7 เหตุผลที่ทำให้ผู้สมัครมักไม่ได้งาน

7 เหตุผลที่ทำให้ผู้สมัครมักไม่ได้งาน
15/09/21   |   33.3k   |  

 

  • ไม่รู้จักตัวเองและไม่วางเป้าหมายในการทำงาน ไม่รู้ว่าอยากทำอะไร ไม่ได้วาง Career Path ไว้ก่อน

  • ไม่เลือกงานหรือบริษัทที่เหมาะสมที่สุดแต่เลือกเพียงเพราะว่าทำงานอะไรก็ได้ บริษัทไหนรับก็ไปอันนั้น

  • ไม่ใช้ช่องทางหางานที่หลากหลาย อย่างเว็บไซต์หางาน เว็บไซต์ของบริษัทที่อยากทำงาน หรือช่องทางอื่นอย่างเช่น Mobile Application และ Social Media 

  • ไม่ได้สร้างเรซูเม่ให้น่าสนใจตามคุณสมบัติที่บริษัทนั้น ๆ อยากได้ หรือใส่ข้อมูลสำคัญไม่ครบถ้วน

  • ไม่เตรียมตัวสำหรับการสัมภาษณ์งาน อย่างการสร้าง First Impression หรือการเตรียมตอบคำถามที่คิดว่าต้องเจอ

  • ไม่มีตัวตนบนโลกออนไลน์ให้ HR เห็นถึงทัศนคติของเรานอกเหนือจากที่ใส่มาในเรซูเม่เพิ่มเติม หรือไม่ได้จัดการ Social Media ที่มีข้อความหรือสิ่งที่ไม่เหมาะสมอยู่

  • ไม่ฝึกฝนหรือพัฒนาตัวเองในขณะที่ยังหางานไม่ได้ ทำให้ทักษะไม่เพิ่ม และไม่มีคุณสมบัติที่ตรงตามแต่ละองค์กรต้องการ

 

 

สมัครงานง่ายได้งานที่ใช่ ใช้ JobThai Mobile Application สิ โหลดเลย

iOS

Android

Huawei AppGallery

การหางานสมัครงานเป็นเรื่องสำคัญที่เราน่าจะต้องเคยผ่านกันมาบ้าง แต่ใครจะรู้ว่าการสมัครงานจริง ๆ แล้วเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและดีเทลมาก ๆ มีเรื่องที่ต้องศึกษาอีกมากมายหากต้องการสมัครงานให้ได้งาน หากกำลังหางานหรือสมัครงานไปเท่าไหร่ก็ยังไม่มีบริษัทไหนเรียกตัวไปสัมภาษณ์สักที อาจเป็นเพราะเราพลาดในรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ พวกนี้ก็ได้ 

 

ในบทความนี้ JobThai เลยเอา 7 เหตุผลที่ทำให้ผู้สมัครงานมักไม่ได้งานมาฝากกัน

 

1. ไม่รู้จักตัวเองและไม่วางเป้าหมาย

เมื่อไม่ได้วางเป้าหมายก็ทำให้ไม่รู้ว่าควรจะขายอะไร พัฒนาจุดแข็งจุดอ่อนยังไง บริษัทแบบไหนที่อยากร่วมงาน และวาง Career Path ไว้ในทิศทางไหน เมื่อไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้วอยากทำอะไร ก็ส่งผลให้เนื้อหาในเรซูเม่หรือในจดหมายสมัครงานของเราไม่ชัดเจน มีเพียงเนื้อหาที่กว้าง ๆ ตื้น ๆ องค์กรก็ไม่รู้ว่าอะไรในตัวเราคือสิ่งที่ควรโฟกัส จะนำทักษะที่มีในการปรับใช้กับงาน หรือจะเข้ากับตัวองค์กรเองยังไง

 

2. ไม่เลือกงานหรือบริษัทที่เหมาะสมที่สุด

“งานอะไรก็ได้ ทำอะไรก็ได้ สายงานอะไรก็ได้” สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้ความชัดเจนเลือนลางมากกว่าเดิม หลายคนยังเชื่อว่าการสมัครงานยิ่งสมัครมากก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสในการได้งาน ซึ่งความจริงควรเลือกบริษัทและตำแหน่งงานที่เหมาะสมกับความสามารถของเราจะดีกว่า จะได้รู้ว่าควรโฟกัสเรื่องอะไรในเรซูเม่ด้วย

 

นอกจากรายละเอียดที่เกี่ยวกับเนื้องานโดยตรง อย่าลืมศึกษาว่าบริษัทนั้นทำอะไรบ้าง วัฒนธรรมองค์กร สวัสดิการ หรือที่ตั้งและการเดินทาง ว่าตอบโจทย์เราไหม โดยในประกาศรับสมัครงานอาจจะมีส่วนที่เป็น Company Profile ให้ดูหรือไปหาข้อมูลเพิ่มเติม

 

3. ไม่ใช้ช่องทางหางานที่หลากหลาย

การหางานหรือสมัครงานในปัจจุบันนี้มีอยู่หลายวิธีมากขึ้นกว่าเดิมเยอะ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ Social Media, Mobile  Application หรือเว็บไซต์เพื่อการหางานสมัครงานโดยเฉพาะที่เราสามารถเปิดดูตำแหน่งงานและบริษัทได้ง่าย อีกทั้งยังเฉพาะเจาะจงมากขึ้น รวมถึงสามารถสร้างเรซูเม่และฝากประวัติเอาไว้ ทำให้กดส่งใบสมัครไปยังบริษัทต่าง ๆ ได้ทันที หรือทำให้ HR มาเปิดดูเรซูเม่ของคนที่ฝากประวัติเอาไว้ได้ หากเราใช้สื่อกลางเหล่านี้ในการหางานให้เป็นก็จะทำให้ประสิทธิภาพในการหางานของเรามีเพิ่มมากขึ้น

 

ให้เว็บไซต์ JobThai รูปแบบใหม่ช่วยให้การหางานง่ายขึ้นสิ

มีอะไรใหม่บ้าง คลิกเพื่ออ่านเพิ่มเติมได้เลย

 

ไม่ใช่แค่ใช้เทคโนโลยีในการช่วยหางานเท่านั้น การหางานผ่านการพูดคุยกับคนรู้จัก การไปร่วมงาน Networking ต่าง ๆ หรือ Walk-in ไปสมัครที่บริษัทโดยตรงก็เป็นการเปิดโอกาสให้เราเจองานที่หลากหลาย และมีโอกาสในการได้งานมากขึ้นเช่นกัน 

 

4. ไม่ได้สร้างเรซูเม่ให้น่าสนใจ

เรซูเม่คือสิ่งแรกที่จะทำให้ HR สนใจเรา จึงต้องเขียนเรซูเม่ให้ดีและดึงดูดความสนใจให้ได้ ข้อมูลสำคัญต้องใส่ให้ครบถ้วน หากอยากส่งใบสมัครงานไปยังองค์กรอื่นหรือตำแหน่งอื่น ๆ ก็อย่าใช้เรซูเม่อันเดียวส่งสมัครงานไปทั้งหมด ให้ปรับรายละเอียด ทักษะ และใช้รูปแบบเรซูเม่ให้เหมาะสมกับแต่ละตำแหน่งงาน

 

เทคนิคเขียนเรซูเม่ให้น่าสนใจ

 

5. ไม่เตรียมตัวสำหรับการสัมภาษณ์งาน

การสัมภาษณ์งานถือเป็นขั้นตอนที่จะตัดสินว่าเราจะได้งานไหม เราจึงต้องเตรียมตัวให้พร้อมตั้งแต่ก่อนไปสัมภาษณ์งาน ไม่ว่าจะศึกษาข้อมูลบริษัทให้ละเอียด ดูที่ตั้ง เส้นทาง และวิธีการเดินทาง ฝึกเตรียมคำตอบสำหรับคำถามพื้นฐานที่มักจะเจอในตอนสัมภาษณ์ เตรียม Portfolio ที่จะไปโชว์ให้เรียบร้อย รวมไปถึงเรื่องการแต่งกายเพื่อสร้าง First Impression

 

วันที่สัมภาษณ์ก็ควรไปให้ถึงก่อนเวลานัด ในขณะที่กำลังสัมภาษณ์ก็ตอบคำถามต่าง ๆ อย่างซื่อสัตย์ แสดงความสามารถ ทักษะ และเล่าประสบการณ์การทำงานอย่างเต็มที่ด้วย

 

6. ไม่มีตัวตนบนโลกออนไลน์

ตัวตนบนโลกออนไลน์อย่างเว็บไซต์ Blog หรือ Social Media จะเป็นตัวบ่งบอกนิสัย ทัศนคติ ความสำเร็จ แนวคิด และแสดงผลงานที่ผ่านมาได้เป็นอย่างดี เราควรหาพื้นที่ให้ HR สามารถทำความรู้จักเราได้มากขึ้นนอกเหนือจากเรซูเม่หรือ Portfolio ที่เราส่งไป จะทำให้การสมัครงานของเรามีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

อย่าลืมจัดการพื้นที่ออนไลน์ของเราให้เรียบร้อย อะไรที่ไม่เหมาะสม หยาบคาย หรือที่คิดว่าไม่ดีแน่ ๆ ก็ตั้งค่าไว้เฉพาะคนรู้จักหรือลบทิ้งไปเลยดีกว่า

 

HR เลือกคนด้วย Social Media จริงไหม ?

 

7. ไม่ฝึกฝนหรือพัฒนาตัวเอง

ความสามารถ ทักษะ และความรู้ แม้ตอนที่ได้งานแล้วหรือยังไม่ได้งานก็ควรหมั่นฝึกฝนและพัฒนาตัวเองอยู่เสมอในขณะที่เรากำลังหางานอยู่ ควรดูตำแหน่งหรืองานที่เราต้องการว่าองค์กรอยากได้ความสามารถอะไรและเรามีคุณสมบัติเพียงพอหรือเปล่า เราจะได้ฝึกฝนและพัฒนาได้ตรงความต้องการของบริษัท รวมไปถึงอัปเดตความรู้เรื่องเกี่ยวกับเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการหางานสมัครงาน เราจะได้เตรียมตัวสมัครงานได้พร้อมที่สุด

 

การถูกปฏิเสธจากบริษัทอย่างการไม่ถูกเรียกไปสัมภาษณ์ สัมภาษณ์แล้วแต่ยังไม่รับ หรือไม่มีฟีดแบ็กอะไรเลย เป็นเรื่องปกติที่คนหางานต้องเจอ สิ่งที่เราต้องทำก็คือ พิจารณาว่าข้อผิดพลาดของเราคืออะไร เรซูเม่ของเรายังไม่ดึงดูดมากพอ เราทำอะไรพลาดไปในระหว่างการสัมภาษณ์ หรือทักษะและความสามารถของเรายังไม่ตรงกับที่องค์กรต้องการ เมื่อพบแล้วก็พัฒนามันให้ดีขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการหางานในครั้งต่อ ๆ ไป

สมัครสมาชิกเพื่อฝากเรซูเม่ไว้กับ JobThai

เพิ่มโอกาสได้งานโดยไม่ต้องส่งใบสมัคร คลิกเลย

 

ถ้าเป็นสมาชิกเรียบร้อยแล้วก็เริ่มหางานที่ใช่ได้เลย

 

 
JobThai Official Group
Public group · 200,000 members
Join Group
 

tags : jobthai, งาน, หางาน, สมัครงาน, เหตุผลที่ทำให้ไม่ได้งาน, ไม่ได้งาน, ตกงาน, ผู้สมัครงาน , candidate, เด็กจบใหม่



ติดตามข่าวสารและเรื่องราวดีๆ ทาง Email

ขอบคุณสำหรับการติดตาม