5 สิ่งที่หัวหน้าควรทำเพื่อลดความตึงเครียดของผู้ประเมินงาน

5 สิ่งที่หัวหน้าควรทำเพื่อลดความตึงเครียดของผู้ประเมินงาน
21/08/20   |   13.2k   |  

 

  • ไม่ทำให้การประเมินกลายเป็นการสอบปากคำ ด้วยการทำทุกอย่างให้เป็นทางการ เพราะจะสร้างบรรยากาศตึงเครียดต่อลูกทีมของคุณ
  • เลี่ยงการสื่อสารอยู่ฝ่ายเดียว ควรให้ความสำคัญกับทีมและทำความเข้าใจกันทั้ง 2 ฝ่าย แสดงความคิดเห็นและยอมรับในความคิดเห็นของกันและกัน
  • เมื่อประเมินข้อเสียของพนักงานแล้ว อย่าลืมที่จะพูดถึงข้อดี และผลงานอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นจากตัวเขานอกจากเรื่องตัวงานด้วย
  • จบการประเมินทุกครั้งด้วยการอธิบายเป้าหมายต่อไปที่สามารถวัดผลได้ และให้คำแนะนำด้านการทำงานเพื่อให้ทีมรู้ว่าควรพัฒนาศักยภาพในด้านใด
  • หมั่นพูดคุย แนะนำ ติชม ในเรื่องของการทำงานกับคนในทีมอย่างสม่ำเสมอ

 

 

JobThai Mobile Application หางานง่าย สมัครงานง่าย ได้งานที่ใช่ โหลดเลย

iOS

Android

Huawei AppGallery

 

ผลประเมินพนักงานในช่วงกลางปีมักไม่ได้ทำเพื่อตัดเกรด แต่เป็นเหมือน Check Point เพื่อให้พนักงานรู้ว่าตอนนี้เขาทำไปได้แค่ไหน แล้วต้องแก้ไขปรับปรุงอะไรเพิ่มเติมบ้าง เพื่อให้การประเมินปลายปีทำได้ดีมากขึ้น แต่สำหรับพนักงานแล้วแน่นอนว่าการถูกเรียกไปประเมินไม่ว่าจะเป็นคนที่ทำงานได้ดีหรือแย่ก็ต้องมีความกังวลใจเกิดขึ้น และบรรยากาศที่มีความเครียดก็จะทำให้ผลการประเมินออกมาไม่ดีเท่าที่ควร เราจะทำอย่างไรเพื่อลดบรรยากาศที่ (จำเป็น) ต้องเกิดความตรึงเครียดให้น้อยลง ทั้งที่หากการประเมินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพก็จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อทั้งองค์กรและตัวพนักงาน

 

แล้วคนเป็นหัวหน้าต้องทำอย่างไรเพื่อลดความตึงเครียดที่กำลังจะเกิดขึ้น วันนี้ JobThai เลยนำ 5 เทคนิคมาฝากคนเป็นหัวหน้า เพื่อนำไปใช้ลดบรรยากาศความเครียดของคนในทีมกัน

 

ศึกษา 6 แนวคิดการบริหารคนสไตล์ Richard Branson นักธุรกิจชั้นแนวหน้าของโลก

 

ความเป็นทางการเกินไปก็อาจทำให้บรรยากาศเสีย

ไม่ว่าจะเป็นใครก็คงไม่อยากโดนประเมินงานเหมือนกำลังถูกสอบปากคำ เรื่องแรก ๆ ที่คุณสามารถทำได้คือ “ลดความเป็นทางการลง” จะด้วยการเลือกสถานที่ประเมินสบาย ๆ ไม่เป็นทางการมาก หรือการชวนคุยสัพเพเหระก่อนเริ่มการประเมินก็ได้ ความไม่เป็นทางการหน่อย ๆ  จะทำให้บรรยากาศผ่อนคลายขึ้นทั้งต่อคุณและคนในทีมที่ต้องถูกประเมิน

 

เลี่ยงการสื่อสารอยู่ฝ่ายเดียว

“การสื่อสาร”ที่ดีและมีประสิทธิภาพควรเกิดจากทั้ง 2 ฝ่าย การประเมินก็เช่นกัน คุณก็ควรเปิดโอกาสให้ผู้ถูกประเมินได้แสดงความคิดเห็นในมุมของเขาด้วย เช่น ข้อดีข้อเสียที่เขาควรปรับปรุง หรือแม้กระทั่งเรื่องความรู้สึกต่อตัวคุณเอง ก่อนที่คุณจะพูดในมุมของคุณบ้าง ว่าคุณในฐานะหัวหน้า มีความคิดเห็นอย่างไร และสิ่งสำคัญคือทั้งคุณและคนในทีมจะต้องเปิดรับความคิดเห็นของกันและกันเพื่อผลดีต่อองค์กร

 

อย่าเอาแต่ตำหนิจนลืมพูดถึงข้อดี

เมื่อตำหนิข้อบกพร่องไปแล้ว ก็อย่าลืมที่จะพูดถึงข้อดี หรือชมในสิ่งที่ทีมทำดี คุณอาจจะเลือกใช้เทคนิคการพูดเข้ามาช่วย และอย่าลืมแสดงให้เขาเห็นว่าคุณเชื่อมั่นว่าเขาจะสามารถพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น และสิ่งที่เขาได้พัฒนาขึ้นมาจากการประเมินครั้งก่อน เพื่อเป็นกำลังใจในการทำงานต่อไปของพวกเขา

 

จบการประเมินด้วยการแนะนำการทำงาน

หลังจากจบการประเมินเรียบร้อยแล้ว คุณอย่าลืมที่จะให้คำแนะนำรวมถึงเป้าหมายที่สามารถวัดผลได้ เพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการทำงานต่อ ๆ ไป และเพื่อไม่ให้การประเมินนั้นเป็นเพียงการถกข้อดีข้อเสียเพียงอย่างเดียวโดยไม่มีคำแนะนำ หรือแผนการทำงานต่าง ๆ ให้กับทีมเลย

 

พูดคุยกับคนในทีมเป็นประจำ

สุดท้ายแล้ว การประเมินการทำงานก็มีไว้เพื่อพัฒนาศักยภาพของบริษัทและตัวพนักงาน ถ้าการประเมินมีประสิทธิภาพดี ก็จะส่งผลดีต่าง ๆ ให้ตัวองค์กรของคุณ และนอกจากเวลาประเมิน คุณยังสามารถตอบกลับฟีดแบ็กในเรื่องการทำงานกับคนในทีมได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะชมเชยเวลาเขาทำผลงานออกมาดี หรือแนะนำให้เขาแก้ไขการทำงานอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดความตึงเครียดที่จะเกิดขึ้นระหว่างการประเมินลงได้ 

 

เคล็ดลับเพื่อการสร้างองค์กรให้มีประสิทธิภาพ

 

สมัครสมาชิกกับ JobThai เพิ่มโอกาสง่าย ๆ ในการได้งานที่ใช่

 

 
JobThai Official Group เพื่อการหางาน หาคน และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงาน
Public group · 23,411 members
Join Group
 

tags : ประเมินการทำงาน, หัวหน้าควรทำ, การประเมิน, career & tips



ติดตามข่าวสารและเรื่องราวดีๆ ทาง Email

ขอบคุณสำหรับการติดตาม