติฐานของเราจะถูก 100% มีน้อยมาก ที่สำคัญคือต้องอย่ายึดติด ต้องคิดเสมอว่าในทุก ๆ อย่างที่เราทำสามารถปรับเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ได้ เพราะความล้มเหลวทุกอย่างเป็นโอกาสในการเรียนรู้หมด

 

3 Steps เพื่อไปสู่อาชีพที่ใช่สไตล์คุณแม็กซ์

Discover: ค้นหาว่าเราชอบและเก่งอะไร ดูว่าสิ่งที่ชอบและเก่งตรงกับความต้องการของตลาดมั้ย

Source: หาลิสต์ของบริษัท หาการทำ Networking เรื่อง Product Owner มีคนพูดถึงเยอะ แต่ทุกคนพูดแตกต่างกันมาก วิธีการเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือหาคนที่ทำงานสายที่เราสนใจ แล้วหาเวลาคุยกับเขา

Pitch: นำเสนอตัวเองอย่างไรให้น่าสนใจ ซึ่ง Resume ไม่ควรจะมีเวอร์ชันเดียว สำคัญมากที่จะต้องปรับปลี่ยนไปตามองค์กรที่จะสมัคร ส่วนการสัมภาษณ์ Product Owner มักจะเป็น Case Interview เป็นการยกสถานการณ์ที่เจอจริง ๆ มาให้เราตอบ เพื่อจะดูกระบวนการคิดของเรา ดังนั้นความเข้าใจและการฝึกซ้อม Case Interview ก็สำคัญเช่นเดียวกัน

 

นี่คือบางส่วนจากไลฟ์เท่านั้น สำหรับใครที่พลาดไป สามารถเข้าไปชมย้อนหลังได้ที่นี่เลย

 

หางานสาย Brand/Product Marketing ทั้งหมดได้ ที่นี่

 

 
 
JobThai Official Group เพื่อการหางาน หาคน และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงาน
Public group · 42,947 members
Join Group
 

tags : jobthai, jobs, คนทำงาน, หางาน, สมัครงาน, product owner, หางานข้ามสาย, x career ข้ามสาย talk, งาน



ติดตามข่าวสารและเรื่องราวดีๆ ทาง Email

ขอบคุณสำหรับการติดตาม